ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 1 Track


สวัสดี เช้า วันพุธ ที่ 19 ก.พ. 57 หลังจากที่หายไปเกือบอาทิตย์นึง วันนี้ได้มาอัพเดตบทความกันสักหน่อย
ครั้งก่อนที่ว่ากล่าวด้วยเรื่องของ การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 3 การนำไฟล์วีดีโอมาตัดต่อใน Sony Vegas Pro  ได้จบไปแล้ว วันนี้เรามาเริ่มตัดต่อชิ้นงานด้วย Sony Vegas Pro กัน อย่างแรกคือ

การทำงานกับ Bin ใน Project Media

ก่อนที่เราจะทำการตัดต่อวีดีโอนั้น การสร้าง Bin ก็จะคล้ายกับการสร้างโฟลเดอร์ย่อยๆ ในโปรแกรมนั่นเอง โดยมีความสำคัญหรือจำเป็นคือ การแยกหมวดไฟล์วีดีโอ การแยกหมวดเสียง การแยกหมวดรูปภาพ ทำให้เราค้นหาหมวดไฟล์ต่างๆได้ง่ายขึ้น หากมีการแยกหมวดไว้แต่ละหมวด 
สำหรับการสร้าง Bin เพื่อจัดหมวดหมู่สามารถทำได้ดังนี้

การสร้าง Bin ใน Project Media

ในหน้าต่างของ Project Media คลิ๊กขวาที่ Media Bin แล้วเลือก Create New Bin แล้วทำการตั้งชื่อ Bin เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

รูปที่ 1 การสร้าง Bin
เราสามารถสร้าง Bin ได้หลายๆ Bin ดังนี้
รูปที่ 2 การสร้าง Bin หลายๆ bin

การลบ Bin ใน Project Media

ในส่วนของการลบ Bin ใน Project Media ก็ไม่มีอะไรมากครับ เพียงแค่เลือกที่ Bin ที่ต้องการลบให้เป็นแท้บสิน้ำเงิน แล้วกดปุ่ม Delete บนคีย์บอร์ด เป็นอันเรียบร้อยครับ

การทำงานกับแทร็ค

แทร็ค (Track) และ ไทมไลน์ (Timeline) เป็นส่วนที่สำคัญที่ใช้ในการตัดต่อวีดีโอและเรียบเรียงลำดับชิ้นงาน โดยการนำคลิปต่างๆมาเรียงต่อกัน เพื่อให้ได้ชิ้นงานตามที่เราต้องการ รวมทั้งการจัดการกับคลิปเสียง การนำเสียงมาใส่ในวีดีโอ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด หรือเสียงเพลงก็ตามแต่ ดังนั้น เรามารู้จักกับการทำงานกับแทร็คก่อนดังนี้

การสร้างแทร็ค

ในโปรแกรม Sony Vegas Pro จะมีแทร็คอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
- Video Track : สำหรับงานตัดต่อที่เกี่ยวกับภาพและข้อความ
- Audio Track : สำหรับงานที่เกี่ยวกับเสียง

เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะพบว่าไม่ปรากฏแทร็คใดๆบน Timeline เลย (หรืออาจจะมีก็ได้)  ให้เราลากคลิปวีดีโอลงไปใส่ใน Timeline ก็จะเป็นการสร้างแทร็คโดยอัตโนมัติ
รูปที่ 3 การสร้างแทร็ค
รุปที่ 4 การสร้างแทร็ค (ลากลงมาเลย)
สำหรับงานบางงานหรือบางกรณีที่เราจำเป็นต้องสร้างแทร็คขึ้นมาก่อน เพื่อนำมีเดียอื่นๆ มาวางเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นข้อความ หรือเสียง มาวางซ้อนให้อยู่ในอีกแทร็คนึงต่างหาก เราสามารถเพิ่มแทร็คได้ด้วยวิธีการคลิ๊กขวาที่ Timeline แล้วเลือก 
Insert  Video Track : เป็นการเพิ่มแทร็คภาพ
Insert Audio Track  : เป็นการเพิ่มแทร็คเสียง
โดยที่เราสามารถเพิ่มได้อย่างไม่จำกัด

รูปที่ 5 การเพิ่ม Track

การลบแทร็ค

หากเราต้องการที่จะลบแทร็คที่ไม่ต้องการทิ้งไป เราก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยการคลิ๊กขวาในแทร็คที่ต้องการจะลบแล้วเลือกคำว่า Delete Track
รูปที่ 6 การลบ Track

การคัดลอกแทร็ค

กรณีที่เราต้องการเพิ่มแทร็คที่มีทุกอย่างเหมือนกันทุกประการ เราสามารถคัดลอกแทร็คนั้นได้ทันทีโดยเลือกคำสั่ง Duplicate Track  (ดูในรูปที่ 6 ได้ครับ ด้านบน Delete Track)

การปรับแต่งรายละเอียดแทร็ค

ได้แก่ 

การตั้งชื่อแทร็ค

แทร็คที่เราสร้างขึ้นมานั้น เราสามารถตั้งชื่อให้สอดคล้องกับคลิปต่างๆที่อยู่ในแทร็คได้ เช่น ภาพหลัก ข้อความ ฯลฯ การตั้งชื่อแทร็คนั้นให้เราคลิ๊กขวาบนแทร็คที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ แล้วเลือกคำสั่ง Rename เปลียนเป็นชื่อแทร็คที่เราต้องการ
รูปที่ 7 เปลี่ยนชื่อแทร็ค
รุปที่ 8 เปลี่ยนชื่อแทร็ค

การปรับความเข้มของภาพด้วยคำสั่ง level

เราสามารถปรับความเข้มของภาพในแทร็คได้โดยการใช้เมาท์เลือนที่แท็บ Level ได้เลย ซึ่งจะต้องการให้มืด หรือ สว่าง ก็ปรับได้ตามใจชอบเลยครับ
รูปที่ 9 การปรับ Level 50 %
รุปที่ 10 level 100%

การปรับระดับเสียง

เราสามารถทำได้เช่นเดียวกับการปรับ Level ของภาพครับ แต่กระทำในแทร็คเสียงที่อยู่ด้านล่าง
รูปที่ 11 การปรับระดับเสียง
และเราก็ยังสามารถแพนเสียงไปทางซ้ายหรือขวาจากคำสั่ง Pan ได้อีกด้วย หากต้องการให้เสียงดังข้างซ้ายก็ให้เลื่อน แถบ Pan ไปทางด้านซ้าย หากต้องการให้เสียงดังข้างขวา ก็ให้เลื่อนแถบ Pan ไปทางด้านขวา (ปุ่ม Pan เสียง ดูได้จากรูปที่ 11 ที่อยู่ด้านล่างปุ่มระดับเสียงครับ)

ครับวันนี้ก็ได้เรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องของ Track ไปเยอะแล้ว วันนี้ก็ขอพักก่อนครับ เดี๋ยวบทความหน้าผมจะเอาเรื่องการทำงานบน Timeline มาเขียนให้อ่านกันครับ ขอพักไปกินน้ำแป๊บ

ผมได้อัพเดตบทความเรื่องของตอนต่อไปคือ การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 2 Timeline เรียบร้อยแล้วครับ สามารถติดตามต่อได้เลยครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช