ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภัยร้ายของข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์และการป้องกันด้วยการใช้ Google drive

เล่าจากประสบการณ์


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้รับ Notebook มาเครื่องนึง แจ้งว่าเข้าใช้งานวินโดว์ไม่ได้ ผมจึงลองเช็คดูพบว่าอาการเกิดจากฮาร์ดดิสก์ที่ Detect เจอบ้าง ไม่เจอบ้าง นั่นก็คือสัญญาณที่เตือนอันตรายที่สุดสำหรับข้อมูลในเครื่อง Notebook เครื่องนั้น ผมได้แจ้งกับเจ้าของ Notebook เครื่องนั้นว่า กรณีอาการแบบที่เป็นนี้วิเคราะห์ได้สองอย่างคือ วินโดว์เสีย และ ฮาร์ดดิสก์เสีย (ไอ้เจ้า window เสียยังพอรับได้ แต่ไอ้เจ้าฮาร์ดดิสก์เสียนี่สิ ข้อมูลทั้งชีวิตเลยนะนั่น) ซึ่งเคสนี้บอกเลย หากผมเป็นเจ้าของเครื่อง Notebook เครื่องนี้ ก็คงหนักใจไม่แพ้กัน ผมจึงได้รับปากกับเจ้าของเครื่องว่าจะลองหาวิธีเอาข้อมูลออก และโชคก็เข้าข้างอยู่บ้าง ที่ถอดฮาร์ดดิสก์ออกมาใส่กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น สามารถ Detect เจอ drive D และเอาข้อมูลออกมาได้ และข้อมูลจาก Drive C พังเป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่สามารถเอาข้อมูลออกมาได้ ซึ่งผมเองก็บอกได้ว่าทำได้ที่สุดเพียงเท่านี บทลงเอยสุดท้ายเจ้าของเครื่องขอบคุณผมเป็นอย่างมากเพราะข้อมูลใน Drive C ไม่มีอะไรนอกเสียจาก Windows และโปรแกรมที่ใช้งานต่างๆ ผมเองก็ยินดีกับเจ้าของเครื่องด้วยครับ

เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ผมคิดว่าคงจะมีจำนวนไม่น้อยที่เจอเหตุการณ์เช่นนี้ การป้องกันโดยส่วนใหญ่มักจะซื้อ Flash drive มาสำรองข้อมูล External HDD มาสำรองข้อมูล แน่นอนว่าอุปกรณ์พวกนี้ก็มีโอกาสเสียเช่นกัน แต่เชื่อผมไหมว่า อุปกรณ์ที่คุณซื้อมาไว้สำรองข้อมูล มันไม่ได้สำรองข้อมูลและจะถูกใช้งานบ่อยเนื่องจากความสะดวกในการพกพา ท้ายสุดอุปกรณ์พวกนี้กลับพังไวกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานอยู่เพราะการพกพานั่นเอง แต่ก็ยังดีกว่าไม่ป้องกันสินะครับ ว่าไหม ?

แล้วจะทำยังไงดี ?

หนึ่งในทางเลือกของการป้องกันข้อมูลหาย นอกจาก Flash drive หรือ External drive นั่นก็คือ "Cloud Storage" คือ การเก็บไฟล์ไว้บนอากาศ ผมเองก็สงสัยเช่นกันว่าจะเก็บไว้ยังไง โยนข้อมูลขึ้นอากาศเหรอ มันมีวิธีการอย่างนี้ด้วยเหรอ

"Cloud Storage" คือ การเก็บไฟล์ไว้บนอากาศ หรือการฝากไฟล์ไว้ที่เซิร์ฟเวอร์บริการฝากไฟล์ และสามารถใช้งานไฟล์ได้ทุกเมื่อ เมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าอินเตอร์เน็ต ยกตัวอย่าง เช่น

อีเมลล์ เราสามารถที่จะอัพไฟล์เอกสารใส่อีเมลล์ของเราและส่งไปยังอีกอีเมลนึงที่เป็นของเรา เวลาจะเรียกใช้งานก็เพียงแค่เปิดอีเมลล์และดาวน์โหลดไฟล์นั้นๆมาใช้งาน แต่การโหลดไฟล์มาใช้งาน ไฟล์ต้นฉบับที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์จะไม่มีการแก้ไขใดๆ เมื่อเราโหลดไฟล์มาใช้งาน

บริการ Cloud Storage ที่ผมใช้บ่อย คือ Dropbox และ google drive  เป็นบริการฝากไฟล์ที่น่าใช้ในปัจจุบัน ที่สำคัญใช้งานฟรี ในส่วนของ Dropbox ได้พื้นที่ 5 GB และ Google Drive ได้ถึง 20 GB และเหมาะที่จะเก็บไฟล์งานสำคัญๆของคุณได้มากเลยทีเดียวครับ

 

Google Drive บริการที่ไม่ควรมองข้าม


เพียงแค่มี Gmail Account ก็สามารถใช้งานพื้นที่ฟรีได้ถึง 20 GB เลยทีเดียว สามารถส่งไฟล์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่หากันได้อย่างสะดวก และเก็บไฟล์ข้อมูลที่สำคัญของคุณได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องกลัวว่าฮาร์ดดิสก์จะพัง ไม่ต้องสาย USB เข้า-ออก ไม่ต้องพกพาอะไรทั้งสิ้น เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ก็สามารถนำมาใช้งานได้แล้ว

 

 

การใช้งาน Google Drive



การใช้ Google Drive ในการสำรองนั้น ต้อง Download Google Drive มาติดตั้งในเครื่องที่เราใช้เป็นประจำ หรือเครื่องที่มีข้อมูลสำคัญของเราก่อน จากนั้นค่อยทำการอัพโหลดไฟล์ขึ้น Google Drive

ทำการ Download Google Drive ที่ลิงค์ --> http://www.google.co.th/intl/th/drive/download/ ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย

google drive

google drive

 

google drive

 

จากนั้นเข้าใช้งาน Google Drive ด้วยการ Login บริการด้วย Gmail Account

google drive

 

จะเข้าสู่หน้าจอใช้งาน ให้เราคลิ๊กถัดไป และจนมาถึงหน้าจอที่สอง ให้เราคลิ๊กเริ่มต้นการซิงค์เลยครับ เครื่องจะทำการซิงค์ไฟล์อยุ่บน Google Drive ลงมาเครื่องเรา

google drive

 

สำหรับผู้ที่เริ่มใช้งาน Google Drive จะไม่มีไฟล์อะไรให้ซิงค์หรอกครับ เนื่องจากยังไม่เคยใช้งานเลย แต่หากผู้ที่เคยใช้งานอยู่แล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Google Drive ในเครื่องเรา จะทำการ Download File จาก Google Drive ลงมาใส่เครื่องเรา และหากเราก็อบปี้ไฟล์ไปวางไว้ในโฟลเดอร์ของ Google Drive เครื่องก็จะทำการ Upload File ขึ้น Google Drive โดยอัตโนมัติ

การลบไฟล์ในเครื่องของเรา เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะซิงค์ให้ลบไฟล์จาก Google drive ด้วยนะครับ ยกเว้นแต่จะลบตอนที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การลบไฟล์นั้นก็ไม่มีผล และเมื่อมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะตรวจสอบว่ามีไฟล์หายไป แล้วโหลดไฟล์นั้นมาทดแทน

google drive Screen Shot 2015-05-23 at 2.29.32 PM google drive

 

ต้องการใช้ Google Drive ในการสำรองข้อมูล


เพียงแค่ย้ายข้อมุลมาไว้ใน Google Drive เครื่องก็จะทำการ Upload File ขึ้นสู่ Google drive โดยอัตโนมัติ เมื่อเรามีการแก้ไขไฟล์ ไฟล์ที่ Google Drive ก็จะแก้ไขตามไปด้วย เพียงเท่านี้ ก็หายห่วงจากเรื่องฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์พังแล้วครับ

google drive

สำหรับบทความนี้ จริงแล้วยังมีต่ออีก แต่ผมเกรงว่าจะอ่านกันจนเบื่อเสียก่อน เดี๋ยวต่อกันที่บทความถัดไปครับ วันนี้ขอพักก่อน

ย้ำนะครับ

การลบไฟล์ในเครื่องของเรา เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะซิงค์ให้ลบไฟล์จาก Google drive ด้วยนะครับ ยกเว้นแต่จะลบตอนที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การลบไฟล์นั้นก็ไม่มีผล และเมื่อมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะตรวจสอบว่ามีไฟล์หายไป แล้วโหลดไฟล์นั้นมาทดแทน

ขอขอบคุณรูปภาพและสามารถอ่านการใช้งาน Google Drive ฉบับเต็มได้จาก หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...