ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สร้างไฟล์ Autorun ให้กับแผ่น CD และ DVD กันเถอะ

ไฟล์ Autorun เป็นไฟล์ที่ใช้ในการเริ่มต้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเราเสียบแฟลซไดร์ว หรือใส่แผ่นซีดีเข้าไป และไฟล์ Autorun นั้นจะเป็นอันตราย เมื่อมันอยู่ใน USB Flash Drive เพราะนำจะแฝงไปด้วยคำสั่งให้เริ่มต้น ให้ไวรัสที่อยู่ใน Flash Drive นั้นทำงาน ทำให้ไวรัสเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ ดังนั้น หากสร้างไฟล์ Autorun ใน Flash Drive แล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควร เนื่องจากเสื่ยงต่อการติดไวรัสได้ง่ายๆ เพราะ Flash Drive มีสถานะเป็น Read and Write (อ่านและเขียน) อาจจะทำให้ไวรัสนั้นไปแก้ไขไฟล์ Autorun ที่อยู่ใน Flash Drive ของเรา ให้กลายเป็น Autorun ของไวรัสได้

อย่างไรก็ตาม ไฟล์ Autorun เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่สำหรับ Flash Drive แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เลยสักทีเดียว เพราะไฟล์ Autorun ส่วนใหญ่นิยมใช้กับแผ่น CD หรือ DVD เพราะไวรัสไม่สามารถเขียนไฟล์ทับลงในแผ่น CD หรือ DVD ได้ จึงนิยมนำไฟล์ Autorun มาไว้ทำสำหรับการเปิดดูหนังโดยอัตโนมัติ หรือนำมารันโปรแกรมในแผ่น CD หรือ DVD ก็ได้

สำหรับบทความนี้เป็นการนำไฟล์ Autorun มาใข้ประโยชน์ในแผ่น CD หรือ DVD ครับ

autorun.inf เป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ในเฉพาะ windows นะครับ OS อื่น หมดสิทธิไปเลยครับเพราะ นามสกุล inf ไม่สามารถใช้งานกับ OS อื่นได้

วิธีการสร้างไฟล์ Autorun.inf


1. เปิดโปรแกรม Notepad ขึ้นมา โดยให้คลิ๊กที่ Start program --> Accessories --> Notepad ครับ หรือจะใช้วิธีลัดเลยก็ไค้รับ (Start --> run แล้วให้พิมพ์คำว่า notepad แล้วกด Enter )

2. พิมพ์ข้อความลงไปเลยครับ

[autorun]
open=Start CAI Homework.exe
icon=cd.ico

เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว ให้เซฟไฟล์ แล้วตั้งชื่อว่า Autorun.inf นะครับ เท่านี้ก็สามารถนำไปใช้งานได้แล้ว

อธิบายเพิ่มเติมในไฟล์ครับ
[autorun] คือการแจ้งให้ วินโดว์ทราบว่า เป็นไฟล์ที่ใช้ในการเริ่มต้นครับ จะใช้ตัวใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้เช่น [AUTORUN], [Autorun] ครับ
open=Start CAI Homework.exe คือแจ้งไห้วินโดว์ทราบว่า เป็นไฟล์ที่ต้องใช้ในการเริ่มต้น ในการรันโปรแกรมครับ
icon=cd.icon เป็น Icon ที่ใช้แสดงเมื่อเราใส่แผ่น CD หรือ DVD เข้าไปครับ ต้องเป็นนามสกุล .icon เท่านั้นครับ(ไม่มีก็ได้ ไม่เป็นไรครับ)

การนำไปใช้งานจะต้องนำไปวางไว้ในที่หน้าแรกของแผ๋นซีดีเลยครับ (ไม่ควรสร้างโฟลเดอร์เพื่อเก็บไฟล์) โดยให้อยู่ที่เดียวกันกับไฟล์ที่เราต้องการให้เริ่มต้นคือ Sart CAI Homework.exe

ความคิดเห็น

SUHO'mint กล่าวว่า
ขอบคุณค่ะ
Unknown กล่าวว่า
ทำแล้วไม่ได้ ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช