ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 1 อุปกรณ์ที่ต้องใช้


คิดว่าหลายคนคงจะเคยชมภาพยนต์ หรือละคร แล้วคิดถึงเรื่องของเทคนิคการถ่ายทำภาพยนต์ หรือละคร ว่าเขาทำอย่างไรบ้างในการถ่ายทำภาพยนต์ ทำไมทำได้น่าดู น่าชมจังเลย แน่นอนครับ การสร้างภาพยนต์นั้น ต้องมีการจัดฉาก การถ่ายทำ และการเรียบเรียงเนื้อหา เพื่อให้ได้ภาพยนต์ตามที่ต้องการ ดังนั้นแล้ว เรื่องการออกแบบ การจัดฉากและการถ่ายทำนั้นผมจะไม่ขอพูดถึง โดยผมจะเข้าสู่การเรียบเรียงเนื้อหาเลย โดยการนำเนื้อเรื่องมาเรียบเรียงนั้นคือ กระบวนการตัด - ต่อ วีดีโอ โดยที่ผมจะแนะนำโปรแกรมในวันนี้คือ Sony Vegas Pro  (ส่วนของเวอร์ชันนั้น แล้วแต่ท่านมีนะครับ เพราะการใช้งานไม่ต่างกันสักเท่าใดมากนัก)

ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าผมเองก็ไม่ใช่คนที่เก่งแต่อย่างใด และการใช้งานอาจจะไม่ครบคลุมตามความต้องการของท่าน ภาษาที่ใช้อาจจะเป็นงงๆ ผมจะเน้นบทพูดมากว่าเป็นทางการ แต่อยากจะเผยแพร่บทความให้ทุกท่านได้อ่านครับ หากผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และยินดีรับฟังความคิดเห็น และข้อแนะนำเป็นอย่างยิ่งครับ

ต่อกันเลยครับ

Sony Vegas Pro
เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ใช้งานง่าย สามารถใช้ในงานตัดต่อวีดีโอที่สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ และมีเครื่องมือ (Tool) ให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย โดยโปรแกรมสามารถทำงานอย่างอย่างครอบคลุมตั้งแต่ การนำไฟล์วีดีโอมาแปลงเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ต้องการ การตัดต่อวีดีโอ การใส่เทคนิคพิเศษ ฯลฯ อีกทั้งตัวโปรแกรมยังต้องการสเปคเครื่องที่ไม่สูงมากก็สามารถทำงานตัดต่อวีดีโอได้
เรามาดูอุปกรณ์ที่ต้องใช้กัน

เครื่องคอมพิวเตอร์
สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับ Sony Vegas Pro
แน่นอนครับ เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหัวใจหลักอย่างแรงชนิดที่ขาดไม่ได้ ในงานตัดต่อวีดีโอ (เพราะขาดแล้วจะเอาอะไรตัดต่อล่ะ ????) ก็อย่างว่าครับ ตัวโปรแกรมนั้นไม่ได้ต้องการสเปคเครื่องที่สูงมาก แต่ช่วงนี้ราคาอุปกรณ์ อะไรๆก็ถูกไปหมด งั้นผมจะแนะนำเป็นอุปกรณ์ขั้นต่ำที่ต้องใช้นะครับ (ย้ำขั้นต่ำที่โปรแกรมต้องใช้ แต่ถ้าท่านมีอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงเท่าไหร่ยิ่งดี)

CPU ต้องเป็น Pentium 4 ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป (ก็บอกแล้วว่าขั้นต่ำ ยิ่งท่านมีพวกหลายๆคอร์ยิ่งดี ตระกูล i3 i5 i7 หรือพวก AMD เป็นพวก K ก็ยิ่งดี)

แรมหรือหน่วยความจำ Memory ขนาด 512 MB ขึ้นไป (อันนี้แนะนำว่าไม่ควรต่ำกว่า 2 GB ดีกว่านะครับ เพราะ 512 MB รู้สึกมันจะน้อยเกินไป แต่ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ สำหรับ ระบบปฏิบัติการ 32 บิท จะใส่แรมได้ไม่เกิน 4 GB ถึงแม้จะใส่ 8 GB หรือ 16 GB ระบบปฏิบัติการ 32 บิท ก็มองเห็นเรมได้ไม่เกิน 4 GB เท่านั้น หากอยากได้แรมเต็มก็ใช้ ระบบปฏิบัติการ 64 บิท ครับ)

ฮาร์ดดิสก์ 1 GB สำหรับการติดตั้งโปรแกรม (แม้จะไม่ถึงก็ช่างเหอะ) และควรเตรียมพื้นที่สำหรับเก็บงานวีดีโอไว้เยอะๆจะดีกว่าครับ ถ้าจะทำงานวีดีโอก็เตรียมไว้เลยสัก 500 GB หรือ 1TB หากใครมีไม่ถึงก็ไม่เป็นไรครับ เพราะพื้นที่ของไฟล์ที่ใช้ในการตัดต่อวีดีโอขึ้นอยู่กับความยาวของวีดีโอที่คุณต้องการใช้งาน ยิ่งมีความยาวนานเท่าไหร่ ยิ่งกินเนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์มากครับ

ระบบปฏิบัติการ ขึ้นอยุ่กับเวอร์ชันที่ใช้ครับ ถ้า Sony Vegas Pro รุ่นเก่าหน่อยเช่นเวอร์ชัน 7 เวอร์ชัน 8 ก็ใช้ Winodow XP ได้ครับ แต่หากเวอร์ชันสูงขึ้นไป ก็ใช้ใน Window 7 หรือ Window 8 ครับ (ส่วนใหญ่ทุกวันนี้ Window 7 ครองตลาดไปแล้ว Window 8 พยายามแจ้งเกิด เท่าๆที่รู้มาครับ) จะใช้ระบบปฏิบัติการ 32 บิท หรือ 64 บิท ก็ได้ครับ จงจำไว้ว่า แรมน้อยใช้ระบบปฏิบัติการ 32 บิท แรมเยอะใช้ระบบปฏิบัติการ 64 บิท (หากมีให้เลือกครับ แต่ถ้าหากไม่มีให้เลือก็ใช้ตามมีตามเกิดเอาล่ะกัน)

สำหรับสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีเท่านี้แหล่ะครับ ถือเป็นหัวใจหลักในงานตัดต่อวีดีโอ (ไฟฟ้าก็เป็นหัวใจหลักนะครับ ขาดอย่างใดอย่างนึงไม่ได้ หุหุ)

มาดูอุปกรณ์อื่นๆกันครับ ว่าควรมีอะไรบ้างในงานตัดต่อวีดีโอที่คุณต้องใช้งานครับ

กล้องวีดีโอ ในบทความนี้ผมจะไม่กล่าวในเรื่องของการเลือกซื้อกล้องวีดีโอนะครับ แนะนำกล้องที่เป็นแบบ HD ขึ้นไปครับ

การ์ดแคปเจอร์ ไม่จำเป็นก็ได้ครับ เพราะทุกวันนี้กล้องวีดีโอใช้แบบ USB กันเกือบหมดแล้ว หากเป็นกล้อง DV ทีไม่มีพอร์ท USB การ์ดแคปเจอร์ก็จำเป็นต้องมีครับ

ลำโพง หูฟัง จำเป็นครับ เพราะเราต้องฟังเสียงประกอบวีดีโอที่กำลังตัดต่อไปด้วย

ไมโครโฟน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่จะต้องใช้งานครับ

อุปกรณ์เผยแพร่สื่อ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดีวีดี ซีดี หรือ แฟลซไดร์ว อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เพราะการตัดต่อวีดีโอนั้น ในขั้นตอนสุดท้ายก็คือการนำไปเผยแพร่ผลงานครับ

และสำหรับอุปกรณ์อื่นๆที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้ครับ และในวันนี้ผมเองก็ขอจบในเรื่องของอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานในการตัดต่อวีดีโอเพียงเท่านี้ก่อนครับ เดี๋ยวบทความหน้าจะมาเล่าเรื่องของตัวโปรแกรมให้ครับ วันนี้ขอไปทำงานก่อน (งานเข้า)  แว๊บบบบบบ !!!

สำหรับบทความถัดไป เกี่ยวกับเรื่อง การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 2 แนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือ ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

ทำแผนที่ด้วย QR Code

ทำแผนที่ด้วย QR Code  มีงานบ้านไหนบอกด้วย เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะแต่งงาน งานบุญ งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานฌาปนกิจ  ถ้าหากเป็นเมื่อก่อน คงต้องมานั่งวาดแผนที่ใส่กระดาษ วาดผิดมั่ง ถูกมั่ง เดินทางทีมีหลงทาง ในยุคนี้ 4.0 ซะแล้ว ถ้าจะให้วาดเหมือนเมื่อก่อนก็ยังคงไม่สะดวกกลัวหลงอีกเช่นเคย ฉะนั้น เรามาบอกทางไปบ้านงานด้วยแผนที่ Google map กันเถอะ พิมพ์เยอะจะเจ็บมือ เริ่มเลยดีกว่า แนะนำให้ใช้ PC หรือ Labtop นะครับ เพราะใช้สมาร์ทโฟนสร้างมันจะยุ่งยากและเป็นงงๆเล็กน้อย  1. เข้าที่ Google chrome แล้วพิมพ์คำว่า maps.google.com แล้ว Enter เลยครับ ไม่ต้องมีหลายขั้นตอนให้ยุ่งยาก โดยหน้าตา Google map จะเป็นเหมือนดังในรูป แต่หากเราเข้าเริ่มแรกเลย Google จะแสดงตำแหน่งที่เราอยู่ 2. ถ้าดูในแผนที่ บ้านงาน บ้านเจ้าบ่าว บ้านเจ้าสาวอยู่ตรงไหนของแผนที่น่าจะรู้กันอยู่ ให้เราซูมเข้าไปในแผนที่เลยครับ จากรูปผมจะวางตำแหน่งไว้ใกล้โรงเรียนบ้านตากแดด อ.ตระการพืชผล (หรือจะใช้วิธีพิมพ์ชื่ออำเภอ ชื่อตำบล ชื่อบ้านแล้วค่อยซูมเข้าไปก็ได้ครับ) คงไม่ต้องบอกหรอกเนาะ ว่าบ้านคุณอยู่ตรงไหน เพราะผมเองก็ไม่รู้ว่าบ้านคุณอยู่ที่