ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลงวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้า หลายคนที่ยังไม่รู้

ลงวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้า หลายคนที่ยังไม่รู้

ความเข้าใจผิดกับการลงวินโดว์ใหม่ของหลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า การลงวินโดว์ใหม่ การฟอแมตเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่นั้น จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้น บางครั้งความเข้าใจครั้งนี้อาจจะเป็นจริง แต่ก็ไม่ทั้งหมดสักทีเดียว เพราะการลงวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้า ไม่เร็วอย่างที่คิดเอาไว้นั้นก็มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าหลังจากติดตั้งวินโดว์ใหม่เข้าไป

ลงวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้า เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

1. อายุการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์จะเสื่อมสภาพการใช้งานเมื่อมีอายุการใช้งานหลายปี ทั้งนี้เกิดจากความร้อนภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เอง 

2. สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์เก่า ต่อจากอายุการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์เองก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้รันวินโดว์ช้า ติดตั้งวินโดว์ใหม่ยังไงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่เร็ว เพราะสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์เก่านั้นรันวินโดว์รุ่นใหม่ๆไม่ค่อยดีเท่าไหร่ 

ตัวอย่าง

ปีนี้ 2020 หรือปี 2563 มีลูกค้ายกเครื่องคอมพิวเตอร์มาให้ทำการติดตั้งวินโดว์ใหม่ โดยแจ้งว่าเครื่องช้า ต้องการติดตั้งวินโดว์ใหม่ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไป ระบบปฏิบัติการที่ใช้เป็น  Windows 7 32 bit และ CPU G630 (ปี 2014) RAM 2 GB  ซึ่งต้องการใช้ Windows 10 โดยสเปคเครื่องเท่านี้ การที่จะติดตั้ง Windows 10 64 bit แม้จะติดตั้งได้ แต่ความเร็วก็จะไม่สู้ Windows 7 32 bit ที่ติดตั้งมาก่อนหน้านี้ แต่ด้วยในปี 2020 ทางไมโครซอฟต์ได้ประกาศยกเลิกซัพพอร์ต Windows 7 ไปเรียบร้อยแล้ว สรุปง่ายๆคือ ติดตั้งวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้าลงกว่าเดิมแน่นอน

อีกทั้งระบบปฏิบัติการ และเว็บบราวเซอร์ที่อัพเดตตลอด ไมโครซอฟต์วินโดว์ มักจะมีการปล่อยอัพเดตแพทซ์ความปลอดภัยออกมาเสมอเพื่อแก้บั๊กและอุดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และเว็บบราวเซอร์ที่พัฒนา HTML5 ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก HTML5 นั้นจะประมวลผลทางเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราโดยผ่านเว็บบราวเซอร์จะเป็นตัวการในการกินทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นคือ RAM ดังนั้นสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก่าเกินไป เมื่อลงวินโดว์ใหม่ ก็ไม่ได้ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นแต่ออย่างใด และยังช้าลงกว่าเดิมอีกด้วย

เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าบางครั้งการอัพสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ไม่ได้ช่วยให้มากสักเท่าไหร่ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังใช้ CPU Duo Core หรือ Quad Core ใช้ RAM DDR2 อัพแรมจนสุดบางครั้งก็ใช้งานได้ไม่เร็วสักเท่าไหร่ เพราะระบบบัสในฮาร์ดแวร์ กับ วินโดว์ 10 เกิดความไม่เข้ากัน หรือเข้ากันไม่ได้ หรือไม่เพียงพอต่อการใช้งาน



3. พาวเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่นิ่ง จะรู้ได้อย่างไร ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ช้า เพิ่มสเปค ไม่ว่าจะเป็น RAM หรือ SSD แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ยังทำงานช้า หรือบางทีก็ค้างไปเลย อาการนี้พาวเวอร์ซัพพลายเสียอย่างเดียวเลยครับ 

4.ฮาร์ดดิสก์แก่ ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรวมทั้งระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นจานหมุน การใช้งานไปนานๆย่อมเสื่อมสภาพไม่เร็วเหมือนดั่งแต่ก่อน เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์แล้วอาการดีขึ้นแน่นอน ถ้าจะเห็นผลที่สุดคือเป็น SSD

5. RAM ไม่เพียงพอ สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ 10 นี้ แม้จะมีสเปคขั้นต่ำที่สามารถติดตั้งวินโดว์ได้ แต่มีโปรแกรมที่กินแรมอย่างโหดนั้นคือเว็บบราวเซอร์ของทุกค่าย เนื่องจากระบบเว็บปัจจุบันใช้ HTML5 ที่เป็น Java Script เป็นส่วนใหญ่ และ Java Script จะเป็นตัวประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา จะทำการจองพื้นที่แรมเอาไว้ ทำให้แรมไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช