ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จด Domain Godaddy เพื่อเขียน wordpress

หลายๆคนที่อยากจะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียน Blog ไม่ว่าจะเป็น Blog ฟรี หรือ Blog แบบจ่ายเงิน และผมก็เป็นคนนึงที่ได้ลองเขียนและเริ่มจาก Blog ฟรี จนวันนี้ผมอยากมี Blog เป็นของตนเอง บทความนี้เป็นบทความแรกที่ผมได้เช่า Host และจด Domain เอง โดยหาข้อมูลจากโลกออนไลน์ ซึ่งบทความนี้ผมต้องเขียนไว้เพื่อเตือนความจำ และผู้ที่หาข้อมูลแบบผม เพราะกว่าจะได้ลงมือจริงๆก็เสียเวลาไปหลายวันเลยทีเดียว ก็งมๆ กันไปพอสมควร จนได้ใช้งาน wordpress อย่างเป็นทางการ โดยขั้นตอนการดำเนินการคือ บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของการจด Domain ก่อนเพื่อที่จะนำไปใช้งานในขั้นตอนต่อไป สำหรับใครที่ยังไม่ได้สมัคร Account Godady.com เดี๋ยวผมจะนำมาเขียนวิธีการสมัครให้นะครับ เพราะเคยสมัครไว้นานแล้ว เลยได้ใช้ Account ตัวเดิมไป โดยการจด Domain กับ Godaddy นั้นเมื่อจดแล้วค่อนข้างที่จะใช้เวลากว่า 5 - 6 ชั่วโมงจึงจะได้ใช้งานซึ่งบางทีจะเร็วกว่านั้น มาเริ่มกันเลยดีกว่า

เข้าที่ https://www.godaddy.com แล้วใส่ชื่อ Domain ที่ต้องการจะจด

จด Domain กับ Godaddy 1

ถ้าหากชื่อเรา Domain ที่เราต้องการจะจด มีชื่อซ้ำกัน ก็จะฟ้อง Sory, ดังรูป แต่ระบบจะแจ้งชื่อ Domain ที่เราต้องการแต่เป็น .org, .co ฯลฯ ครับ

จด Domain กับ godaddy 2

เมื่อเราเลือกได้แล้ว หน้าถัดมา ก็จะมี Option ให้เราเลือก แต่เราไม่ได้จด Host กับ Godaddy ก็เลือก No Thank ไปได้เลย

จด domain กับ godaddy 3

เสร็จแล้วก็จ่ายเงินครับ กรอกข้อมูลที่ต้องการจ่าย หรือจะจ่ายผ่าน paypal ก็ได้ครับ

จด domain กับ godaddy 4

 

เมื่อชำระเงินเสร็จ ก็รออีเมลล์คอนเฟิร์มครับ หากเราได้รับอีเมลล์แล้ว เราสามารถ Login เข้าจัดการกับ Domain Name ของเราได้ครับ

จด Domain กับ godaddy 5

เท่านี้เราก็ได้ Domain Name ไว้เพื่อใช้งานแล้วครับ

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช