ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มีอะไรดีใน Google Drive

สามารถใช้งานได้หลายอุปกรณ์ ( window, OS X (mac), linux, iOS (ipad,iphone), Android )


ต่อเนื่องกันเลยครับ จากบทความก่อนในเรื่อง ภัยร้ายของข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์และการป้องกันด้วยการใช้ Google drive ที่ผมได้กล่าวไว้ก่อนแล้ว นอกจาก Google drive จะช่วยในการสำรองข้อมูลแล้ว ยังสามารถที่จะใช้งานได้หลากหลายอุปกรณ์อีกด้วย เช่น คอมพิวเตอร์ที่ทำงาน คอมพิวเตอร์ที่บ้าน โน๊คบุ๊คส่วนตัว ยกตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของผม

[caption id="attachment_338" align="alignnone" width="300"]future of google drive เครื่อง PC[/caption]

[caption id="attachment_339" align="alignnone" width="300"]future of google drive เครื่อง Notebook[/caption]

[caption id="attachment_340" align="alignnone" width="300"]future of google drive iPad[/caption]

และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งาน Google drive จากภาพจะเห็นว่า อุปกรณ์ทั้งสามอย่างมีไฟล์เดียวกัน (จริงแล้วได้เยอะกว่าสามอย่าง ใน Android ก็มีนะครับ) เมื่อเวลาที่แก้ไขไฟล์ใดไฟล์นึง ไฟล์ทั้งหมดก็จะถูกแก้ไขตามไปด้วย เราไม่ต้องพกพาอุปกรณ์พกพาอย่างเช่น  Flash drive อีกต่อไป เพราะ google drive มีเนื้อที่เพียงพอให้ใช้งาน แต่..........




 

#เรื่องควรรู้ การ Upload file ที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ เวลาอัพโหลดไฟล์ จะใช้เวลานานด้วย ขึ้นอยู่กับความเร็วอินเตอร์เน็ตของท่าน 

ตัวอย่าง

ต้องการไฟล์วีดีโอขนาด 4GB อยู่ที่ทำงาน ไปไว้ที่ Google Drive ก่อนเลิกงาน เพื่อไปชมวีดีโอที่บ้าน หากก็อบวีดีโอไปวางที่ Google drive แล้วปิดเครื่อง โดยไม่รอให้ Google drive Sync ก่อน มันก็เหมือนกับก็อบไปวางไว้ที่โฟลเดอร์ Google Dirve ในเครื่องคุณเท่านั้น คุณกลับไปที่บ้านก็ไม่มีทางใช้งานไฟล์วีดีโอไฟล์นั้นได้ เพราะมันยังไม่ได้อัพโหลดนั่นเอง

google drive

สังเกตเมื่อตอน Sync จะเป็นตัวลูกศรหมุนๆ




 

ถ้าเป็นไฟล์จำพวกเอกสาร ก็ใช้เวลาในการ upload ไม่นานครับ

เตือน  เตือน เตือนอย่างยิ่ง การติดตั้ง Google Drive ควรติดตั้งในเครื่องส่วนตัวเท่านั้น ไม่ควรที่จะนำไปติดตั้งในเครื่องสาธารณะ อย่างเช่น เครื่องที่ใช้งานร่วมกันหลายคน เพราะเมื่อคุณไปติดตั้งในเครื่องสาธารณะแล้วไฟล์ก็จะกลายเป็นสาธารณะด้วย ข้อมูลของคุณก็จะโดนขโมย หรือโดนลบทั้งหมด

หากต้องการใช้งานในเครื่องสาธารณะควรที่จะใช้งานผ่านเว็บบราวเซอร์ (โปรแกรมที่ใช้ในการเปิดอินเตอร์เน็ตนั่นแหล่ะครับ ไม่ว่าจะเป็น google chrome, Internet explorer, Firefox) ให้ทำการ Download File ลงมาในเครื่อง หลังจากใช้งานเสร็จค่อยลบออกครับ หรือหากมีการแก้ไข เมื่อใช้งานเสร็จจึงอัพโหลดผ่านเว็บบราวเซอร์ครับ

 

ในด้านของความปลอดภัยใน google drive


แน่นอนครับว่าต้องมีคนวิตกในเรื่องของความปลอดภัยใน Google drive ว่ามีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไรไม่ให้ไฟล์เสียหาย นั่นก็คือ หากเป็นเครื่องส่วนตัวก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอกครับ จะมีปัญหาก็ตอนไป Login เครื่องสาธารณะ แล้วไปจำรหัสผ่านนั้นไว้ หากต้องการที่รักษาความปลอดภัยให้ปลอดภัยจริงๆควรใช้ วิธียืนยันแบบ 2 ขั้นตอน ครับ (ซึ่งผมเองก็ทำไม่เป็น แต่ได้หาวิธีทำมาให้แล้ว ตามลิงค์ support.google.com เพราะผมไม่ได้ไป Login ใช้งานเครื่องสาธารณะที่ไหน)

อ้างอิง https://support.google.com/drive/answer/141702?hl=th

การใช้ Google ไดรฟ์เป็นวิธีที่ดียิ่งในเก็บไฟล์ของคุณได้อย่างปลอดภัยในศูนย์ข้อมูลที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างดี ไฟล์ของคุณจึงจะไม่หายไป แม้ว่าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ตของคุณจะเสียหาย ไฟล์ที่คุณเก็บไว้ใน Google ไดรฟ์จะยังปลอดภัย

นี่คือเคล็ดลับบางอย่างที่คุณสามารถใช้เพื่อตรวจสอบว่าไฟล์ที่คุณเก็บไว้ Google ไดรฟ์ ปลอดภัยดี

ตรวจสอบว่าบัญชี Google ของคุณปลอดภัย
- หากคุณใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันและไม่ต้องการให้ผู้อื่นเข้าถึงบัญชี Google ของคุณ โปรดออกจากระบบบัญชี Google ของคุณทุกครั้งที่คุณใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเสร็จแล้ว
- ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะหรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมกัน คุณไม่ควรติดตั้ง Google ไดรฟ์สำหรับ Mac/คอมพิวเตอร์ของคุณ เพราะทุกคนที่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะสามารถเปิดและดูไฟล์ของคุณ
- เลือกการตั้งค่าการแชร์ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัว, ทุกคนที่มีลิงก์ หรือสาธารณะ สำหรับไฟล์ โฟลเดอร์ และ Google เอกสารของคุณ

 

การใช้งานไฟล์ร่วมกันและการส่งไฟล์ให้คนอื่น


นอกจากนี้ Google ยังสามารถส่งไฟล์ให้คนอื่นได้ใช้งานอีกด้วย ( share file ) และยังให้สิทธิคนอื่นในการใช้งานร่วมกันใน Google drive อีกด้วย วิธีการนี้ผมนิยมทำผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยการแชร์ลิงค์ให้เพื่อนเพื่อดาวน์โหลดไฟล์เอาครับ

สำหรับข้อดีในค่ำคืนนี้ผมเองก็คิดออกเท่านี้แหล่ะครับ แล้วจะมาใหม่อีกครั้งครับ

 

 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช