ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีการตรวจสอบสเปคเครื่อง windows 10 เพื่อ Upgrade ไปเป็น Windows 11 อย่างง่ายๆ

 วิธีการตรวจสอบสเปคเครื่อง  windows 10 เพื่อ Upgrade ไปเป็น Windows 11 อย่างง่ายๆ


มาช้า แต่มานะครับ หากเราใช้ OS ที่เป็น Windows 10 แล้วอยากจะ Upgrade ไปเป็น Windows 11  ยังไง ถ้าหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ เพิ่งซื้อใหม่ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ไม่มีจะไม่ค่อยมีปัญหาในการ Upgrade Windows สักเท่าไหร่นัก เพราะสเปคเครื่องส่วนใหญ่รองรับอยู่แล้ว แต่หากเป็นเครื่องที่เก่าลงไปอีกล่ะ จะทำได้ไหม เช่น CPU Intel Core i ทุกรุ่นประมาณ Gen 2 (ที่มีตัวเลข 2 นำหน้า) จะติดตั้ง Windows 11 ไม่ได้ เพราะ CPU ไม่รองรับ ถึงแม้เราจะอัพเกรด RAM และ SSD มาแล้วก็ตาม

เกริ่นๆ เกี่ยวกับ Hardware ที่ Windows 11 ต้องการก็จะประมาณนี้
1. CPU ความเร็วไม่ต่ำกว่า 1 GHz รองรับ 64 บิท
2. RAM 4 GB เป็นอย่างน้อย
3. Direct X 12 หรือมากกว่า อันนี้เราไม่ค่อยรู้หรอกว่ามันอยู่ที่ไหน แต่จะฝังมาใน CPU ที่มีการ์ดจอในตัว หรือหากเราติดตั้งการ์ดจอรุ่นใหม่ๆ
4. BIOS ที่รองรับการ Boot แบบ UEFI

ใน 4 ข้อข้างต้น โดยเฉพาะข้อที่ 4 หาก Bios ตั้ง Boot แบบ UEFI ไม่ได้ ไม่ต้องหาข้อมูลต่อเลยครับ ไปต่อไม่ได้แล้ว 

เอาล่ะ เพื่อความชัวร์ และเครื่องคุณใช้ Windows 10 อยู่ และอยากรู้ว่าเครื่องของคุณติดตั้ง Windows 11 ได้หรือไม่ 
อย่างแรกคือให้ Download APP ที่ชื่อว่า PC Health Check app มาติดตั้งในเครื่องก่อนเลยครับ หากหาโหลดไม่ได้ จิ้มลิงค์นี้ได้เลย https://www.microsoft.com/th-th/windows/windows-11#pchealthcheck แล้วเลื่อนไปตรงรูปหัวใจ


จะได้ไฟล์ WindowsPCHealthCheckSetup.msi มาให้ทำการติดตั้งภายในเครื่องนะครับ หลังจากที่ติดตั้งเสร็จแล้วให้เปิดแอพ  PC Health Check  ขึ้นมา แล้วให้กดปุ่ม Check now แล้วรอสักพักครับ ระบบจะทำการรายงานผลให้ทราบ

หลังจากที่ระบบทำการเช็คเสร็จแล้ว หากเครื่องคอมพิวเตอร์คุณสามารถอัพเกรดได้ ระบบจะแสดงเป็นสีเขียวทั้งหมด ดังภาพด้านล่าง นั่นหมายถึงว่า เครื่องคุณไปต่อได้ สามารถติดตั้ง Windows 11 ได้โดยไม่มีปัญหาครับ

แต่หากมีสีแดงสีเหลืองปนมา ดังภาพด้านล่าง ก็หมายถึงว่ามีฮาร์ดแวร์บางตัวที่ไม่รองรับ(สีแดง) หรือรองรับแต่จะมีปัญหาสักเล็กน้อยในการใช้งาน(สีเหลือง) ก็เอาเป็นว่าอย่าฝืนดีกว่าครับ

ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช