ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

16. การ Export เพื่อเผยแพร่ไฟล์วีดีโอ

รู้จักกับการ Export
เมื่อเราทำการตัดต่อทั้งหมดในโปรเจ็คเรียบร้อยแล้วนั้น เราจะยังไม่ได้ไฟล์วีดีโอที่สมบูรณ์แบบ คือ ยังไม่สามารถนำออกไปเผยแพร่หรือใช้แสดงด้วยโปรแกรมเล่นภาพยนต์ต่างๆ ได้ ดังนั้นเราจึงต้องทำการ Export งานของเราเสียก่อน เพื่อให้โปรแกรม Premiere Pro แปลงไฟล์โปรเจ็คงานเป็นไฟล์วีดีโอที่สามารถนำไปเผยแพร่ได้จริง
ในโปรแกรม Premiere Pro เราสามารถ Export งานได้หลายรูปแบบและหลายวิธีดังนี้
    - Movie Export โปรเจ็กต์เป็นไฟล์วีดีโอ - Audio Export โปรเจ็กต์เป็นไฟล์เสียง - Frame Export โปรเจ็กต์เป็นไฟล์ภาพ

โดยแต่ละรูปแบบนั้นจะมีลักษณะของไฟล์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป สาเหตุที่ต้องมีการ Export เป็นไฟล์หลายรูปแบบวีดีโอนั้น ก็เนื่องจากจุดประสงค์ของการทำงานของแต่ล่ะคนแตกต่างกันออกไป บางคนอาจต้องการไฟล์งานเป็นไฟล์วีดีโอ บางคนต้องการเพียงภาพบางภาพจากวีดีโอ

การ Export ไฟล์วีดีโอ
โดยปกติแล้วโปรแกรม Premiere Pro จะตั้งค่าไฟล์มาตรฐานของการ Export วีดีโอไว้ให้เป็น Microsoft DV AVI ไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเราจะสามารถทำการ Export ไฟล์วีดีโอได้เลย

ตัวอย่างการ Export ไฟล์วีดีโอ

- จากรูป ให้นำเมาท์คลิ๊กที่ Time Line ให้ (Active) สังเกตได้ว่าจะเห็นเส้นสีส้มอยู่รอบ Time Line

- คลิ๊กที่ File --&#62 Export &#62 Movie

- จะปรากฏหน้าจอ Export Movie


จากรูป ให้เราเลือกโฟลเดอร์และตั้งชื่อไฟล์ แล้วเลือกคำสั่ง Save

จากนั้นจะมีหน้าจอ Export (คล้ายๆ กับการ Render)

การนำไฟล์วีดีโอไปใช้งาน
    - หลังจาก Export เสร็จแล้ว เราจะได้วีดีโอ นามสกุล .AVI ซึ่งเราสามารถนำไปเป็นในวินโดว์มีเดียเพลเยอร์ได้ - เราสามารถนำไฟล์วีดีโอไป เขียนลงแผ่นดีวีดีหรือวีซีดีได้ โดยผ่านกระบวนการเข้ารหัสของโปรแกรมเขียนแผ่นต่างๆ เช่น Nero, NTI เป็นต้น


การสร้างไฟล์สำหรับวีซีดี ดีวีดี
รู้จักกับไฟล์วีดีโอ ชนิดต่างๆ
    - AVI เป็นไฟล์วีดีโอสำหรับ วินโดว์ การนำไฟล์วีดีโอชนิดนี้จะไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากขนาดของไฟล์มีขนาดใหญ่ - MPEG 1 เป็นไฟล์วีดีโอพื้นฐานที่นำไปใช้ในการสร้างแผ่นภาพยนต์วีซีดี ความระเอียดของภาพอยู่ในระดับปานกลาง ไฟล์นามสกุลจะเป็น .mpg หรือ mpeg แต่เมื่อนำไปสร้างวีซีดีแล้วจะมีนามสกุลเป็น DAT - MPEG2 เป็นไฟล์วีดีโอที่มีคุณภาพสูง เหมาะสำหรับในการภาพยนต์ดีวีดี ความละเอียดของภาพอยู่ในคุณภาพสูง ไฟล์นามสกุลจะเป็น .m2v แต่เมื่อนำไปสร้างเป็นดีวีดีจะมีนามสกุลเป็น .vob
รู้จักกับสื่อวีดีโอ
    - วีซีดี เป็นสื่อที่เกิดจากการนำข้อมูลวีดีโอมาบันทึกลงไปในแผ่นวีซีดี ซึ่งสามารถเล่นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่นวีซีดี/ดีวีดี - ดีวีดี มาตรฐานของดีวีดีจะมีความจุมากกว่าแผ่นวีซีดีถึง 7 เท่า ซึ่งขนาดความจุนี้เอง สามารถทำให้แผ่นดีวีดีบันทึกข้อมูลที่เข้ารหัสแบบ MPEG2 ได้ มีคุณสมบัติดังนี้
      - สามารถบันทึกข้อมูลวีดีโอได้ถึง 2 ชั่วโมง - สามารถรองรับระบบเสียงได้ถึง 8 ภาษา

วิธีการ Export ด้วย Adobe Media Encoder
ในหัวข้อนี้จะเป็นการ Export งานวีดีโอ เพื่อใช้สำหรับสร้างสื่อวีดีโอชนิดต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังตัวอย่างนี้เราจะทำการ Export ให้เป็นนามสกุล .mpg เพื่อนำไปเขียนเป็นแผ่นวีซีดี ในขั้นตอนต่อไป
1. คลิ๊กที่ Time Line ให้ Active
2. คลิ๊กที่ File--&#62 Export --&#62Adobe Media Encoder


จากรูป จะกล่าวถึง 2 ค่าที่ต้องนำไปใช้งาน ส่วนรายละเอียดต่างๆ โดยส่วนใหญ่แล้วโปรแกรมจะทำการตั้งค่ามาให้เราไว้เรียบร้อยแล้ว และเราสามารถกำหนดค่าต่างๆ นอกเหนือจากโปรแกรมตั้งค่ามาให้แล้ว ในที่นี้จะอธิบายในส่วนที่ต้องนำไปใช้งานเท่านั้น
    - สีแดง เป็นการเลือกไฟล์ที่เราต้องการ Encode อย่างเช่น Mpeg 1 ที่นำไปใช้ทำแผ่นวีดีโอซีดี และ Mpeg 2 ที่นำไปใช้ในการสร้างแผ่นดีวีดี ซึ่งเราสามารถทำได้เหมือนขั้นตอนที่ผ่านมาได้เช่นกัน และการ Encode ชนิดอื่นๆ - สีน้ำเงิน เป็นการตั้งค่าให้เข้ากับระบบที่ต้องการใช้งาน คือ PAL, NTSC ดังที่เคยได้กล่าวมาแล้ว - จากนั้นให้เราคลิ๊กที่ปุ่ม OK - จะมีหน้าต่างเกิดขึ้นมาให้เราเลือกโฟลเดอร์ที่เราสร้างไว้เพื่อทำการ Save งาน และทำการ Save งานไว้ - โปรแกรมจะทำการ Encode จนเสร็จสิ้น



หน้าถัดไป : 17. การนำไฟล์วีดีโอที่ผ่านการ Encode ลงในแผ่น วีซีดี
ก่อนหน้า : 15. ตัวอย่างการใช้งานเลเยอร์

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
เลือก mpeg 2 แล้วสกุลไฟล์เป็น m2v / เลือก mpeg 1 แปลงเสร็จมันเป็น .m1v ใช้ premiere cs3 จะสามารถ export งาน ต้องตั้งค่ายังไงให้ออกมาด้เป็น .mpg คะ ช่วยหน่อยค่ัะ
shadowrecord กล่าวว่า
Export ผ่านตัวโปรแกรมเองหรือว่า Export ผ่าน Adobe Media Encoder ครับ?
สามารถเข้าไปแก้ไขเรื่องเกี่ยวกับไฟล์ได้ที่ Setting ครับ
http://4.bp.blogspot.com/-gjjSCr_0tiw/TcKvRVXWEfI/AAAAAAAAAv4/pNZFmMUo468/s1600/Untitled-3.jpg

แต่ถ้าจำไม่ผิด CS 3 น่าจะ Export ผ่าน Adobe Media Encoder
http://4.bp.blogspot.com/-JRuVHJtf8E0/TcKx0060lkI/AAAAAAAAAwI/f6lTlh6povY/s1600/Untitled-5.jpg
ในรูปนั้นลองเลือก Format เป็น MPEG1 หรือ MPEG2 ตามที่ต้องการและไม่ต้องตั้งค่าอื่นเลือกแค่ใน Format ก็พอครับ เพราะแต่ล่ะ Format นั้นมันกำหนดค่า Default มาให้เรียบร้อยแล้ว

และอีกวิธีหนึ่งครับ (แก้ปัญหาเฉพาะหน้า) เปลี่ยนนามสกุลไฟล์ที่เรนเตอร์เสร็จแล้ว (เปลี่ยนเอาดื้อๆนี่แหล่ะครับ) คลิ๊กขวาที่ไฟล์ที่เรนเดอร์เสร็จ เลือก rename แล้วก็เปลี่ยนนามสกุลจาก .m2v หรือ .m1v  เป็น .mpg ครับ
Unknown กล่าวว่า
เป็นประโยชน์มากครับ ทุกๆเรื่องที่เขียน จะติดตามนะครับ
Unknown กล่าวว่า
ขอบคุณมากๆจร้า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช