ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งาน Google map ร่วมกับแผนที่ของ Yamaha XMAX Conected 2023

 การใช้งาน Google map ร่วมกับแผนที่ของ Yamaha XMAX 300 Conected 2023

เป็นปัญหาไม่น้อยสำหรับผู้ที่ใช้แผนที่ในรถมอเตอร์ไซค์ Yamaha XMAX 300 Connected 2023 ที่เพิ่งเปิดตัวเปิดขายเมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มักจะหาตำแหน่งในแผนที่ที่ต้องการไม่เจอ บางที Garmin Street Cross ที่ให้มากับ Yamaha XMAX Connected มันอาจจะยังไม่ดีพอ เลยทำให้ผู้ใช้หลายคนต้องหันมาใช้จอโทรศัพท์ โดยใช้ Google map นำทางเช่นเดิม แม้แต่ผมซึ่งบางทีก็อยากจะใช้ Google map ในมือถือเช่นกัน
ด้วยความเสียดายฟังก์ชันที่ได้มา และบางทีเอามือถือมาเปิด Google map เป็นเวลานาน อาจจะทำให้กล้องพัง เพราะรถมีการสั่นสะเทือนตลอด ทำให้ตัวกันสั่นในมือถือทำงานตลอดเวลาและพังไปในที่สุด

จากที่ได้ลองขับทางไกล โดยใช้ที่จับมือถือ เปรียบเทียบกับแผนที่ Garmin street cross ของ Yamaha XMAX Connected ผลสรุปที่ได้คือ แผนที่ในรถมอเตอร์ไซค์อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่า และแผนที่นั้นจะมีพยากรณ์อากาศอยู่มุมขวา

ซึ่งเวลาขับรถทำให้เรารู้ได้ว่าจะมีฝนหรือไม่ อันนี้เป็นความคิดว่ามันสะดวกครับ และการวิ่งในเมืองค่อนข้างที่จะใช้งานดีกว่านอกเมือง โดยเฉพาะใน กทม. และปริมณฑล ต่างจังหวัดก็พอได้

ดังนั้นข้อเสียของ Garmin Street Cross ใน Yamaha XMAX Connected ที่เจอนั้น อย่างแรกคือ มักจะหาจุดหมายไม่เจอ อย่างที่สองคือหาตำแหน่งเจอ แต่คำนวนอ้อมไป นั่นเพราะว่าตำแหน่งที่หาเจอ มันไม่ได้อยู่บนถนน มันเลยทำให้การคำนวนผิดพลาดไป

การที่เราจะนำ Google Map มาใช้ร่วมกับแผนที่ของ Yamaha XMAX Connected 2023 นั้นทำได้แค่เพียงปักหมุดสถานที่ที่เราต้องการเดินทางไปใน App Google Map หรือจะเป็น Longdo Map หรืออื่นๆก็ได้ แต่แนะนำให้กดปักหมุดลงบนถนน ไม่ใช่ตำแหน่งที่อยู่ในบ้าน ไม่งั้นนำทางเพี้ยน (ใช้ Google Map ง่ายกว่าเยอะ) แล้วคัดลอกพิกัด ละติจูด ลองจิจูด มาใส่ใน App Garmin Street Cross แล้วกดคำนวนเส้นทาง โดยการเดินทางให้ดูเส้นทางเปรียบเทียบระหว่าง Google Map และ Garmin Steet Cross หรือไม่ หากเหมือนกัน ใช้ Garmin Street Cross ในหน้าจอได้เลย

เปิด App Google map ค้นหาสถานที่ จากรูปภาพด้านล่างจะเห็นว่า ผาชะนะได ไม่มีถนนเข้าไปครับ ให้เราจิ้มพิกัดบนถนนเพื่อปักหมุด 

แล้วทำการคัดลอกพิกัดตำแหน่งสถานที่ที่ปักหมุด


นำพิกัดไปวางไว้ใน App Garmin street cross และลบวงเล็บหน้าหลังออกด้วย




จากนั้นกดค้นหา แล้วเราจะได้สถานที่มา หากเปรียบเทียบกับ Google map แล้ว ก็ค้นหาเส้นทางดังกล่าวให้เช่นกันครับ ถ้าหากเรารู้จักเส้นทางการเดินทางอยู่แล้ว ให้ไปตามที่เส้นทางที่ตนเองคุ้นเคยจะดีกว่า แอพจะคำนวนเส้นทางให้อัตโนมัติครับ


ขอให้โชคดีในการเดินทางครับ










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...