ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

BitLocker คืออะไร

 เทคโนโลยีทุกวันนี้ไปเร็วมาก ช่างคอมอายุที่เริ่มเยอะขึ้นเริ่มจะตามไม่ทัน เจอปัญหาในเรื่องของ BitLocker เข้ารหัสไว้แล้ว App BitLocker ใน Windows 11 ก็ดันมาพังอีก

จากการค้นหาปัญหาและการแก้ไข ความสำคัญของข้อมูลภายในเครื่องของผู้ใช้งานเป็นสิ่งสำคัญ โชคดีที่ผู้ใช้งานไม่รู้ไปทำท่าไหน BitLocker ส่งรหัสข้อมูลเข้าไปใน Email Account Microsoft ของผู้ใช้ก่อนอยู่แล้ว จึงได้ข้อมูลออกมา แม้จะได้ไม่หมด แต่ก็มากเพียงพอที่จะทำให้เจ้าของข้อมูลนั้นไม่เสียใจมาก



เอาล่ะ ผมได้มาค้นหาว่า BitLocker มันคืออะไร

BitLocker เป็นคุณลักษณะการเข้ารหัสข้อมูลในดิสก์ของ Windows ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลโดยจัดให้มีการเข้ารหัสสำหรับไดร์ฟข้อมูลทั้งหมด กล่าวคือ BitLocker มีหน้าที่จัดการกับภัยคุกคามของการโจรกรรมข้อมูลหรือการเปิดเผยข้อมูลเมื่ออุปกรณ์ถูกขโมย สูญหาย หรือเลิกใช้งานแต่ไม่ได้ format

BitLocker ให้การป้องกันสูงสุดเมื่อใช้กับ Trush Platform Module (TPM) เป็นส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์ นั่นก็คือ TPM ถูกฝังมาแล้วในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ เราต้องไปทำการตั้งค่าใน Bios ที่เมนู Security ครับ ส่วน TPM คืออะไรนั้นผมเองยังไม่ได้หาข้อมูล ไว้หาข้อมูลได้จะนำมาเขียนครับ โดยเจ้า TPM นี้จะทำงานร่วมกับ BitLocker เพื่อปกป้องข้อมูลไม่ให้แก้ไขข้อมูลได้ในขณะที่ออฟไลน์ หรือไม่ได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

หากเมนบอร์ดที่ใช้ ไม่มี TPM ก็ยังคงใช้งาน BitLocker ได้ การใช้งานนี้กำหนดให้ผู้ใช้เสียบคีย์การเริ่มต้นระบบ USB เพื่อเริ่มอุปกรณ์หรือออกจากโหมดไฮเบอร์เนต รหัสผ่านโวลุ่มระบบปฏิบัติการสามารถใช้เพื่อป้องกันไดร์ฟระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ ที่ไม่มี TPM  (อ่านแล้วก็ งง เล็กน้อย)

เอาล่ะ ผมจะไม่กล่าวรายละเอียดที่มากไปกว่านี้ เนื่องจาก BitLocker มันค่อนข้างที่จะซับซ้อน เอาเป็นว่า มันดีอยู่ครับแต่ถ้าลืมรหัส หรือไม่ได้ส่งรหัสไปที่ Microsoft Account นั่นคือ บอกเลยว่า "ซวย" เพราะการทำงานปกป้องข้อมูลของมันดีซะจนไม่ต่างจากไวรัสเรียกค่าไถ่เลยหากเราลืมพาสเวิร์ด


เรามาตรวจสอบกันว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราติด BitLocker หรือไม่ เมื่อเปิดเข้า Windows ปุ๊บ ถ้าเกิดภาพดังด้านบนนั้น แสดงว่าเราติด BitLocker แน่นอนครับ ไม่ต้องตรวจสอบต่อแล้ว แต่หากอยากทราบว่า เราเปิด BitLocker ไว้กี่ไดร์ฟ ก็กดไปตามขั้นตอนครับเพื่อที่จะเข้า Command Prompt ให้ได้


โดยกด Esc เพื่อเข้า Recovery BitLocker และ จะไปหน้าจอฟ้าอีกจอ ให้กดเลือก Skip this drive ด้านล่าง



 จากนั้นจะเข้าสู่โหมดของ Windows ให้เลือก Troubleshoot 


เลือก Advance Options 


แล้วก็เลือก Command Prompt เพื่อเปิด Command Prompt

ให้เราใส่คำสั่ง manage-bde -status จะปรากฎข้อความด้านล่าง


ในช่องที่ 1 จะบอกไดร์ฟของเราว่าเครื่องมีไดร์ฟอะไรบ้าง
ในช่องที่ 2 จะบอกสถานะของเราว่าล็อกหรือไม่ล็อก จะมีอยู่ 2 สถานะคือ Locked = ล็อก และ Unlocker = ปลดล็อก ครับ

วิธีการแก้ไข BitLocker จะกระทำได้เมื่อมีคีย์ ไม่ว่าจะเป็น USB หรือคีย์ถูกส่งไปที่ Microsoft Account (ซึ่งจะมีวิธีการทำอยู่ใน Control panel หรือ setting ของ windows) ถ้าหากไม่มีคีย์แล้วล่ะก็ไม่ต่างอะไรจากไวรัสเรียกค่าไถ่ครับ เราจะไม่ได้ข้อมูลนั้นคืนมา

หากให้ผมแนะนำก็ควรเก็บไฟล์ไว้ที่ Cloud Storage เช่น Google drive หรือ One drive หรือ iCloud ดีกว่าครับ เพราะความเสี่ยงต่อข้อมูลหายก็น้อยลง และเราไม่ต้องมาเสี่ยงกับว่า BitLocker จะล็อกเมื่อไหร่ เพราะการเอาข้อมูลคืนจาก BitLocker ส่วนตัวมองว่าถ้ามีคีย์แล้วก็ค่อนข้างยาก ถ้าไม่มีคีย์ก็คือข้อมูลจบเลยครับ

ที่มา : https://learn.microsoft.com/en-us/windows/security/operating-system-security/data-protection/bitlocker/bitlocker-countermeasures , 


https://mistercheckman.com/bitlocker-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%A1-password-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%84/ , 


https://adamtheautomator.com/how-to-bypass-bitlocker/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช