ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Linux mint 20 การตั้งเวลาให้ sync กับ Time server

 Linux mint 20 การตั้งเวลาให้ sync กับ Time server

การตั้งเวลาในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งสำคัญ หากเวลาไม่ตรงกับปัจจุบันจะทำให้เกิดปัญหาใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่ได้ ในบทความนี้จะกล่าวถึงการตั้งเวลาใน Linux mint 20 ให้ตรง โดยเราจะทำการเซ็ทเวลาให้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เพื่อให้นาฬิกาตรงเสมอ 

หลายคนมักจะเกิดปัญหาหากใช้งาน Linux แล้วถ่านไบออสหมด ต้องมาตั้งเวลาใหม่ทุกๆครั้งเมื่อเปิดเครื่อง การตั้งเวลาให้ Sync กับ Time server มักจะทำยากในเวอร์ชันของ Desktop ซึ่งบางทีหากเราใช้ในองค์กร อาจจะมีการบล็อกพอร์ตของ Time server ไว้คือ UDP 123

เกริ่นกันมาพอล่ะ ไม่มีทิศทาง เอาเป็นว่า ผมได้ทำ Print Server ขึ้นมาในองค์กรของผม โดยใช้ Linux mint เพราะต้องใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเก่า หากใช้ Windows 10 ทำเครื่อง server จะเกิดปัญหาแชร์เครื่องพิมพ์ไม่ได้ เนื่องจากติดระบบความปลอดภัยของ OS จึงใช้ Linux Mint นี่แหล่ะครับ ง่ายดี แต่ปัญหาคือ ต้องมาตั้งเวลาทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เพราะมันไม่สามารถ Sync Time server ที่เหล่าๆ Ubuntu ได้


เมื่อมันเชื่อมต่อกับ server ของ Ubuntu ไม่ได้ ก็จำเป็นต้องสอบถามไปยังผู้ดูแลระบบในเรื่องของ IP Time Server ขององค์กร ก็ได้ IP Address Time server มา

ด้วยความที่ว่าอ่านอังกฤษไม่เก่ง แปลก็ไม่ดี งมๆ ซาวๆ มันง่ายนิดเดียว

เรามาเริ่มตั้งเวลาในเครื่องให้ตรงกับอินเตอร์เน็ตดีกว่า

1. เปิด Command หรือเปิด Teminal ขึ้นมา (แล้วแต่จะเรียกครับ) หรือจะรีโมทจากเครื่องแมคเลยก็ได้ โดยคำสั่ง ssh user@ip-address-server ซึ่ง user หมายถึง ชื่อผู้ใช้งานในเครื่อง Linux  และ ip-address-server หมายถึง IP ของเครื่อง Server ครับ
 ให้ทำการ update และ upgrade Linux Mint ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อดูว่าเครื่องของเราออกอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่

                                    sudo apt-get update
                                    sudo apt-get upgrade

ผมใช้คำสั่งค่อนข้างเก่าหน่อยนะครับ เพราะเล่นลีนุกซ์ไม่เก่งสักเท่าไหร่
2. ทำการติดตั้ง NTP เข้าไป แค่นี้ก็เสร็จล่ะครับ (ง่ายไปไหม)

                                    sudo apt-get install ntp


3. ทำการคอนฟิกส์ หรือแก้ไขไฟล์ ntp.conf เพื่อให้ sync กับ time server

                                   sudo nano /ect/ntp.conf

4.  เลื่อนลงมายังตำแหน่งที่พิมพ์คำว่า pool 0.ubuntu.pool.ntp.org iburstให้ทำการนำเครื่องหมาย # ปิดด้านหน้าทั้งหมด เพื่อไม่ต้องใช้คำสั่งให้เชื่อมต่อไปยังที่ pool ของ ubuntu ครับ


 จากนั้นให้เพิ่ม IP Address ของ Time server ที่ได้มา ที่ด้านบนเลยครับ ตัวอย่าง

                            pool 202.28.50.25 iburst


จากนั้นกด Command + X เพื่อทำการ save file ครับ 
5. ทำการ restart service ด้วยคำสั่ง

                    sudo service ntp restart

แล้วก็รอสักพักเวลาก็จะ sync กับ time server ให้ครับ
เท่านี้เป็นอันจบสิ้น
งมตั้งนาน

ผมมีรายชื่อ Pool ที่ใช้งานตอนนี้มาให้ด้วยครับ ถ้าอันใดใช้ไม่ได้ก็ลองอันใหม่ไปเรื่อยๆ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับผม

Name: ntp.ku.ac.th Address: 158.108.212.149
Name: fw.eng.ku.ac.th Address: 158.108.32.17
Name: ilm.live.rmutt.ac.th Address: 203.158.118.3
Name: time.uni.net.th Address: 202.28.18.72
Name: itoml.live.rmutt.ac.th Address: 203.158.111.32 Address: 158.108.7.157 Address: 158.108.2.100

อันนี้เป็นรายชื่อ Server ที่รู้จัก แต่ไม่ได้อยู่ใน Pool
Name: delta.cpe.ku.ac.th Address: 158.108.32.3
Name: time.navy.mi.th Address: 118.175.67.83
Name: clock.nectec.or.th Address: 202.44.204.114
Name: time1.nimt.or.th Address: 203.185.69.60
Name: time2.nimt.or.th Address: 203.185.69.59
Name: time3.nimt.or.th Address: 203.185.69.56

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...