ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีการลบ Baidu ออกจากเครื่อง

เครื่องคอมพิวเตอร์รวนๆ ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เปิดขึ้นมา web browser เป็นแปลกๆ อ่ะ อะไร ไอ้เจ้าเหานี่มาได้ยังไง

[caption id="" align="alignnone" width="479"]hao123 hao123[/caption]

ไม่พอยังมีโปรแกรมที่สุดแสนจะใจดี ช่วยป้องกันไวรัสจากเครื่องได้อีก บอกเลย อันนี้ฟรีๆ ครับ ฟรีๆ นั่นก็คือ Baidu Security นั่นเอง

[caption id="" align="alignnone" width="300"]baidu baidu[/caption]

หลายคนคงจะพึงพอใจในตัวโปรแกรมตัวนี้ (โดยเฉพาะช่างคอมพิวเตอร์ เพราะส่วนใหญ่แล้วติดโปรแกรมนี้ได้ลงวินโดว์ใหม่สถานเดียว) แต่คงไม่เป็นที่พอใจสำหรับเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์แน่ๆ เพราะตัวโปรแกรมค่อนข้างที่จะจุกจิกกวนใจ เน็ตใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ใช้ระบบเน็ตเวิร์กภายในบ้าน ที่ทำงานได้บ้างไม่ได้บ้าง เอาไปลงวินโดว์ใหม่ดีกว่า

เอาล่ะ รู้สึกว่าจะเพ้อยาวไปซะแล้ว เอาเป็นว่ามาทำการจัดการลบ Baidu ออกจากเครื่องดีกว่า บางทีวิธีนี้อาจจะไม่ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็น ขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของอาการติดเชื้อไวรัส Baidu เพราะมีบางทีเจ้า Baidu ไปทำการแก้ไขไฟล์ .dll ในเครื่องทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมไฟล์ในเครื่องได้ ดังนั้นควรทำใจไว้นิดๆกับเจ้า Baidu นะครับ แต่วิธีการนี้ก็ค่อนข้างที่จะใช้ได้ผลพอสมควร

 

ขั้นแรก คุณผู้อ่าน ต้อง Download File Killer_Baidu killer_baidu (ขอแก้ไขคำว่า Baido เป็น Baidu นะครับ ผมเขียนผิด) มาไว้ในเครื่องคุณก่อนครับ เอาไว้ที่ Desktop เลยครับ จากนั้นให้ทำการ Extract File ไว้ที่หน้า Desktop เลยครับ (ที่จริงโปรแกรมก็ทั่วไปน่ะแหล่ะ แต่มีสองไฟล์ เลยเอามารวมกัน)

Killer_baidu

เมื่อได้ไฟล์เรียบร้อยแล้ว ให้ Restart เครื่อง เพื่อเข้า Safe Mode ของ window 7 ได้เลยครับ หลังจากที่โลโก้เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นแล้วให้กดปุ่ม F8 รัวๆๆๆๆ โลด

F8

แล้วจะเข้ามามีหัวข้อให้เลือกหลายหัวข้อให้เลือก Safe Mode ครับ

safe mode

เมื่อเข้าสุหน้าจอ Safe Mode แล้วดำเนินการลบ Baidu ออกด้วยการเข้าที่โฟลเดอร์ Killer_Baido ครับ แล้วคลิ๊กขวาที่ไฟล์ Baidu_Remover_3.1 แล้วเลือก Run as Administrator เลยครับ จะได้ไฟล์ Baidu_remover_3.1 จะอยู่ที่เดสก์ท็อปครับ (เป็นรูปไฟล์ที่มีรูปฟันเฟือง)



เมื่อได้ไฟล์ Baidu_Remover_3.1 บนเดสก์ท็อปแล้ว ให้คลิ๊กขวาแล้วเลือก Run as Administrator จากนั้นปล่อยให้โปรแกรมทำงานตามหน้าที่ (ไม่ต้องไปสนใจ error ครับ) เครื่องจะทำการ Restart เองแล้วเข้าจะไปทำงานในโหมดปกติ ปล่อยให้เครื่องทำงานให้เสร็จ ก็ทำตามขั้นต่อไปครับ (เมื่อเครื่องรีสตาร์ทเข้าโหมดปกติแล้วบางเครื่องอาจจะมีหน้าจะ Dos ทำงานต่อ บางเครื่องอาจจะทำงานเสร็จ ฉะนั้นให้รอสักพัก จนกว่าหน้าจอ Dos จะขึ้น หากรอนานแล้วหน้าจอ Dos ไม่ขึ้นต่อ ก็แปลว่าเสร็จขั้นตอนนี้แล้วครับ)



จากนั้นมาขั้นตอนต่อไปคือเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต Run file JRT ที่มีอยู่ในโฟลเดอร์ Killer_Baido เลยครับ

ให้คลิ๊กขวาที่ไฟล์ JRT แล้วเลือก Run as Administrator จะมีหน้าจอ Dos ขึ้นมาให้กดปุ่ม Enter เลยครับ จากนั้นปล่อยให้โปรแกรมทำงานตามหน้าที่ (ไม่ต้องไปสนใจ error ครับ) เมื่อกำเนินการเสร็จจะมีหน้าจอรายงานบน Notepad เด้งขึ้นมาว่าทำอะไรไปบ้าง เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...