ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มต้นเขียนบทความด้วย Blogger

 ถ้าหากติดตามข่าวสารบ้านเมืองในตอนนี้ เหมือนจะมีประเด็นร้อนในเรื่องของการร้องศาลขอปิด Facebook ในประเทศไทย ก็ได้มาคิดว่า ถ้าหาก Facebook มีการปิดใช้งานในประเทศไทยจริงๆ เราจะไปใช้บริการที่ไหนต่อ Social media ไหนที่คนเข้าถึงเร็ว ผมเองก็คิดไม่ออก นั่งคิดไปคิดมา เอ้อ Blogger นี้ก็เป็น Socail media เหมือนกันนี่หว่า ผู้คนเข้ามาอ่านได้ เข้ามาคอมเม้นได้ 

หากใครที่ต้องการจะระบายหรือเขียนบทความอะไรสักอย่างลงเพื่อเผยแพร่ให้ผู้คนได้เข้ามาอ่านเข้ามาคอมเม้น Blogger ก็เป็นอีก 1 ทางเลือกครับ แต่อารมณ์จะไม่คล้าย Facebook เพราะ Blogger คือ Blog ที่ใช้เล่าเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็น และที่สำคัญ Blogger เป็นของ Google ที่ใช้งานได้ฟรี แต่การปรับแต่งจะไม่เท่าโปรแกรมที่เราต้องจ่ายรายเดือนรายปีอย่างเช่น Wordpress และถ้าหากลงมือด้วย Blogger จะปรับแต่งง่ายกว่าและติดค้นหาได้เร็วกว่าครับ

หากใครอยากจะเริ่มต้นใช้งาน Blogger ในปี 2013 ก็ไม่อยาก เพียงแค่มี Gmail ก็สามารถเริ่มใช้งานได้แล้ว โดยเข้าไปที่ลิงค์ www.blogger.com จากนั้นทำการ Signin ด้วย Gmail หรือจะกดที่ปุ่มสร้างบล็อกตรงกลางเลยก็ได้ครับ ระบบจะชี้ไปให้ลงชื่อเข้าใช้อยู่ดี



จากนั้นเข้าไปทำการสร้าง Blog ครับ ทำตามรูปภาพด้านล่างได้เลย

สร้างบล็อกใหม่กดสามเหลี่ยม



กดที่ปุ่มสร้างบล็อก

จากนั้นให้ทำการตั้งชื่อเว็บบล็อกของเรา โดยตั้งชื่อที่เราต้องการ ซึ่งอาจจะหาคีย์เวิร์ดดีๆ ไม่ต้องเป็นชื่อที่ยาวมาก ให้สื่อว่าเว็บของเราให้อ่านบทความเกี่ยวกับอะไรครับ แนะนำว่าชื่อเว็บบล็อกและชื่อลิงค์ควรจะเป็นชื่อเดียวกัน

ตั้งชื่อของเว็บบล็อก


ตั้งชื่อลิงค์ หากตั้งชื่อลิงค์ผ่านจะมีข้อความด้านล่างว่าลิงค์ใช้งานได้


หากลิงค์ใช้งานไม่ได้จะเป็นตัวแดงด้านล่างครับ

เมื่อสร้างบล็อกเสร็จแล้วให้เราทำการตั้งค่าเล็กๆน้อยๆ โดยเข้าที่เมนูด้านซ้ายมือ แล้วเลือกตั้งค่า



โดยให้เราใส่คำอธิบายว่า ชื่อเว็บบล็อกของเรา ชื่อะไร และต้องการกล่าวถึงอะไร


เลื่อนลงมาด้านล่าง ตั้งเวลาให้เรียบร้อย


เท่านี้เป็นอันเสร็จสิ้นครับ จากนั้นเริ่มทำการโพสบทความที่มีคุณภาพ ไม่ควรไปคัดลอกมาเต็มๆนะครับ หากผู้คนสนใจมาก เว็บบล็อกก็สามารถสร้างได้ให้เราด้วยครับ


โดยด้านในก็จะมีเครื่องไม้เครื่องมือให้เราใช้งานคล้ายกับไมโครซอฟต์ เวิร์ด ครับ


เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็ใส่ป้ายกำกับครับ ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร (หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ใส่จะมีประโยชน์กว่า)

จากนั้นเราสามารถดูตัวอย่าง และเผยแพร่ได้เลยครับ รอสัก 2 - 3 วันเพื่อให้ Google จัดทำดัชนีให้ครับ

ทีนี้ก็เสร็จแล้วครับ ถ้าหากเราโพสใน Blogger ไม่ควรโพสบ่อยครับ เพราะ Google จะมองเป็น Bot และทำการบล็อกเราได้ อย่างน้อยๆวันล่ะ 5 - 10 ก็ได้ หรือวันละโพสแบบผมก็ได้ครับ จบครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช