ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง บางคนอาจจะไม่รู้

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง บางคนอาจจะไม่รู้

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์แต่ละตัวซึ่งมีหน้าที่ในการทำงานแตกต่างกัน ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะรู้จักกับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาและการแก้ปัญหา แม้ตนเองจะไม่สามารถทำเองได้ หากให้ช่างคอมพิวเตอร์แนะนำก็จะเข้าใจได้ในระดับนึง

1. ซีพียู : CPU (Central Processing Unit)


หน่วยประมวลผลกลางทำหน้าที่ประมวลผลทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในซีพียูจะประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์เรียกว่า ซิลิกอน (Silicon) โดยนำซิลิกอนมาเจือกับวัสดุบางชนิดเพื่อให้เกิดภาวะการนำของไฟฟ้าได้และนำมาประกอบเป็นทรานซิสเตอร์ขนาดเล็ก ซีพียูตัวหนึ่งจะมีทรานซิสเตอร์จำนวนหลายสิบล้านตัว

2. หน่วยความจำ : RAM (Random Access Memory)


หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า แรม คือหน่วยความจำประเภทอ่านและเขียนข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา หากปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลในเครื่องก็จะหายไปหมดทันที
หน่วยความจำจะทำงานร่วมกับซีพียูตลอดเวลา แทบทุกจังหวะการทำงานซีพียูจะต้องมีการอ่านหรือเขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอหรือแม้แต่ในขณะที่สั่งให้ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความจำเป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล นั่นก็เพราะซีพียูมีการประมวลผลที่เร็ว ซึ่งอุปกรณ์อื่นๆไม่สามารถทำงานตามความเร็วของซีพียูได้ จึงต้องมี แรม ไว้เพื่อพักข้อมูลในขณะประมวลผล

3. การ์ดแสดงผล : GPU (Graphic Processing Unit)


เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (จอภาพ) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก
ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง

4. การ์ดเสียง : Sound Card


การ์ดเสียง หรือ ซาวน์การ์ด คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า ส่งออกไปยังลำโพง โดยการ์ดเสียงส่วนใหญ่จะอยู่ในแผงเมนบอร์ด หากต้องการใช้งานในระดับสูงก็สามารถเพิ่มการ์ดเสียงที่อยู่ในรูปแบบของฮาร์ดแวร์เข้าไปได้

5. ฮาร์ดดิสก์ : Harddisk


คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) (ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง

6 SSD : Solid State Drive

SSD (เอสเอสดี) ย่อมาจาก Solid State Drive (ซอล สเทส ไดร์ส)  คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่เหมือนกับ Harddisk (ฮาร์ดดิสก์) เพียงแต่รูปแบบการบันทึกข้อมูลของ SSD จะเป็นการบันทึกข้อมูลแบบ Flash Memory (แฟรต เมมโมรี่) ทำงานเหมือนกับ FlashDrive (แฟรตไดร์ส) ขนาดของ SSD นี้จะมีขนาดเล็กประมาณ 1.8 - 2.5 นิ้ว  สามารถนำมาใช้ได้ทั้งโน๊ตบุ๊คและพีซี ข้อดีของ SSD คือ อ่านและเขียนข้อมูลได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากเข้าถึงซิฟได้โดยตรงไม่ต้องเสียเวลาหมุนจาน ทั้งนี้ความเร็วในการอ่านและเขียนจะมีแตกต่างกันไปในแต่ละค่ายผลิต ส่วนข้อเสียคือ ราคาค่อนข้างสูง (ในปี 2020 ราคาก็ต่ำลงมามากแล้วสามารถสัมผัสได้) หากพังจะทำการกู้ข้อมูลยาก เพราะเป็นซิฟ ไม่ได้บันทึกลงในจานหมุนเหมือนฮาร์ดดิสก์

7. การ์ดแลน : Network Card


การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย  มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 3 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกลหรือ แลน (LAN) การเชื่อมโยงเครือข่ายระดับเมืองหรือแมน (MAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN)

8. การ์ดวายฟาย : Wi Fi Card


การ์ดวายฟายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่ายเช่นเดียวกับการ์ดแลน แต่จะเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย คือใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHzในการเชื่อมต่อสัญญาณ ซึ่งมีทั้งแบบการ์ดเสียบภายในเมนบอร์ดและแบบยูเอสบีสำหรับรับสัญญาณ

9. เมนบอร์ด : Mainboard


เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปจะประกอบด้วยซ็อกเก็ตสำหรับบรรจุหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ได้ทั้งอุปกรณ์ติดตั้งภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก

10. DVD ROM หรือ DVD Writer 


ไว้สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดี ซึ่งปัจจุบัน (ปี 2020) กำลังจะเลิกใช้แล้ว เนื่องจากแฟรซไดร์วราคาถูกลงมากและการใช้งานอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเน็ตเวิร์กเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเช่น Google drive 

11. พาวเวอร์ซัพพลายและเคส : Power Supply and Case


พาวเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่จ่ายกระแสไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์ต่างในเครื่องคอมพิวเตอร์ และเคสเอาไว้จัดเก็บอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่กล่าวมาให้เก็บไว้ข้างในเป็นเครื่องเดียว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช