ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำอย่างไรเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะใช้งานได้ยาวนาน

ทำอย่างไรเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะใช้งานได้ยาวนาน

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร หรือประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มาไว้เพื่อใช้งาน ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมานั้นไม่มีความทนทานหรืออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ชำรุด เท่าที่ผมได้สัมผัสมา อุปกรณ์และชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละส่วนนั้นมักจะชำรุดหลังหมดอายุการรับประกันเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ หรือ SSD พาวเวอร์ซัพหลาย หน่วยความจำแรม เป็นต้น

สาเหตุของการชำรุดเสียหายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์


1. แรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แรงดันไฟบ้าน 220โวลต์นั้น บางครั้งก็วิ่งไม่เต็มเฟส อาจจะได้ 200 โวลต์ หรือ 225 โวลต์ ซึ่งแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่บ้านจะมีค่า 220 บวกและลบ ไม่เกิน 10 โวลต์ คืออาจจะได้ 210 - 230 โวลต์ ถ้าน้อยหรือมากกว่านั้นก็มีผลต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์


2. ไฟตกไฟกระชาก นอกจากแรงดันไฟฟ้าน้อยไป ไม่เพียงพอแล้ว ไฟกระชากยิ่งเป็นตัวการทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชำรุดเสียหายได้อย่างรวดเร็ว หากวันนึงไปกระชากหรือไฟตกหลายครั้ง อุปกรณ์ที่พังก่อนคือฮาร์ดดิสก์แน่นอน

3. แรงดันไฟเลี้ยงจากพาวเวอร์ซัพพลายไม่เพียงพอ พาวเวอร์ซัพพลายหรือแหล่งจ่ายไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์เองก็มีผลเช่นกัน หากใช้งานไปนานย่อมเสื่อมสภาพไม่สามารถจ่ายไฟเลี้ยงได้เต็มที่
4. การกดปุ่มปิดเครื่องบ่อย อาการนี้มักจะเกิดจากความมักง่ายของผู้ใช้งาน การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สนิทแล้วรีบถอดปลั๊ก เช่น หลังเวลาเลิกงานปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ดันติดวินโดว์อัพเดต ทำให้เสียเวลาในการปิดเครื่อง พนักงานจะไม่รีรอให้เครื่องดับ จำเป็นต้องถอดปลั๊กออก การทำอย่างนี้บ่อยๆทำให้อุปกรณ์ชำรุดได้รวดเร็วเช่นกัน

การแก้ไขปัญหา

1. ในการเลือกซื้อหรือเลือกประกอบคอมพิวเตอร์นั้น ควรเช็กระยะรับประกันอุปกรณ์จากร้าน เพราะการรับประกันจากร้านส่วนใหญ่มักจะเป็น 1 ปี สำหรับคอมพิวเตอร์แบรนด์เนม ถ้าหากแบรนด์เนมไหนรับประกันเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ยาวนานมากกว่า 1 ปี หรือ 2 ปี ให้เลือกเครื่องนั้นได้เลย ส่วนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ให้ดูระยะรับประกันอุปกรณ์แต่ละชิ้น เช่น ระยะรับประกันฮาร์ดดิสก์ 5 ปี เมนบอร์ด 5 ปี และซีพียู 5 ปี เป็นต้น

2. ใช้ UPS หรือเครื่องสำรองไฟเพื่อรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า โดยเป้าหมายหลักของ UPS นั้นจะรักษาแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ที่ 220โวลท์ แล้วปล่อยออกไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน แบตเตอรี่ของเครื่อง UPS มีอายุการใช้งาน 2 ปี การตรวจเช็กแบตเตอรี่ UPS นั้นให้ทดสอบโดยการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ (ไม่ต้องรันโปรแกรมใดๆ เปิดเข้าวินโดว์อย่างเดียว) จากนั้นดึงปลั๊ก UPS ออกจากเต้าเสียบปลั๊กไฟ ให้สังเกตว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ดับหรือไม่ หากไม่ดับแปลว่าแบตเตอรี่ยังใช้ได้ แต่หากเครื่องคอมพิวเตอร์ดับตอนถอดปลั๊ก UPS แปลว่าแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ

3. ถ้าหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดประกอบเอง ให้เลือกใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพ ราคาแพงสักนิด (ประมาณ 1000 บาทขึ้นไป) เพื่อการจ่ายไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์


4. ไม่ควรกดปุ่มเปิดเครื่องแช่ไว้เพื่อทำการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์บ่อย(ถ้าเครื่องไม่แฮงค์) ควรใช้การซัตดาวน์เครื่องคอมพิวเตอร์จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด เท่านี้ก็ยืดอายุการใช้งานได้ยาวๆแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช