ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Microsoft Access 97 could not find file C:\windows\system32\system.mdw on windows 7

Microsoft Access 97 could not find file C:\windows\system32\system.mdw on windows 7


หากใครต้องการใช้ Microsoft Office 97 รุ่นเก่าก๋ากึก ท่านคงไม่อยากจะใช้ เพราะหน้าตาไม่ดีเหมือน Microsoft Office รุ่นใหม่ๆ แถมใช้งานยุ่งยากอีก แต่เหตุที่ต้องใช้คือตัวโปรแกรม Microsoft Access 97 เพราะความจำเป็นนั่นเอง

บางหน่วยงาน บางองค์กร ได้ซื้อ Software สำเร็จรูปมาใช้ และ Software นั้นยังใช้ดีจนไม่อยากจะเปลี่ยนระบบใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีแต่ละวันก็พัฒนาไปเรื่อย และบางฟีเจอร์ของระบบเก่าได้ปิดตัวลง และเมื่อเกิดปัญหากับ user ทำให้ไม่สามารถใช้ระบบเก่าได้นั่นเอง

[caption id="" align="alignnone" width="200"]ms access97 ms access97[/caption]

และนี่คือปัญหาที่ผมกำลังประสบพบ เพราะว่าองค์กรได้ใช้งานตัวโปรแกรม Microsoft Access 97 ในการพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และไม่สามารถใช้งาน MS Office Access เวอร์ชันอื่นๆในการเปิดใช้งานได้ และปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีระบบปฏิบัติการ Window 7 กันหมดแล้ว และแน่นอน คงไม่มีใครอยากกลับมาใช้ window xp ในฐานะผู้ดูแลคอมพิวเตอร์ประจำองค์กร

เอาล่ะ เกริ่นมานานพอสมควร สำหรับวิธีการแก้ไข ให้ ท่านจินตนาการตามเอานะครับ เนื่องจากผมทำการแก้ไขเสร็จแล้วรีบยกเครื่องคอมไปส่งต่อให้ผู้ใช้งานเลยไม่ได้ถ่ายภาพไว้

หลังจากที่คุณติดตั้ง Windows 7  และ MS Office 97 เรียบร้อยแล้ว เวลาที่คุณติดตั้ง MS Office 97 บน windows 7 จะมี Error ให้คุณกดปุ่ม Ignore ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด และติดตั้งเสร็จสิ้น

คุณติดตั้งเสร็จแล้วลองเปิดโปรแกรม MS Access 97 จะมีโลโกขึ้นมาและมีหน้าจอฟ้อง

Microsoft Access 97 could not find file C:\windows\system32\system.mdw

ความรู้สึกแรกๆ ของคุณ "งานเข้า" "ต้องไปลง window xp ใช่ไหม" "หรือจะลง window me ดี" เอาเป็นว่าผมคิดแบบนี้ครับ จากนั้นก่อนที่จะไปพึ่ง OS รุ่นเก่า จึงได้หาวิธีแก้ ก็เจอจนได้ รอดดดดดดดดด อ่าาาาาาาาาา

ผมจึงนำบทความนี้มาเขียนไว้กันลืมและท่านที่ประสบปัญหาเดียวกันครับ

Microsoft Access 97 could not find file C:\windows\system32\system.mdw

วิธีแก้

  1. ให้เข้าไปที่ C:\Windows\System32\ แล้วหาไฟล์ system.mdw จากนั้นให้สำรองไฟล์ไว้ก่อนด้วยการเปลี่ยนชื่อไฟล์นี้เป็น system.mdw.backup หากหาไม่เจอ ไม่มี ก็ปล่อยผ่านไปไม่ต้องทำอะไร (ของผมหาแล้วไม่มีครับ)

  2. ที่ Windows Search หรือค้นหา หรือจะเข้าที่ Run ก็ได้ ให้พิมพ์คำสั่ง wrkgadm.exe ลงไป กด  Enter

  3. จะมีหน้าจอขึ้นมา เขียนว่าอะไรผมก็จำไม่ได้นะครับ หากเป็นภาษาไทยให้กดปุ่ม "สร้าง" หากเป็นภาษาอังกฤษให้กดปุ่ม "create"

  4. คลิ๊กแล้วจะมีหน้าจอขึ้นมา ให้เราเปลี่ยนค่าบรรทัดสุดท่า "ชื่อองค์กร" หากเป็นภาษาอังกฤษ "workgroup ID"  ของผมเป็นค่าว่าง ผมใส่หมายเลข 1 ลงไปแล้วก็กด OK ๆๆๆๆๆ จนปิดหน้าจอ

  5. ลองเปิด MS Access 97 ดูครับ


[caption id="" align="alignnone" width="583"]MS Access 97 MS Access 97[/caption]

 

 

ที่มา : http://alanmacgregor.co.uk

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช