ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หาเพื่อนใน facebook ไม่เจอ

ผมมีทริคเล็กๆมาเล่าสู่กันฟังครับ สำหรับคนที่เล่นเฟคบุ๊คเป็นประจำ เห็นหน้าเพื่อนในเฟคบุ๊คทุกวันๆ แล้วอยู่ดีๆ เพื่อนกับหายไปซะอย่างนั้น (คิดแล้วน่าน้อยใจเพราะโดนทิ้งหมดเลย) แต่พอไปถามเพื่อนเขาจะบอกเราว่า ไม่ได้บล็อกและไม่ได้ลบ (แล้ว "เอ๊ะ เฟคบุ๊คของเราเป็นอะไรหว่า???") คำตอบนี้ ผมก็มีทางแก้เล็กๆน้อยเช่นกันครับ

1. เนื่องจากเฟคบุ๊คจะเป็นโซเซียลเน็ตเวิร์ก สามารถทำงานได้ โดยไม่ต้องโหลดหน้าใหม่หลายๆ หากเพื่อนคุณหายไปให้ทำการรีเฟรซหน้าจอเพื่อโหลดเฟคบุ๊คใหม่

วิธีแก้ข้อที่ 1 แน่นอนครับ วิธีนี้ลองดูแล้วจะรู้ ให้เปิดหน้าเฟคบุ๊ค แล้วกดปุ่ม F5 ได้เลยครับ มันจะเป็นการรีโหลดหน้าใหม่ หรือใครถนัดเมาท์ก็ให้คลิ๊กขวา แล้วเลือก Refresh หรือ Reload (แล้วแต่รุ่นของบราวซ์เซอร์ครับ) หากทำแล้วเพื่อนยังไม่มา ตามลงไปข้อ 2 เลยครับ

2. เป็นคำตอบที่ง่ายแสนจะง่ายครับ "เน็ตหลุด" คิดว่าหลายคนคงจะเจอบ่อยกันมากครับ ฟังวิทยุทางอินเตอร์เน็ตก็ไหลลื่น แต่เข้าเว็บอื่นๆ รู้สึกถึงความช้าอืดอาด ยากแสนจะยาก (ทั้งๆ ที่เน็ตเราตั้ง 6 เมก) อาการนี้บอกได้เลยครับว่าอินเตอร์เน็ตคุณจ้องจะหลุดแน่ๆ

วิธีแก้ของข้อที่ 2 ครับ คือ ตรวจเช็คสัญญาณอินเตอร์เน็ตของคุณที่โมเด็มครับ ให้สังเกตดู ตรงช่องคำว่า ADSL มันกระพริบอย่างเป็นจังหวะช้าๆหรือไม่ หากว่ามีการกระพริบอย่างเป็นจังหวะช้าๆ ตอบได้เลยว่าอินเตอร์เน็ตคุณหลุด ดังนั้นคุณต้องรอครับ รอจนกว่าสัญญาณจะมา หากรอนานเกินไป หรือรอเป็นวัน ให้ติดต่อเจ้าของ ISP ผู้ให้บริการได้เลยครับ (ISP คือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่คุณใช้ เช่น TOT, 3BB, True ฯลฯ)
หากสัญญาณตรง ADSL ติดตลอด ก็ตามแก้ปัญหาตามข้อที่ 3 ได้เลยครับ

3. ข้อนี้ก็น่าดูชมได้เช่นกัน ลองที่บ้านหรือที่ทำงานของคุณมีเครื่องใช้มากกว่าสองเครื่องสิครับ โดยอาการที่คล้ายๆกับอินเตอร์เน็ตมันหลุด แต่ไม่ได้หลุด แต่กลับกลายเป็นเราท์เตอร์มือบอนไปตั้งชื่อไอพีแอดเดรสให้มันชนกัน หรืออาจจะเกิดมาจากเราท์เตอร์ของคุณมันเริ่มรวน จนไม่สามารถแจกไอพีแอดเดรสได้ อาการนี้อย่าว่าแต่เพื่อนคุณหายเลยครับ อินเตอร์เน็ตของคุณก็พลอยหายไปด้วย

วิธีการแก้ของข้อที่ 3 ครับ ง่ายนิดเดียว ปิดโมเด็มไว้สัก 1 นาที แล้วทำการเปิดใหม่ครับ หรือไม่ก็ดึงปลั๊กโมเต็มออก 1 นาที แล้วค่อยเสียบใหม่ (ง่ายจริงๆ) หากยังไม่ได้อีก ให้ตรวจเซ็คสายแลนเครื่องเราด้วยครับ ให้ถอดแล้วเสียบใหม่ให้แน่นๆครับ (ทั้งฝั่งเครื่องและโมเด็ม)
อ๊ะ ใครที่ทำตามข้อสามแล้วเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ไปเว็บต่างๆได้ ปัญหาตอนนี้มาที่เครื่องของเราแล้วล่ะครับ ทำตามข้อที่ 4 ได้เลย ส่วนใครที่เสร็จแต่ข้อสาม ก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

4 ทำไปสามขั้นตอนแล้วเพื่อนยังไม่ยอมกลับมา มันต้องใช้ไม้แข็งด้วยการลบ Browser History ครับ (คือ การลบประวัติเข้าใช้งานในเว็บ) เนื่องจาก Cache Memory ในเบราเซอร์ของคุณมันเต็ม ดังนั้น ลบออกดีกว่าครับ วิธีการนี้เป็นการฆ่าไวรัสได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เนื่องจากไวรัสจะมาจากอินเตอร์เน็ตแล้วลบซ่อนในที่นี่ครับ

สำหรับผู้ที่ใช้งาน IE หรือ Internet Explorer หรือ เจ้ารูปไอคอนตัว E ที่คุณใช้เข้าอินเตอร์เน็ตน่ะครับ

ให้เราเปิดที่ Start Program แล้วเลือกที่ run ครับ สำหรับใครที่ใช้วินโดว์ 7 แล้วหาปุ่ม run ไม่เจอ ก็พิมพ์ในช่อง Search เลยครับ


จากนั้นให้เราพิมพ์คำว่า inetcpl.cpl แล้วกด Enter เลยครับ


จะปรากฏหน้าจอ Internet Properties ขึ้นมาดังภาพครับ

ในหน้าจอของ Internet Properties นี้ ให้เราดูที่แท็บ General แล้วดูที่ Browser History แล้วจะมองเห็นปุ่ม Delete history อยู่ด้านล่าง กดเลยครับ จะพบหน้าจอ Delete Browsing History ขึ้นมา

แล้วกดปุ่ม Delete เลยครับ เมื่อทำการลบเสร็จเรียบร้อยให้แล้วให้ทำการปิด และเปิด IE ใหม่ แล้วเข้าเฟคบุ๊คดู เท่านี้เพื่อนของคุณก็กลับมาแล้วครับ


สำหรับผู้ที่ใช้ Google Chrome หรือ Chromium ครับให้ไปลบ Browsing history ได้ตามรูปครับ ด้วยการกดปุ่ม ประแจ ที่ด้านบนด้านขวามือ

แล้วเลือก Options เลยครับ

จากนั้นเลือกที่ปุ่ม Under the Hood แล้วก็คลิ๊กที่ปุ่ม Clear Browsing data เลยครับ

แล้วก็เคลียร์มันออกไปเลยครับ




สำหรับใครที่ใช้ FireFox ครับ
เปิดโปรแกรม Firefox ขึ้นมา

คลิ๊กที่ Edit

เลือกที่ Perferences ครับ

คลิ๊กที่แท็บ Privacy และคลิ๊กปุ่ม Clear your recent history

ใน Drop Down Menu ให้เลือก Everthing ครับ แล้วก็ Clear now เลยครับ

กลับมาที่หน้าจออีกครั้งแล้วเลือก Remove individual cookies ครับ

แล้วก็ Remove all Cookies เลยครับ




เท่านี้คุณก็ตามเพื่อนคุณกลับมาได้แล้วล่ะครับ

ความคิดเห็น

pui กล่าวว่า
เพื่อนไม่เห็นกลับมาเลยคะ
shadowrecord กล่าวว่า
ใช้ Browser ของอะไรครับ
pui กล่าวว่า
ie chrome และfirefox

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...