ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตามสเปคเพื่อใช้งานที่เหมาะสม

การเลือกเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ตามสเปคเพื่อใช้งานที่เหมาะสม

การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ควรเลือกให้เหมาะสมกับระดับผู้ใช้งาสน หากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงมากๆ เพียงเพื่อใช้ในการพิมพ์งานหรือฟังเพลง ความคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่เราเสียไปก็จะสูญเปล่า ความเร็วของซีพียูก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป เพราะซีพียูรุ่นใหม่ต่างมีความเร็วระดับ GHz ทั้งหมดแล้ว ดังนั้น การซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะคำนึงถึงความคุ้มค่าต่อประสิทธิภาพเป็นอันดับแรก

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น

ผู้เริ่มต้นใช้งาน หรือผู้หัดใช้งาน หรือผู้ใช้งานมือใหม่ ที่ไม่ทราบรายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์มากนัก หากต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่อง ดูที่งบประมาณที่จัดซื้อได้ และขอให้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแบรนด์เนม หรือมียี่ห้อ จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเวลาเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาก็ยกส่งเครมทั้งเครื่องได้เลย และใช้งบประมาณไม่มากสักเท่าไหร่นัก ด้วยงบประมาณ 12000 - 18000 บาทก็ได้เครื่องคอมพิวเตอร์สเปคคุ้มค่าแก่การใช้งาน วิธีนี้อาจจะไม่จำกัดเฉพาะมือใหม่ มือเก่าหรือหน่วยงานราชการก็เลือกแบรนด์เนมได้เช่นกัน

#การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบรนด์เนม ควรดูบริการหลังการขายและระยะเวลาการรับประกันเป็นหลัก


อุปกรณ์ รายละเอียด
ซีพียู Intel Pentium หรือ Core i3
เมนบอร์ด Chipset Intel series
แรม DDR 3 หรือ DDR 4 ตามที่เมนบอร์ดรองรับ ขนาด 4GB
ฮาร์ดดิสก์ ความจุ 500 GB - 1 TB
การ์ดแสดงผล.     การ์ดแสดงผลแบบ on board
จอภาพ LCD ขนาด 17 - 19 นิ้ว

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้งานในออฟฟิศ

กลุ่มผู้ใช้งานในออกฟิศจะคล้ายกับกลุ่มผู้ใช้มือใหม่ตรงที่ไม่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสเปคสูงมากนัก เน้นทำงานด้านเอกสาร หรืออาจจะมีการใช้งานเกี่ยวกับการตัดต่อรูปภาพเล็กๆน้อยๆ เช่น Photoshop เป็นต้น กลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้มักจะต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ควรเลือกใช้จอ LCD  เพื่อช่วยในเรื่องสายตาและสุขภาพ


อุปกรณ์ รายละเอียด
ซีพียู Core i3 หรือ AMD AM4 series
เมนบอร์ด Chipset Intel series หรือ AMD
แรม DDR 3 หรือ DDR 4 ตามที่เมนบอร์ดรองรับ ขนาด 4GB 
ฮาร์ดดิสก์ ความจุ 500 GB - 1 TB
การ์ดแสดงผล.      การ์ดแสดงผลรุ่นระดับล่าง เช่น NVDIA GT หรือ AMD Redeon
จอภาพ LCD ขนาด 17 - 19 นิ้ว

กลุ่มผู้ใช้งานระดับสูง / เกมส์เมอร์

การใช้งานสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงหรือเกมส์เมอร์ เรียกง่ายๆว่าผู้ชอบเล่นเกมส์ ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ควรที่จะมีประสิทธิภาพสูง สามารถทำงานด้านกราฟิก และเล่นเกมส์ภาพ 3D อย่างสวยได้ หากเน้นในความคุ้มค่า ควรใช้ประกอบเองจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด 

อุปกรณ์ รายละเอียด
ซีพียู Intel Core i5 , Core i7 และ AMD Ryzen
เมนบอร์ด Chipset Intel series สำหรับ intel และ AMD series สำหรับบอร์ด AMD
แรม DDR 3 หรือ DDR 4 ตามที่เมนบอร์ดรองรับ ขนาด 4GB 
ฮาร์ดดิสก์ ใช้ SSD ความเร็วสูงสำหรับ OS และฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล
การ์ดแสดงผล    การ์ดแสดงผลแบบ GTX และ RX ขึ้นไป
จอภาพ LCD ขนาด 23 นิ้ว ขึ้นไป อาจจะรองรับ 4K หรือมากกว่านั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช