ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 1 การสร้างทีม

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 1 การสร้างทีม

บทความที่แล้ว ได้เขียนเรื่องการติดตั้ง Microsoft Teams ไปแล้ว บทความนี้จะเป็นการใช้งาน Microsoft Team ตอนที่ 1 ครับการสร้างทีมไว้เพื่อใช้งาน สามารถดูย้อนหลังได้ที่นี่ การติดตั้ง Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์

Microsoft Teams เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งมีความสามารถของแอฟในการจัดการประชุม หรือการเรียนการสอนออนไลน์ การใช้งาน Microsft Teams จะไม่สามารถใช้งานเพียงคนเดียวได้ หากไม่มีกลุ่มหรือทีมเพื่อสื่อสาร

ยกตัวอย่างในมหาวิทยาลัยแห่งหน่ึงในช่วงที่ประสบภัยโรคระบาดทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อลดความเสี่ยง ดังนั้นจากที่เคยนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน ก็ต้องปรับเปลี่ยนแบบมาใช้แบบออนไลน์แทน ดังนั้น ในแต่ละรายวิชาที่อาจารย์สอน จะมีกลุ่มนักศึกษาแต่ละกลุ่มเข้ามาเรียน อาจารย์จะต้องจัดทีมชื่อรายวิชาขึ้นมา และทำการเพิ่มนักศึกษาเข้าไปในกลุ่มเพื่อเปิดการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์

สิ่งที่จำเป็นในการใช้งาน Microsoft Teams

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลต
2. กล้องติดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือจะเป็นแล็บท็อปที่มีกล้องก็ได้ (สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตมีกล้องอยู่แล้ว)
3. ไมโครโฟน (สมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตมีไมโครโฟนอยู่แล้ว)
4. Email ที่เป็นของไมโครซอฟต์ อย่างเช่น hotmail, outlook และ live จำเป็นมาก หากใช้อีเมลของค่ายอื่นเช่น yahoo หรือ gmail จะไม่สามารถ Login ได้

เริ่มกันเลย

1. เมื่อติดตั้ง App Microsoft Teams เสร็จ จะมีหน้าตาดังรูปด้านล่าง ให้กดที่ ทีม เพื่อทำการสร้างทีม


2. การสร้างทีมนั้น อาจจะประยุกต์ใช้เป็นรายวิชา แล้วมีบทที่ 1, 2, 3 ย่อยๆออกมาอีกครั้ง ดังนั้นการสร้างทีมจะสามารถสร้างด้วยกันหลายทีมได้ เช่น อาจารย์ 1 ท่าน สอนได้หลายวิชา ก็สามารถสร้างทีมตามรายวิชาที่สอนได้ และในแต่ละวิชาสามารถสร้างเป็นเนื้อหาย่อยเช่น บทที่ 1 และบทที่ 2 ไปจนจบ

จากรูปด้านล่างนี้จะเป็นหน้าจอของทีม ซึ่งประกอบไปด้วยห้องต่างๆหลายห้องที่เราเคยเข้าร่วม แต่ตอนนี้เราจะทำการสร้างทีมขึ้นมา คลิ๊กที่ปุ่ม สร้างทีมได้เลยครับ


3. เลือกระดับชั้นเรียนตามรูปด้านล่าง


4. สร้างทีมหรือรายวิชาดังรูปด้านล่าง ผมต้องชื่อรายวิชาว่า การใช้งาน MS Teams



5.  ค้นหานักเรียน กรณีเรายังไม่ทราบนักเรียนว่ามีใครบ้าง ให้เราข้ามไปก่อนครับ ทำการเตรียมการสอนเสียก่อนค่อยมาค้นหาทีหลังได้ครับ


6. เมื่อสร้างทีมเสร็จ ก็จะปรากฏหน้าจอทีม หรือหน้าจอรายวิชาอย่างเรียบง่าย โดยในรูปด้านล่างจะมีหัวต่างๆในรูป โดย
          ข้อที่ 1. จะเป็นข้อความบอกชื่อกลุ่ม การใช้งาน MS Teams
          ข้อที่ 2 โพส โดยหน้าแรกที่เห็นในรูปกรอบสีแดงนั่นคือหน้าจอการโพส ครูกับนักเรียนสามารถโต้ตอบกันผ่านหน้าจอนี้ได้ หรือว่าง่ายๆ เอาไว้แซทนั่นเอง
          ข้อที่ 3 ไฟล์ เป็นที่สำหรับสร้างไฟล์ในขณะเรียน สามารถสร้างไฟล์ Word, Excel, Power Point ได้แบบเรียลไทม หรือจะอัพโหลดไฟล์ที่ทำการเตรียมสอนไว้ก็ได้
          ข้อที่ 4 สมุดบันทึกสำหรับชั้นเรียน มีไว้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจจะจำเป็น
          ข้อที่ 5 งานที่มอบหมาย อาจารย์สามารถมอบหมายงานให้นักเรียนนักศึกษาโดยผ่านหน้านี้ได้
          ข้อที่ 6 เกรด มีไว้ประกาศเกรดการเรียน


7. ให้ทำการเพิ่มแชนเนล ตามที่ต้องการ ตอนนี้เราสร้างวิชา การใช้งาน MS Teams แล้วต้องการเพิ่ม บทที่ 1 หรือ ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ตามลำดับ หรือตามรายวิชาที่เตรียมสอน
จากรูปด้านล่าง สร้างแซนเนล การใช้งาน MS Teams ตอนที่ 1 และการใช้งาน MS Teams ตอนที่ 2 ครับ


การสร้างแซนเนลนั้น จะมีมาตรฐาน หรือสิทธิขอการเข้าถึงบทเรียน หากเลือก มาตรฐาน นั้น ทุกคนที่อยู่ในทีมจะสามารถเข้าถึงได้ นั้นหมายถึง ในทีมนี้ อาจจะมีหลายห้องเรียนเข้ามาเรียนในวิชาเดียวกัน ก็สามารถมองเห็นช่องนี้กันหมด หากอาจารย์ต้องการเฉพาะห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่งก็เลือกข้อที่สองคือ กลุ่มบุคคลเฉพาะภายในทีมเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้ 


คำเตือน ในการสร้างแซนเนลจะไม่สามารถแก้ไขได้ในภายหลัง จะต้องทำการสร้างแซนเนลใหม่เท่านั้น


สร้างบทที่ 1

สร้างบทที่ 2

เมื่อเสร็จ 2 บทก็จะได้ดังรูป

ตอนนี้เราก็จะได้ วิชา การใช้งาน MS Teams ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ครับ ขอจบการสร้างทีมไว้เพียงเท่านี้ครับ บทความต่อไปจะเป็นการเตรียมการสอนใน Microsoft Teams ครับ


บทความถัดไป การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 2 การเตรียมไฟล์เพื่อการสอน

บทความก่อนหน้า การติดตั้ง Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...