ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

14. ตัดต่อทำงานกับเสียง

เสียงทำให้ภาพยนมีอรรถรสในการชมมากขึ้น และบ่งบอกถึงอารมณ์และความรู้สึกในขณะนั้น เสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการตัดต่อภาพยนต์

รู้จักกับคลิปเสียง
โปรแกรม Premiere Pro ได้จัดเครื่องมือสำหรับการทำงานกับคลิปเสียงไว้อย่างมาก เพื่อให้เราสามารถเพิ่มเติมและปรับแต่งคลิปเสียงได้ตามต้องการ
    คุณสมบัติของเสียงในระบบดิจิตอล เสียงโดยทั่วไปจะเกิดการสั่นสะเทือนจากวัตถุ แล้วส่งแรงสั่นสะเทือนนั้นออกมาตามตัวนำเสียง เช่น อากาศ มากระทบที่หูของเราทำให้ได้ยินเสียงเหล่านั้น โดยจะเรียกเสียงในรูปแบบนี้ว่า “เสียงในระบบอนาล็อก” แต่สำหรับเสียงในระบบดิจิตอลเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเสียงในระบบอนาล็อกให้กลายเป็นตัวเลขบันทึกข้อมูล ซึ่งคุณภาพองเสียงในระบบดิจิตอลนั้นจะถูกกำหนดโดย 2 ค่าดังนี้ 1. Sample Rate เป็นอัตราความละเอียดของเสียงในการแปลงจากเสียงในระบบอนาล็อกให้กลายมาเป็นสัญญาณเสียงในระบบดิจิตอลใน 1 วินาที โดยมีหน่วยเป็น KHz เสียงที่มีคุณภาพดีจะต้องมีค่า Sample Rate สูงและเป็นที่แน่นอนว่าขนาดของไฟล์จะต้องใหญ่ตามไปด้วย 2.Bit Depth เป็นจำนวนข้อมูลที่ใช้ในการแปลงหรือเข้ารหัสเสียง ยิ่งมีค่ามากเท่าไหร่ก็ย่อมมีความเทียงตรงของเสียงมากเท่านั้น นั่นคือจะทำให้เสียงไม่ผิดเพี้ยนและคมชัด ชนิดของเสียงใน Premiere Pro
    ชนิดของเสียงในโปรแกรม Premiere Pro มี 2 รูปแบบใหญ่ๆดังต่อไปนี้ คลิปเสียงธรรมดา เป็นคลิปที่มีเฉพาะเสียงเท่านั้น คลิปเสียงประกอบวีดีโอ เป็นคลิปเสียงที่มาพร้อมกับคลิปวีดีโอ โดยจะแสดงไปพร้อมกันอย่างสอดคล้องและต่อเนื่อง
    การใส่เสียง ในโปรแกรม Premiere Pro เราสามารถเพิ่มคลิปเสียงเข้าไปในโปรเจ็กต์ได้เหมือนกับการปรับแต่งคลิปวีดีโอทั้งหมดอีกด้วย โดยการImport ไฟล์เสียงจะทำเช่นเดียวกับคลิปวีดีโอ



การใส่เสียงบนพาเนล Time Line
การวางคลิปเสียงบน Time Line จะเหมือนกันกับการวางคลิปวีดีโอ โดยที่คลิปเสียงจะวางไว้บนแทร็กออดิโอ (Audio Track) ซึ่งมีไว้สำหรับวางคลิปเสียงโดยเฉพาะ
1. หลังจากที่เรานำไฟล์เสียงมาไว้บนพาเนลโปรเจ็กต์แล้ว ให้เราลากคลิปเสียงมาวางไว้บนพาเนล Time Line
2. หลังจากนั้นเราก็สามารถตัดต่อคลิปได้ตามปกติเหมือนกับการตัดต่อวีดีโอ

จากรูปจะแสดงให้เห็นว่าสีน้ำเงินจะเป็นคลิปเสียงที่มากับวีดีโอ ส่วนคลิปสีแดงเป็นคลิปที่นำเข้ามาเพื่อใช้งาน


การปรับระดับเสียงบนพาเนล Time Line
หากคลิปเสียงที่เรานำเข้ามานั้น มีระดับความดังของเสียงดังไปหรือเบาเกินไป เราสามารถปรับให้ได้ระดับความดังที่พอดีตามต้องการได้

1. คลิกที่ แทร็กออดิโอ

จะแสดงเมนูให้เลือก Show Clip Keyframes สังเกตว่าจะมีเส้นสีเหลืองอยู่ตรงกลางคลิป


2.คลิกที่คลิปแล้วคลิกขวาและเลือก Volume --&#62 Level

3. ใช้เครื่องมือ (Pen Tools) ปรับระดับเสียง โดยคลิกที่เส้นสีเหลืองค้างไว้แล้วปรับเลื่อนขึ้นลง โดยเลื่อนขึ้นจะทำให้เสียงดังขึ้น เลื่อนลงจะทำให้เสียงลดลง




ใช้เครื่องมือปรับระดับเสียงโดยคลิ๊กค้างไว้ที่เส้นสีเหลืองแล้วเลื่อนขึ้นลง






หน้าถัดไป : 15. ตัวอย่างการใช้งานเลเยอร์
ก่อนหน้า : 13. เปลี่ยนฉากของคลิปด้วยทรานสิชัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...