ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 2 Timeline



คราวก่อนได้ว่ากล่าวด้วยเรื่องของ การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 1 Track ไปแล้วนะครับ วันนี้เรามาขึ้นเรื่องของ Timeline กันครับ

Timeline 

คือส่วนที่จะใช้ในการตัดต่องาน ใส่คลิปต่างๆลงไป แทรกลูกเล่นหรือเอฟเฟคต่างๆ ซึ่งก็เป็นส่วนที่สำคัญที่เราต้องทำงานไปด้วยเสมอในงานตัดต่อวีดีโอบน Sony Vegas Pro

การย่อ - ขยาย Timeline

ในการย่อ - ขยาย Timeline นั้นมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราสามารถตัดต่องานได้อย่างละเอียดมากขึ้น โดยการย่อ - ขยาย Timeline นั้นทำได้ 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 : เลื่อน Scroll mouse หรือล้อเม้าส์ที่อยู่ตรงกลาง เลื่อนไปข้างหน้าคือการขยาย เลื่อนเข้าหาตัวเพื่อย่อ (เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด)
วิธีที่ 2 : ใช้ปุ่ม ย่อ - ขยาย บน Timeline ที่อยู่ทางด้านขวา (เป็นปุ่ม + , -)

รุปที่ 1 ปุ่มย่อ - ขยาย
วิธีที่ 3 : เลื่อน Scroll Bar ที่ด้านล่าง ดังรูป  (ผมเองก็ใช้วิธีนี้)
รูปที่ 2 Timeline ขนาดปกติ
รูปที่ 3 ย่อ - ขยาย Timeline

การทำงานกับคลิปมีเดียบน Track และ Timeline

การนำคลิปเข้ามาบน Timeline

การนำคลิปวีดีโอมาใส่ใน Timeline สามารถทำได้หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีลากและวาง 

วิธีที่ 1 ลากและวางจากหน้าต่าง Project Media
รูปที่ 4 การนำคลิปเข้ามาบน Timeline จากหน้าต่าง Project Media
วิธีที่ 2 ลากและวางจากหน้าต่าง Explorer
รุปที่ 5 การนำคลิปเข้ามาบน Timeline จากหน้าต่าง Explorer
วิธีที่ 3 ลากและวางจากหน้าต่าง Windows Explorer
รุปที่ 6 การนำคลิปเข้ามาบน Timeline จาก Windows Explorer

การลบคลิปออกจาก Timeline

การลบคลิปออกจาก Timeline สามารถลบได้ง่ายๆ โดยคลิ๊กขวาที่คลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการแล้วเลือกคำสั่ง Delete หรือจะ กดปุ่ม Delete บน Keyboard เลยก็ได้ ง่ายดี

การคัดลอกคลิปบน Timeline

การคัดลอกคลิปวีดีโอ หรือการ Copy คลิปวีดีโอที่อยู่บน Timeline สามารถทำได้ โดยคลิ๊กขวาคลิปวีดีโอที่ต้องการคัดลอก แล้วเลือก Copy (หรือจะกดปุ่ม Ctrl + C ก็ได้ ง่ายดี) แล้วนำไปวางที่ตำแหน่งที่ต้องการด้วยคำสั่ง Paste (หรือ Ctrl + V) 

การย้ายตำแหน่งคลิปบน Timeline

การย้ายตำแหน่งบน Timeline ซึ่งถือเป็นการเรียบเรียงคลิปวีดีโอ มาต่อกันให้ได้ตามที่ต้องการ เราสามารถย้ายคลิปไปตำแหน่งไหนก็ได้บน Timeline ด้วยการคลิ๊กเลือกที่คลิปวีดีโอ แล้วก็เลื่อนไปตามตำแหน่งที่ต้องการวาง
รุปที่ 7 การย้ายคลิปบน Timeline
ใน Sony Vegas Pro มีคำสั่งเพื่อกำหนดการย้ายแบบเป็นกลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานยิ่งขึ้น โดยเลือกคำสั่ง Auto Ripple 
รุปที่ 7 ปุ่ม Auto Ripple
เมื่อเลือกแล้ว โดยค่าปกติ หรือค่าเริ่มแรกจะอยู่ที่ เมนู
Affected Track เป็นการย้ายคลิปทั้งหมดที่มีอยู่หลังคลิปวีดีโอที่เลือก มีผลเฉพาะแทร็คนั้น แทร็คเดียว สังเกตว่า เราเลือกแล้วทำการย้ายคลิปจะได้ดังนี้
รูปที่ 8 Auto Ripple Affected Track
จากรูปที่ 8 เห็นว่า เมื่อเลือกคลิปใดคลิปนึง แล้วทำการเลื่อน คลิปด้านหลังก็จะเลื่อนไปตาม
นอกจากนี้แล้วยังมีคำสั่งอื่นๆ เช่น
Affeced Track, Bus Track, Markers, and Regions เป็นการย้ายคลิป Bus Track Markers และ Regions ที่สร้างไว้ทั้งหมดทีอยู่หลังคลิปที่เลือก มีผลเฉพาะแทร็คนั้นแทร็คเดียว
All Track, Marker, and Regions เป็นการย้ายคลิป Markers และ Regions ที่มีอยู่หลังคลิปทั้งหมด มีผลกับทุกแทร็ค
รูปที่ 9 เมนูใน Auto Ripple

การตัดแบ่งคลิป

เราสามารถแบ่งคลิป หรือตัดส่วนที่ไม่ต้องการของคลิปออกด้วยวิธีง่าย คือ ลากเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการตัดแล้วกดปุ่ม S บนคืย์บอร์ด 

#หมายเหตุ หากกดแล้ว โปรแกรมยังไม่แบ่งคลิปให้ ให้ดูภาษาที่ใช้บนคีย์บอร์ดด้วยว่าเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หากเป็นภาษาไทยจะไม่สามารถกดแบ่งได้ ต้องภาษาอังกฤษเท่านั้น
รุปที่ 10 การต้ดแบ่งคลิป
กรณีที่เราตัดคลิปออกมากเกินไป ทำให้คลิปเราหาย หรือประมาณว่าตัดลึกเกินไป หรือตัดไม่พอ เราสามารถดึงหัว ดึงท้ายคลิปให้ยืดออก หรือหดเข้าได้
รูปที่ 11
จากรูปที่ 11 ให้นำเมาส์ไปวางที่หัวคลิป หรือท้ายคลิป ที่เราต้องการจะยืดคลิปออก หรือหดคลิปเข้า เมื่อรูปเมาส์เปลี่ยนเคอร์เซอร์แล้วก็ดึงออกได้เลย หรือจะหดเข้าก็ได้

หมายเหตุ กรณีที่เราตัดพลาด ก็สามารถใช้คำสั่ง Undo ได้เช่นกัน โดยกดปุ่ม Ctrl +Z

การให้คลิปแสดงแบบย้อนกลับ

เป็นอีกหนึ่งลูกเล่นในงานวีดีโอ คือทำให้คลิปที่มีอยู่แสดงภาพและเสียงแบบย้อนกลับ โดยใช้คำสั่ง Reverse โดยการเลือกคลิปที่ต้องการแสดงวีดีโอแบบย้อนกลับ แล้วคลิ๊กขวา เลือกคำสั่ง Reverse เท่านี้ก็ได้แล้วครับ

สำหรับวันนี้ก็จบเรืองของ Timeline ไว้เพียงเท่านี้ครับ รู้สึกเหนื่อยๆแฮ่ะ ขอไปกินน้ำกินท่าก่อนครับ เดี๋ยวบทความหน้า จะมากล่าวถึงการเปลี่ยนฉากกันครับ
บทความต่อไป อ่านได้ที่นี่เลยครับ การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 5 เทคนิคการเปลี่ยนฉาก ในงานวีดีโอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช