ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การฟอแมตแฟลชไดร์วให้เครื่องแมคและวินโดว์ใช้งานได้ร่วมกัน

การฟอแมตแฟลชไดร์วให้เครื่องแมคและวินโดว์ใช้งานได้ร่วมกัน


แฟลซไดร์ว (Flash Drive) ที่เราซื้อมาโดยส่วนใหญ่ จะผ่านการฟอแมตมาแล้วเพื่อให้สะดวกแก่การใช้งาน โดยผู้ผลิตจะทำการฟอแมตเป็นระบบ FAT32 มาให้ ซึ่งสามารถใช้งานได้ทันทีกับระบบปฏิบัติการวินโดว์ และลีนุกส์ แต่จะใช้กับแมคเลยไม่ได้ เพราะแมคใช้ระบบปฏิบัติการที่ชื่อว่า OS X ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่บริษัทแอปเปิ้ลพัฒนาขึ้นมา โดยใช้พื้นฐานของ Unix ลีนุกส์ก็เป็น Unix เช่นเดียวกัน แต่สามารถเขียนข้อมูลลงบน FAT32 ได้ เพราะลีนุกส์ก็มีระบบไฟล์ซิสเต็มอีกแบบ (File system) ที่ใช้เฉพาะของลีนุกส์ จะอธิบายย่อๆเท่าที่ผมทราบนะครับ

FAT32 เป็นระบบไฟล์ซิสเต็มของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งเป็นระบบเก่ามาก ใช้งานมาตั้งแต่ Windows 98 จนถึงปัจจุบันอาจจะยังมีใช้งานอยู่ ก็บนแฟลซไดร์วนี่แหล่ะครับ ระบบไฟล์ซิสเต็ม FAT32 จะไม่สามารถก็อปปี้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 4GB ได้ นั่นคือข้อจำกัดของมัน

NTFS เป็นระบบไฟล์ซิสเต็มของบริษัทไมโครซอฟต์เช่นกัน ปัจจุบันยังใช้งานอยู่ ตั้งแต่ Windows XP, Windows 7, Windows 8, Windows 8.1 และ Windows 10 ระบบไฟล์ซิสเต็ม NTFS จะรองรับไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ การฟอแมตแฟรซไดร์วให้เป็น NTFS ก็เป็นทางเลือกอีกทางที่จะใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows

ext2, ext3 ext4 เป็นระบบไฟล์ซิสเต็มที่ใช้งานบนลีนุกส์ การใช้งานที่คล้ายกันแล้วแต่เราจะเลือกใช้งาน ต่างกันที่การเขียนข้อมูล ext2 จะเขียนข้อมูลได้น้อยกว่า ext4 คล้ายกันกับ FAT32 กับ NTFS ของ Windows ครับ

APFS เป็นไฟล์ซิสเต็มของแมค ซึ่งใช้งานกับระบบของ OS X ของตนเอง ซึ่ง APFS ก็จะมีแยกย่อยลงไปให้ใช้งานอีก เช่น APFS แบบเข้ารหัส เป็นต้น

สุดท้ายคือ ตัวที่จะทำให้ระบบปฏิบัติการ OS X กับ Windows เขียนข้อมูลด้วยกันได้นั่นคือ

exFAT เป็นไฟล์ซิสเต็มของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งทำออกมาแทนที่ระบบ FAT32 สามารถเขียนข้อมูลได้ใหญ่กว่า 4 GB ซึ่งอ่านและเขียนได้ทุกแพลตฟอร์ม

จากการใช้งานจริง ถ้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระหว่าง Windows และ Windows จะฟอแมตแฟลซไดร์ว เป็น NTFS ก็สามารถใช้งานได้ เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการชนิดเดียวกัน และอาจจะสามารถใช้กับลีนุกส์(บางรุ่น)ได้เช่นกัน แต่ Windows ที่ใช้งานไฟล์ซิสเต็ม NTFS จะไม่สามารถอ่านข้อมูลจากไฟล์ซิสเต็ม APFS ของแอปเปิลได้ แต่แอปเปิ้ล อ่านไฟล์ซิสเต็ม NTFS ของ Windows ได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงได้

ดังนั้น การที่จะทำให้แฟลซไดร์วของเราใช้งานระหว่าง Windows กับ Mac ได้ ต้องฟอแมตเป็น exFAT เท่านั้น แต่บางทีก็มีข้อยกเว้นเช่นกัน คือใช้แอฟพลิเคชันที่ชื่อว่า Tuxera NTFS หรือ Paragon NTFS ที่ใช้ในเครื่อง Mac เท่านั้น (แต่เป็นแอฟพลิเคชันจ่ายเงิน)

การฟอแมตแฟลชไดร์วให้เครื่องแมคและวินโดว์ใช้งานได้ร่วมกัน 

ทำการเสียบแฟลซไดร์วเข้าไปที่เครื่อง Mac แล้วเข้าที่ Launchpad --> Other เลือก Disk Utility 

เลือกแฟลซไดร์วที่ช่องด้านซ้าย แล้วกดปุ่ม Erase ด้านบน (Erase คือลบข้อมูลในแฟลซไดร์วนะครับ ดังนั้นควรก็อปปี้ข้อมูลออกให้หมดก่อนทำการฟอแมต)

ในช่องด้านบนให้ตั้งชื่อแฟลซไดร์วครับ ส่วนช่องด้านล่างเลือก exFAT แล้วกดปุ่ม Erase ได้เลยครับ จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะทำการฟอแมตจนเสร็จครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...