ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 5 เทคนิคการเปลี่ยนฉาก ในงานวีดีโอ

บทความก่อนผมได้กล่าวถึงเรื่อง การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 1 Track, การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 2 Timeline ไปแล้ว คงจะเข้าใจในงานตัดต่อวีดีโอได้ระดับนึงนะครับ ทีนี้ผมจะมากล่าวในเรื่องของการเปลี่ยนฉากในแต่ละฉาก เพื่อเพิ่มสีสันให้แก่งานวีดีโอของเราครับ
การเปลี่ยนฉากคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในงานตัดต่อวีดีโอ เพราะรูปแบบการเปลี่ยนฉากที่แตกต่างกันมีผลต่ออารมณ์ของชิ้นงานเป็นอย่างมาก เช่น การเปลี่ยนฉากบางอย่างทำให้รู้สึกหวานซึ้ง หรือแบบสนุกสนาน ขึ้นอยู่กับท่านผู้ทำชิ้นงานแหล่ะครับว่าจะเอาอารมณ์แบบไหน โดยกล่าวแล้ว ในโปรแกรม Sony Vegas Pro นั้นมีรูปแบบการเปลี่ยนฉาก หรือที่เรียกว่า ทรานซิชัน (Transition) ให้เลือกใช้งานอย่างมากมาย เรามาดูการว่า การใช้งานนั้นทำอย่างไร



รู้จักเทคนิคเปลี่ยนฉากวีดีโอ 

ทรานซิชัน (Transition) คือ เทคนิคการเปลี่ยนฉากที่ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกที่หลากหลาย คือ สมมุติว่าเรามีฉากวีดีโอที่เล่นต่อเนื่องอยู่ 2 ฉาก ในขณะที่เปลี่ยนฉากจะทำการเปลี่ยนฉากแบบทันทีทันใด ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เรื่องราวไม่น่าสนใจ และหากเราใส่ทรานซิชั่นลงไปในฉาก ก็จะทำให้ฉากดูมีลูกเล่นที่น่าสนใจกว่าเดิม
ตัวอย่าง การเปลี่ยนฉากแบบไม่ใช้ ทรานซิชัน




และการใช้ทรานซิชันในการเปลี่ยนฉากวีดีโอ
ตัวอย่างการเปลี่ยนฉากโดยใช้ทรานซิชัน



จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนฉากทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน 

สำหรับการเปลี่ยนฉากวีดีโอใน Sony Vegas Pro มีให้เลือกใช้หลายแบบเลยเชียว

การเปลี่ยนฉากด้วยวิธี Crossfades

การเปลี่ยนฉากด้วยวิธีเบื้องต้น สามารถทำได้ง่ายๆ ก็คือวิธี Crossfades คือให้ช่วงท้ายของคลิปวีดีโอไปซ้อนทับกับช่วงต้นวีดีโอของคลิปถัดไปที่จะเล่นต่อเนื่องกัน จะเป็นการซ้อนภาพระหว่างเปลี่ยนคลิปวีดีโอ มาดูตัวอย่างที่สั้นๆกันครับ
 

จากวีดีโอด้านบนจะเห็นว่าการเปลี่ยนฉากทั้งสองคลิปนั้นทำได้อย่างง่ายดาย คือการลากคลิปด้านหลังไปวางซ้อนกับคลิปด้านหน้า หรือว่าจะเอาคลิปด้านหน้ามาวางซ้อนด้านหลังก็ได้ จะเห็นว่าการเปลี่ยนฉากจะดูอย่างนุ่มนวลขึ้น เทียบกับตอนแรก

การแทรกเทคนิคเปลี่ยนฉากให้กับงานวีดีโอ 
มาดูการแทรกเทคนิครูปแบบต่างๆ กันครับ ผมจะเสนอตัวอย่างให้ดูเลยครับ ว่าเรามีการเปลี่ยนฉากแบบอื่นกันอย่างไร



จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่าผมได้ลากคลิปมาซ้อนกันแล้ว แล้วเลือกฉากที่ต้องการจะเปลี่ยนลงมาใส่ในที่จุดซ้อนทับ เท่านี้ก็ได้การเปลี่ยนฉากที่ดูดี มีชีวิต ชีวา ได้แล้ว
ในส่วนของทรานซิชัน ชนิดต่างๆ ผมจะไม่ขอกล่าวถึงนะครับ ให้ท่านผู้อ่านไปลองศึกษาต่อยอดเอานะครับ สำหรับบทความนี้ ผมขอจบแต่เพียงเท่านี้ครับ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

การสร้าง URL สั้นๆ เพื่อส่งไฟล์ให้เพื่อน

การสร้าง URL สั้นๆ เพื่อส่งไฟล์ให้เพื่อน การที่จะส่งไฟล์ให้เพื่อน เช่น ไฟล์รูป ไฟล์วีดีโอ หรือโปรแกรมอื่นๆ เวลาที่เราก็อปปี้ลิงค์จาก Google Drive นั้น มักจะเป็นลิงค์ที่ยาว หากเราทำการส่งลิงค์ใน Line เพื่อเปิดใน PC แล้วเพื่อนของคุณไม่ได้ติดตั้ง Line ใน PC ไว้ ต้องมานั่งพิมพ์ URL ยาวๆเอา ซึ่งไม่สะดวกสักเท่าไหร่นัก ดังนั้น เราควรทำลิงค์ให้สั้นๆ เพื่อให้เพื่อนของเราเปิดไฟล์ที่เราแชร์อย่างง่ายดาย ตัวอย่าง เช่น เราต้องการส่ง Link ของ ไฟล์ที่เราแชร์ใน Google drive 1. ให้เราวางข้อมูลที่เราต้องการแชร์  ใน Google ก่อน จากนั้นทำการแชร์ไฟล์ และเปลี่ยนสิทธิ์ในการแชร์ให้เรียบร้อย ดังภาพ 2. ให้เข้าเว็บ  https://www.shorturl.at/  แล้วทำการวางลิงค์ที่เราก็อปปี้มา แล้วกดปุ่ม Shorten URL ครับ จากนั้นก็ส่งลิงค์ให้เพื่อนได้เลยครับ

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...