ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 3 การนำไฟล์วีดีโอมาตัดต่อใน Sony Vegas Pro


สวัสดีตอนเช้าๆของวันทำงานของใครหลายๆคนครับ(อีกแหล่ะ) วันนี้ก็เกือบจะถึงวันศุกร์แล้ว คิดว่าหลายคนคงจะมีอาการขี้เกียจเกิดขึ้นใช่ไหมครับ ขี้เกี๊ยจ ขี้เกียจ ผมแหล่ะคนนึง หุหุ
คราวก่อนได้ว่าด้วยเรื่องของ การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 2 แนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือ จบไปแล้ว




งั้นวันนี้มาขี้เกียจกันดีกว่า วันนี้ผมจะกล่าวถึงการนำไฟล์วีดีโอเข้ามาใช้สำหรับตัดต่อในโปรแกรม โดยจะเขียนอย่างย่อๆนะครับ โดยจะเน้นไปในเรื่องของกล้อง Digital เป็นหลัก (ส่วนกล้อง DV ที่เป็นม้วนเทป หากมี Request มาจึงจะเขียน หาไม่มีมาก็ไม่เขียนครับ) ทำไมจึงกล้อง Digital เป็นหลัก เพราะอะไร เพราะการนำไฟล์ออกมาใช้งานมันสุดแสนจะง่ายใงครับ เพราะกล้องพวกนี้จะมีสายเชื่อมต่อ USB อยู่กันหมดทุกรุ่นแล้ว ดังนั้น เพียงแค่นำไฟล์วีดีโอออกจากกล้องวีดีโอ แล้วนำมาใส่ในโปรแกรม เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ (ผมต้องบอกเกี่ยวกับ การนำไฟล์ออกจากกล้องวีดีโอด้วยไหมครับ หากใครไม่รู้วิธีนำไฟล์วีดีโอออกจากกล้องวีดีโอด้วยสาย USB จริงๆ ก็เรียกร้องมาได้ครับ เดี๋ยวผมจะมาเขียนวิธีให้อ่านกัน หรือหากใครไม่รู้จริงๆ แล้วหาวิธีได้แล้ว ก็แจ้งมาด้วยก็ได้ครับ เพราะถ้าจะมามัวรอให้ผมเขียนนี้ ท่านคงไปได้วิธีเอาไฟล์ออกจากกล้องเรียบร้อยแล้ว หุหุ)

เอาละ เมื่อท่านนำไฟล์ออกมาจากกล้องวีดีโอเรียบร้อยแล้ว ไฟล์ในกล้องวีดีโอส่วนใหญ่จะเป็น นามสกุล .mp4 เป็นส่วนใหญ่นะครับ กล้องบางรุ่นอาจจะเป็น MOV หรือ AVI หรือ mpeg1, mpeg2 ก็แล้วแต่ หรือจะเป็นอะไรก็ตามแต่ ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้ทั้งหมดหรือเปล่า คือ เมื่อ Import ไฟล์เข้าไปในโปรแรกมแล้ว โปรแกรมฟ้อง Error และกากบาท นั้นบอกเลยว่า โปรแกรมไม่ Support กับไฟล์วีดีโอนั้นๆ (แต่ .mp4, avi, mpeg นั้นได้แน่นอน แต่ .mov นั้นไม่แน่ใจเพราะเป็นไฟล์ของตระกูลแอปเปิลครับ)
ท่านสามารถย้อนกลับไปอ่านเรื่องของไฟล์วีดีโอหัวข้อเรื่อง รู้จักประเภทของไฟล์ วีดีโอ  ได้ครับ เพื่อความเข้าใจที่ยิ่งขึ้น

ออกนอกโลกไปไกลแล้ว มาดูวิธีการนำไฟล์วีดีโอมาตัดต่อกัน สั้นๆ
เปิดโปรแกรมขึ้นมาเลยครับ แล้วเลือกที่ File --> Import --> Media แล้วก็เลือกไฟล์ในเครื่อง แล้วก็กดปุ่ม OK จบ (ไฟล์วีดีโอก็จะถูกนำเข้ามาในหน้าต่าง Project Media)
การเพิ่มไฟล์วีดีโอด้วยการ import
การเพิ่มไฟล์วีดีโอด้วยการ import
ง่ายไหมล่ะครับ เสร็จแล้ว เท่านี้เราก็ลากไฟล์งานลงมาใช้ใน Timeline ได้แล้วละครับ


หรือจะทำอีกวิธีคือ เปิดในหน้าต่าง Exploler แล้วลากลงมาใช้ใน Timeline ได้เลย

ก็ไม่แน่ใจนะครับ ว่าสองวิธีนี้มันต่างกันยังไง ก็ลองๆใช้ดูล่ะกันครับ (กรณีใช้วิธีที่สองให้เก็บไฟล์ต้นฉบับไว้ที่อื่นด้วยกันเหนียว เพราะผมไม่เคยใช้วิธีที่สองเลยสักที)

ครับก็จบวิธีการนำไฟล์วีดีโอมาใช้ในโปรแกรม Sony Vegas Pro แบบขี้เกียจๆ เพียงเท่านี้ครับ เดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะเอาบทความเรื่องถัดไปมาต่อให้ครับ (วันหยุดทำไม่ได้ เพราะที่บ้านไม่มีโปรแกรม sony vegas pro เหอๆ)

สำหรับบทความต่อไปคือเรื่องของ การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 1 Track  ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...