ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

13. เปลี่ยนฉากของคลิปด้วยทรานสิชัน

การใช้ทรานสิชั่น(Transition) ในการเปลี่ยนฉาก เป็นเทคนิคพิเศษที่เราเห็นกันบ่อยๆ ทางโทรทัศน์และภาพยนต์ เพื่อให้การเปลี่ยนฉากมีความต่อเนื่องไม่ขาดตอน ยิ่งกว่านั้นในกรณีที่ต้องเปลี่ยนฉากเป็นอีกความรู้สึกหนึ่งทรานสิชัน ก็อาจช่วยให้คนดูปรับอารมณ์ให้เข้ากับภาพยนต์ได้

การเปลี่ยนฉากด้วยทรานสิชัน
1. ทรานสิชัน (Transition) เป็นการเปลี่ยนฉากจากคลิปวีดีโอหนึ่งไปยังคลิปวีดีโอหนึ่ง เพื่อนำเสนอเรื่องราวของภาพยนต์ในลำดับถัดไป
2. ทรานสิชัน เป็นการเปลี่ยนฉากคลิปวีดีโอโดยการรักษาอารมณ์ที่ต่อเนื่อง
3. ลักษณะของทรานสิชันที่พบเห็นได้บ่อยใกนภาพยนต์นั้นก็คือ “การตัดภาพ” (การจบด้วยฉากสุดท้ายของคลิปแล้วเปลี่ยนเป็นฉากแรกของคลิปวีดีโอโดยทันที) แสดงให้เห็นดังตัวอย่างต่อไปนี้

จากรูปจะเห็นได้ว่าเราทำการเปลี่ยนฉากแบบ Cross Dissolve ซึ่งเป็นลักษณะการเปลี่ยนฉากคลิปที่คลิกแรกค่อยๆ จางไปแล้วคลิปใหม่ค่อยๆปรากฏขึ้นมา
การใช้งานทรานสิชั่นจะทำได้โดยการลาก ทรานสิชั่นที่เราต้องการมาใส่บนรอยต่อระหว่างคลิป (ดังในรูป) จะสังเกตได้ว่า เมื่อเราลาก Transition มาไว้ที่จุดของรอยต่อคลิปแล้ว คลิปจะเปลี่ยนเป็นสีทึบ ดังรูป

คำสั่งที่ใช้งานในทรานสิชั่นนั้นจะอยู่ในพาเนล Effect โดยมีทรานสิชั่นอยู่ 2 รูปแบบ คือ Video Transition, Audio Transition


การปรับแต่ง ทรานสิชั่น อย่างง่าย
หลังจากที่เราเชื่อมฉากด้วยทรานสิชั่น เราสามารถตั้งค่าต่างๆ โดยให้ทรานสิชั่นมีความยาวที่สั้นลงหรือยาวขึ้นก็ได้ คือการเปลี่ยนฉากให้เร็วขึ้น หรือช้าลงนั่นเอง

จากรูปด้านบน ให้เรานำเมาท์ไปคลิ๊กที่คลิปทรานสิชั่น (สีแดง) แล้วให้นำเมาท์ไปวางที่ด้านข้าง(สีน้ำเงิน) สังเกตว่าไอคอนรูปเมาท์จะเปลี่ยนไป ให้เราทำการคลิ๊กลากไปด้านซ้ายหรือด้านขวาก็ได้ จะสังเกตเห็นได้ว่าคลิปทรานสิชั่นของเราจะมีการยืดหรือหดตามการลากเมาท์ของเรา


แสดงการยืดทรานสิชัน


แสดงการลดทรานสิชัน


การลบทรานสิชั่น
หากเราไม่ต้องการใช้ทรานสิชันอีก หรือต้องการเปลี่ยนไปใช้ทรานสิชั่นอื่น ให้ลบทรานสิชั่นที่เราใช้ทำงานปัจจุบันได้ โดยทำการคลิ๊กที่ทรานสิชั่นที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด





หน้าถัดไป : 14. ตัดต่อทำงานกับเสียง

ก่อนหน้า : 12. การสร้างไตเติล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...