ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

12. การสร้างไตเติล

ไตเติ้ล (Title) เป็นตัวอักษรที่ใช้ประกอบในภาพยนต์ เพื่อสื่อถึงรายละเอียดของภาพยนต์นั้นๆ เช่น ชื่อเรื่อง ผู้สร้าง นักแสดง เป็นต้น
ไตเติลเป็นเหมือนคลิปวีดีโอคลิปหนึ่ง ซึ่งเมื่อการสร้างไตเติลขึ้นมาแล้วการใช้งานจะคล้ายกันกับการใช้งานคลิปวีดีโอ

สร้างไตเติลตัวอักษรและภาพกราฟิก
เราสามารถสร้างไตเติลได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ข้อความยาว หรือแม้กระทั่งภาพกราฟิกทรงเรขาคณิตต่างๆ และภาพกราฟฟิกใดๆ ที่เรากำหนดเอง โดยที่เราสามารถนำรูปแบบการสร้างเหล้านี้ไปใช้ร่วมกับคลิปนั้น

การสร้างไตเติลในรูปแบบตัวอักษร
การสร้างตัวอักษรเป็นเรื่องพื้นฐานของไตเติลที่เราต้องศึกษาให้เป็นก่อน โดยเราสามารถสร้างตัวอักษรในรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้

เข้าสู่การสร้าง ไตเติล
ไตเติลในโปรแกรม Premiere Pro นั้นเป็นคลิปหนึ่งๆ ที่นำเข้ามาใช้งานร่วมกับการตัดต่อ สามารถทำได้ดังนี้
ในพาเนล Project ให้เราคลิ๊กที่ปุ่ม



ทำการตั้งชื่อ ไตเติล ที่เราต้องการ

จะปรากฏหน้าต่างสำหรับสร้างไตเติลขึ้นมา

แนะนำพื้นที่ในการทำงานของ ไตเติล
กลุ่มเครื่องมือในการเลือกรรูปแบบข้อความ โดยเราสามารถเลือกรูปแบบของข้อความที่เราจะใส่เข้าไป โดยจะมีตัวอย่างดังนี้



ใช้สำหรับสร้างข้อความที่ต้องการ



ใช้สำหรับสร้างข้อความในแนวตั้ง



ใช้สำหรับสร้างข้อความในแนวแนวหลายบรรทัด




ใช้สำหรับสร้างข้อความในแนวตั้งหลายบรรทัด



ใช้สำหรับสร้างข้อความตามเส้น Path



ใช้สำหรับสร้างข้อความตามเส้น Path ในแนวตั้ง



กลุ่มเครื่องมือสร้างไตเติล
ใช้สำหรับสร้างวัตถุต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี ข้อความในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
การใช้งานกลุ่มเครื่องสร้างไตเติล ต้องอาศัยการฝึกใช้งานเป็นประจำจึงจะทำได้คล่อง เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้งานยาก สำหรับคนที่ไม่เคยใช้

ตัวอย่างการใช้งาน Pen Tool



กลุ่มคำสั่งในการจัดเรียงไตเติล
เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใข้ในการจัดเรียงข้อความไตเติลให้เป็นระเบียบ ซึ่งคล้ายๆ การจัดคำของไมโครซอฟท์เวิร์ด เช่น เรียงชิดซ้าย เรียงชิดขวา จัดวางกึ่งกลางเป็นต้น



กลุ่มเครื่องมือสร้าง Style ใช้สำหรับสร้างรูปแบบของตัวอักษรต่างๆ เพื่อใช้เป็นต้นแบบและสามารถบันทึกเก็บไว้ได้

ตัวอย่างการใช้งาน Style



กลุ่มคำสั่งกำหนดคุณสมบัติของไตเติล
ใช้กำหนดตำแหน่ง หรือพิกัดของวัตถุ การกำหนดความกว้างของฟอนต์ การกำหนดสีของรูปทรง การเปลี่ยนฟอนต์ของข้อความ การสร้างเงา เป็นต้น






หน้าถัดไป : 13. เปลี่ยนฉากของคลิปด้วยทรานสิชัน

ก่อนหน้า : 11 การใช้งาน Slide Tool ในโปรแกรม Adobe Premiere Pro

ความคิดเห็น

chubbypenguin กล่าวว่า
ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ เขียนละเอียดมากเลย><

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...