ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การอ่านสเปคบนแผงและการเลือกใช้งาน RAM

การอ่านสเปคบนแผงและการเลือกใช้งาน RAM

     หากต้องการเลือกซื้อแรมสักแผงมาใช้งาน ผู้ใช้ต้องเข้าใจและสามารถอ่านสเปคที่ติดอยู่บนแผงแรมได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถเลือกซื้อแรมมาใช้งานตามความค้องการโดยเฉพาะการเลือกซื้อแรมมาใช้งานร่วมกับแรมแผงเก่า การเลือกสเปคแรมอย่างุูกต้องจะช่วยลดปัญหาการทำงานร่วมกันของแรมแผงเก่าและแผงใหม่ได้

     การระบุสเปคของแผงแรมจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ ระบุชื่อเรียกตามมาตรฐานแรมเช่น PC2-6400 หรือระบุความเร็วของแรมโดยตรง เช่น DDR3-1600 เป็นต้น การระบุชื่อเรียกตามมาตรฐานแรมนั้น คำว่า PC = แรม DDR,  PC2  = DDR3 และ PC3 = DDR3 นอกจากนั้นผู้ใช้ต้องนำค่าตัวเลขมาหารด้วย 8 จึงออกมาเป็นความเร็วที่แท้จริง
     สำหรับแรมยี่ห้อ Kingston จะมีรูปแบบบอกความเร็วแตกต่างออกไปเล็กน้อย โดยใช้รหัสของ Kingston เอง แต่ผู้ใช้สามารถสังเกตได้จากตัวเลขบอกความเร็วของชิปแรม เช่น 1333, 1600 เป็นตั้น ตัวอักษรบยอกประเภทพของแรมจะใช้คำว่า D2 = DDR2 และ D3 = DDR3


     ความเร็วแรม      ชื่อมาตรฐาน
DDR3-800
PC3-6400
DDR3-1333      PC3-10600 หรือ PC3-10660      
DDR3-1866
PC3-14900
DDR4-2133PC4-17000
DDR3-1066PC3-8500
DDR3-1600PC3-12800
DDR3-2133PC3-17000
DDR4-2400PC4-19200


NOTE CL7, CL9 คืออะไร ?

     ค่า CL หรือ CAS Latency เป็นค่าหน่วงเวลาในการอ่าน/เขียนข้อมูลของแรม ค่า CL จึงส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการรับ/ส่งข้อมูลของแรม ค่า CL=9 หมายความว่า แรมจะต้องเสียเวลารอ 9 สัญญาณนาฬิกาหรือเทียบง่ายๆ คือ 9 Hz เพื่อที่จะรับ/ส่ง ในขณะที่ CL=7 จะใช้ระยะเวลารอเพียง 7 สัญญาณนาฬิกา
     บางครั้งผู้ใช้ไม่สามารถเลือกแรมที่มีค่า CL ต่ำๆได้ เพราะแรมที่มีค่า CL ต่ำกว่าปกติจะเป็นแรมที่คัดพิเศษ จึงมีราคาสูงกว่าและหาซื้อได้ยากกว่าเช่นกัน ดังนั้น ในการทำงานปกติแล้วผู้ใช้ไม่สามารถรู้สึกถึงความแตกต่างของค่า CL ได้ชัดเจน นอกเสียจากการวัดด้วยโปรแกรมทดสอบแรมเท่านั้น

     ความเร็วแรม      ค่า CL มาตรฐาน
DDR3-800
PC3-6400
DDR3-1333      PC3-10600 หรือ PC3-10660      
DDR3-1866
PC3-14900
DDR4-2133PC4-17000
DDR3-1066PC3-8500
DDR3-1600PC3-12800
DDR3-2133PC3-17000
DDR4-2400PC4-19200


เพิ่มแรมเท่าไหร่ จึงจะพอใช้งาน

ตามปกติไมโครซอฟต์จะกำหนดขนาดของแรมเบื้องต้นของระบบปฏิบัติการรุ่นต่างๆ เช่น ระบบปฏิบัติการ วินโดว์ 7 32 บิท กำหนดไว้ที่ 1GB หรือวินโดว์ 10 60 บิท กำหนดไว้ที่ 2 GB แต่ในความเป็นจริงการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเฉพาะระบบปฏิบัติการ แต่ต้องมีซอฟต์แวร์อื่นร่วม รวมไปถึงเกมส์หลากหลายประเภทด้วย ทำให้แรมที่เหมาะสมตามระบบปฏิบัติการไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ดังนั้น การใช้แรมในระบบปฏิบัติการวินโดว์ 10 60 บิท ควรใช้แรมอย่างน้อย 4 GB และควรทราบเกี่ยวกับสเปคเมนบอร์ดด้วย ว่ารองรับแรมแบบไหน ขนาดเท่าไหร่ สูงสุดไม่เกินเท่าไหร่ เพราะหากใส่แรมเกินที่เมนบอร์ดรองรับได้ จะเป็นการเสียเงินซื้อแรมโดยเปล่าประโยชน์


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช