ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีแก้ Virus Security Center

เมื่อคุณท่องอินเตอร์เน็ตดีๆ ไปพบกับสิ่งของที่อยากดาวน์โหลดเข้า กลับได้สิ่งของที่ไม่ต้องการมา เขาหวังดีกับเราด้วยการแสกนไวรัสให้เรา โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรทั้งวันเลย โปรแกรมเจ้าวายร้ายตัวดีนี้ หนีไม่พ้น Security Center ฟังดูดีไหมครับ ศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย สำหรับคอมพิวเตอร์ (อิอิ) โดยมีหน้าตาเป็นอย่างนี้ครับ


ถ้าหากคุณได้โปรแกรมนี้มาใช้งาน รับรองได้ว่าคุณจะรำคาญ และไม่สามารถทำอะไรได้ทั้งวันเลยล่ะครับ เอาล่ะ มาดูวิธีแก้กันดีกว่า


How to edit Virus Security Center

1.ก่อนอื่น ต้องทำการลบขยะในเครื่องให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะมันเป็นจุดที่เจ้าไวรัสตัวนี้ไปใช้ในการติดตั้ง ให้เข้าที่ Start Program --> Run เลยครับ เสร็จแล้วพิมพ์คำว่า temp แล้วกด Enter ดังรูป

จะมีหน้าจอขึ้นมา ให้คุณกดปุ่ม Ctrl + A เพื่อทำการเลือกไฟล์ทั้งหมด และให้กดปุ่ม Shift + Delete เพื่อลบมันออกไปจากเครื่องเลยครับ (ไม่ต้องลงถังขยะ) (หากมีไฟล์ทีไม่สามารถลบได้ ก็ให้ลบให้เหลือน้อยที่สุดครับ)


2. ยังไม่หมดครับ สำหรับโฟลเดอร์ ที่เป็น Temp ยังเหลืออีกครับ ให้ทำตามข้อที่ 1 ครับ แต่เปลี่ยนจาก temp เป็น %temp% ดังรูปครับ

3. เรียกคำสั่ง msconfig โดย Start Program --> Run เลยครับ เสร็จแล้วพิมพ์คำว่า msconfig แล้วกด Enter ดังรูป

เลือกที่เมนู Startup และค้นหาตัวที่แปลกๆ โดยเฉพาะที่มันมาจาก C:/Documents and setting ครับ ให้เอาเครื่องหมายถูกออกไปเลย

หาดูให้หมดครับ ตัวไหนที่มันแปลก และไม่ได้มาจาก Programs File และ system32 มันย่อมจะแปลกทุกตัว เช่น มาจาก D: บ้าง มาจาก Desktop บ้าง

จากนั้นให้เลือก Apply ครับ แล้วอย่าเพิ่งรีสตาร์ทเครื่องนะครับ ให้เลือก Exit without restart

4. เรียก register โดย Start Program --> Run เลยครับ เสร็จแล้วพิมพ์คำว่า regedit แล้วกด Enter ดังรูป

5. กดปุ่ม Ctrl + F แล้วพิมพ์คำว่า Security Center ดังรูป (คำว่า Security Center นี้คือชื่อโปรแกรมไวรัสที่ได้รับมา บางครั้งมันอาจจะเป็นชื่ออื่นที่ไม่ใช่ Security Center ก็ได้ครับ)(ในการทำข้อนี้ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำผิดแล้ว วินโดว์อาจจะพัง และได้ลงวินโดว์ใหม่เลยทีเดียว)

6.จากนั้นให้กด Enter แล้วโปรแกรมจะทำการค้นหาคำว่า Security Center และไฟล์ที่เกี่ยวข้องครับ

เมื่อค้นหาเจอแล้ว ให้เรากดปุ่ม Delete บนคีย์บอร์ดได้เลยครับ จากนั้นให้เรากดปุ่ม F3 เพื่อหาคำต่อไป

เมื่อค้นหาเจอแล้ว ให้เรากดปุ่ม Delete บนคีย์บอร์ดได้เลยครับ จากนั้นให้เรากดปุ่ม F3 เพื่อหาคำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด จะขึ้น Finish ครับ

7. ให้ทำการ Restart Windows และให้เริ่มทำตาม ข้อ 4 ถึง ข้อ 6 อีกครั้งครับ (ต้องเอาจนกว่าจะหมดจริงๆ) เมื่อแน่ใจว่าหมดแล้ว ก็เสร็จสิ้นการแก้ไขแล้วครับ เท่านี้ Security Center ก็ไม่มากวนใจคุณอีกแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช