ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การติดตั้ง Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์

การติดตั้ง Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์

Microsoft Teams เป็นผลิตภัณฑ์อีกชิ้นของบริษัทไมโครซอฟต์ สามารถใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลค์ หรือใช้ในการประชุมออนไลน์ก็ดีเช่นกัน เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนที่บ้านเมื่อมีสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น การเกิดโรคระบาดภายใน ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ดังนั้น Microsoft Teams ก็เป็นเครื่องมืออีกชิ้นในหลากหลายตัวเลือกของผู้ที่ต้องการจะใช้งาน ความสามารถในการเข้ากันได้ และความสะดวกในการใช้งานที่เกี่ยวกับ Microsoft ทั้งหลาย เช่น การใช้งาน MS Word, Ms Excel และ MS Power point ในการนำเสนองาน Microsoft Teams สามารถใช้งานร่วมกันผ่านบริการ One Drive ถือว่าดีเยี่ยมเลยทีเดียว ในบทความนี้จะกล่าวเริ่มต้นในการติดตั้งโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราครับ เดี๋ยวรายละเอียดการใช้งานจะค่อยๆทยอยเขียนมาครับ

การเข้าใช้งาน Microsoft Teams

การเข้าใช้งาน Microsoft Teams นั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีอีเมลที่เป็นของไมโครซอฟต์โดยเฉพาะ เช่น Hotmail, Live และ Outlook โดยทั้งสามอย่างที่กล่าวมานั้นเพียงมีอย่างใดอย่างนึงก็สามารถเข้าใช้งานได้แล้ว ให้ทำการลงชื่อเข้าใช้งานที่ลิงค์ด้านล่างนี้

https://products.office.com/th-th/microsoft-teams/group-chat-software

จากนั้นลงชื่อเข้าใช้งานด้วย user โดยใช้ Email และ Password ของผลิตภัณฑ์ไมโครซอฟต์ เช่น Hotmail, Live และ Outlook และ Password ของเมลนั้นๆ



เมื่อทำการ Login เข้ามาแล้วจะพบกับหน้าตา Microsoft Teams ที่ใช้งานผ่าน Web Browser ได้ เราจะใช้งานผ่าน Web Browser ก็ได้ หรือจะโหลดเป็น App ลงมาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ทั้งนี้ Microsoft Teams สามารถใช้งานได้ทั้ง Windows (เครื่อง PC ทั่วไป), OSX (เครื่องแมค), iOS (iPhone, iPad) และ Android (สมาร์ทโฟนที่ใช้งาน Android และแท็บเลต Android) 

ทั้งนี้การใช้งานผ่าน App โดยตรง จะมีการใช้งานที่ยืดหยุ่นกว่าการใช้งานใน Web Browser เช่น การเชื่อมต่อกล้อง การโทรผ่าน Microsoft Teams จะทำได้สะดวกกว่า เพราะ App จะมีการเข้าถึงอุปกรณ์ได้โดยตรง หากใช้งานผ่าน Web Browser การเข้าถึงอุปกรณ์บางอย่างอาจจะมีข้อจำกัดในการใช้งาน หรืออาจจะต้องอนุญาต Web Browser ทุกครั้งเมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์อื่น 

การโหลด App Microsoft Teams เมื่อ Login ผ่าน Browser เรียบร้อยแล้ว จะมีปุ่มให้ดาวนโหลด App อยู่ด้านล่างซ้ายมือครับ


ทำการดาวน์โหลดและติดตั้ง

เสร็จแล้วทำการ Login โดย user และ password ก็ตัวเดียวกันกับที่ใช้ Login ในหน้าเว็บครับ


เมื่อ Login ได้แล้วจะเป็นหน้าตาเดียวกันกับใน Web Browser ครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...