ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตภายในบ้าน Speed Test

 การตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตภายในบ้าน Speed Test ว่ามีความเร็วมากน้อยเท่าไหร่ 

ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้วเรียบร้อย(คาดว่านะครับ) เพราะไม่ว่าที่บ้านใดก็มีการติดตั้งอินเตอร์เน็ตภายในบ้านไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิลหรือใช้เน็ตซิมและโปรโมชันต่างๆแต่ละค่ายให้ให้มา ซึ่งจะเป็นความเร็วของอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก แต่เราจะทราบได้หรือไม่ว่าแพ็คเกจที่เราใช้นั้นทางผู้ให้บริการได้ปล่อยสัญญาณมาเต็มหรือไม่ ดังนั้นหากเราใช้งานธรรมดาจะไม่ได้รู้สึกอะไร แต่หากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าอินเตอร์เน็ตที่ใช้งานอยู่นั้นช้า ดู youtube กระตุก เลื่อน Feed Facebook ไม่ไหลลื่น เข้าเว็บช้า สิ่งแรกที่ต้องสงสัยก่อนเลยคือ อินเตอร์เน็ตเราช้าหรือไม่

ดังนั้น จึงมีวิธีการตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายคือการใช้ Speed Test เพื่อตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตอย่างเช่น
  1. Fast เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตที่มาจาก Netflix โดยตรง เพียงแค่เปิดเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ระบบก็จะทำการตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตให้เลยทันที เราสามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตได้ที่ : https://fast.com/th/ 

  2. Ookla เว็บไซต์ทดสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตจาก Ookla ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับทดสอบที่ได้รับการยอมรับและนิยมใช้งานเป็นอย่างมากจากทั่วโลก เราสามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตได้ที่ : https://www.speedtest.net/

  3. nPerf เป็นเว็บไซต์จากทางฝรั่งเศส แต่ภายในเว็บไซต์ก็รองรับการใช้งานภาษาไทยด้วย สามารถตรวจสอบและวัดความเร็วอินเทอร์เน็ตได้อย่างแม่นยำ มีการแสดงค่าต่างๆ ออกมาได้อย่างละเอียด เราสามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตได้ที่ : https://www.nperf.com/th/  เมื่อกดเข้าไปแล้วหน้าต่าง Web Browser จะแจ้งเตือนขอสิทธิ์เข้าถึงสถานที่(Know your location) ให้เรากดอนุญาต หรือ Allow ครับ

  4. True Internet Speedtest เว็บไซต์เช็คความเร็วเน็ตจาก TRUE ซึ่งมีความละเอียดในการแสดงค่าต่างๆ ค่อนข้างมากพอสมควร หากใครใช้อินเตอร์เน็ตบ้านของ TRUE ก็ให้ใช้ตัวนี้จะค่อนข้างชัวร์ เราสามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตได้ที่ : https://speedtest.trueinternet.co.th/ เมื่อกดเข้าไปแล้วหน้าต่าง Web Browser จะแจ้งเตือนขอสิทธิ์เข้าถึงสถานที่(Know your location) ให้เรากดอนุญาต หรือ Allow ครับ

  5. TOT Speedtest ใช้งานได้อย่างง่ายดาย แบ่งค่าต่างๆ ออกมาเป็นลักษณะของมาตรวัดที่ชัดเจน ทั้ง Download, Upload, Ping และ Jitter เราสามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตได้ที่ : http://speedtest1.totbroadband.com:8080/ เมื่อเข้าไปแล้ว กด "เริ่ม" ได้เลยครับ

  6. 3BB Speedtest เป็นของผู้ให้บริการอย่าง 3BB ที่สามารถตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เพียงแค่ไปที่เว็บ 3BB Speedtest แล้วจากนั้นกด Start เพื่อเริ่มการตรวจสอบ ระบบก็จะประมวลผลสักครู่แล้วแสดงค่าต่างๆ ออกมา โดยจะเป็นในลักษณะที่สามรถดูได้ง่าย เช่นเดียวกับของ TOT เราสามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตได้ที่ : https://speedtest.3bb.co.th/ 




การตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต ถ้าหากทำได้ ก็ต้องตรวจสอบหลายๆอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ เพื่อให้ผลการตรวจสอบตรงกันที่สุด เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ในการใช้ Speed Test โดยผ่านสายแลน, ใช้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนโดยผ่าน WiFi ถ้าใช้ Speed Test แล้วมีค่าใกล้เคียงกัน สามารถดูค่าที่ได้จากการ Test ต่างๆ คือ
  1. ค่า Download และ Upload คือความเร็วในการ Download และ Upload ข้อมูล มีค่าใกล้เคียงกับผู้ให้บริการหรือไม่
  2. ค่า Ping  เป็นค่าที่บอกเกี่ยวกับความเร็วในการตอบสนอง ระหว่างการรับ – ส่งข้อมูลจากเซิฟเวอร์ ยิ่งตัวเลข Ping เยอะ การตอบสนองกับเซิฟเวอร์ก็จะช้าลงไป ดังนั้น ถ้าค่า Ping น้อย ก็หมายถึงมีความเร็วในการตอบสนองที่รวดเร็วนั่นเอง Ping มีหน่วยวัดเป็น ms หรือ msec หรือ Milliseconds
ดังนั้นหากค่า Ping เยอะ ส่วนใหญ่อัตราการ Download และ Upload ก็จะช้าไปด้วย เนื่องจากใช้เวลาในการตอบสนองค่อนข้างนาน เราสามารถแจ้งผู้ให้บริการเครือข่ายเข้าตรวจสอบได้เลยครับ
อนึ่ง หากค่า Download และ Upload มีค่าบวกลบไม่มากจากโปรโมชันที่ใช้ เช่น เราใช้อินเตอร์เน็ตความเร็ว 1GB แต่เน็ตมา 800MB ถ้ารู้สึกว่าอินเตอร์เน็ตเร็วอยู่แล้วก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ เพราะบางทีสถานที่ของเราอาจจะอยู่ไกลโหนด หรือตู้ให้บริการสักเล็กน้อยเลยทำให้ความเร็วดรอบลงไปครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...