ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเอาภาพจากโทรศัพท์ขึ้นจอในรถยนต์

การเอาภาพจากโทรศัพท์ขึ้นจอในรถยนต์

การเอาภาพจากโทรศัพท์ขึ้นจอในรถยนต์ หรือการที่เราจะเปิด Youtube หรือ TV Online ต่างๆ จากโทรศัพท์มือถือขึ้นจอในรถยนต์
จะทำอย่างไรเมื่อรถยนต์ของคุณเป็นจอทีวีที่ฟังเพลงและสามารถดูหนังได้ แต่จอทีวีในรถนั้นเล่นได้แต่แผ่นดีวีดีหรือแผ่นซีดีเท่านั้น จะดูหนังฟังเพลงก็ต้องไป Write แผ่นดีวีดีเพลงหรือหนังมาใช้งานในรถยนต์เวลาที่คุณเดินทาง พอเล่นจบแผ่น เล่นไปเล่นมาก็เบื่อ บางครั้งอยากจจะดูทีวีออนไลน์ หรือดู Youtube ในรถ แต่ในเครื่องเล่นไม่มี App Youtube หรือ TV Online ให้เล่นซะงั้น อย่าปล่อยให้จอทีวีในรถเป็นเพียงจอทีวีเครื่องเล่นที่ธรรมดาครับ เอามาใช้งานเป็นสมาร์ททีวีดีกว่า

#ก่อนทำการซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งต้องตรวจหาช่องเสียบ HDMI เครื่องเล่นจอทีวีในรถ ว่ามีหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถทำการส่งไฟล์ไปจอทีวีได้ครับ เราจะซื้ออุปกรณ์มาเสียทิ้งเปล่าๆ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้ง (ทั้งนี้ต้องดูเครื่องเล่นบนรถยนต์ด้วยว่าจอทีวีรองรับ HDMI input หรือไม่)
1. Chromecast หรือ EZ-Cast หรืออุปกรณ์สำหรับส่งภาพหน้าจอ แคสหน้าจอ (ถ้าให้แนะนำ แนะนำเป็น Chromecast ของ Google ดีกว่าครับ)


2. Pocket Wi-Fi หรือตัวกระจายสัญญาณ Wi-Fi โดยใช้ซิมการ์ด อาจจะใช้ยี่ห้ออื่นที่ไม่ใช่ตามรูปนี้ก็ได้ครับ เพียงแค่ใส่ซิมแล้วปล่อยเน็ตได้

3. ซิมโทรศัพท์มือถือที่เปิดใช้บริการอินเตอร์เน็ต
4. สมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือ หรือจะใช้เครื่องของตนเองหรือของใครก็ได้ครับ เพราะตัวนี้เอาไว้ส่งภาพหน้าจอจากมือถือเข้าจอรถยนต์
5. พาวเวอร์แบงค์ หรือหากในรถมีที่เสียบ USB จำนวน 2 จุด พาวเวอร์แบงค์ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ครับ

การใช้งาน

1. ตรวจหาช่องเสียบ HDMI เครื่องเล่นจอทีวีในรถ ว่ามีช่องเสียบ HDMI หรือไม่ 

2. ตรวจสอบช่องเสียบ USB ว่ามีเยอะกว่า 1 ช่องหรือไม่ หากมีเยอะกว่า 1 ช่อง จะมีมาก เพราะ ใช้เสียบเป็นไฟเลี้ยง Chrome cast และชาร์จ Pocket Wi-Fi เพราะหากเดินทางไกล Pocket Wi-Fi ไม่ไหวแน่ครับ แบตหมดก่อน ใช้ได้เพียงแค่ชั่วโมงกว่าเอง
3. เสียบ Chome cast เข้ากับรถ โดยสาย HDMI ของ Chrome cast เสียบเข้ากับช่อง HDMI ของรถยนต์ และไฟเลี้ยง Chrome cast เสียบเข้ากับช่อง USB ของรถยนต์ ลักษณะการใช้งาน Chrome cast ใช้งานเช่นเดียวกับเสียบเข้ากับทีวีในบ้านทุกประการ
4. เปิด Pocket Wi-Fi แล้วใช้ Smartphone เชื่อมต่อกับ Pocket Wi-Fi
5. ติดเครื่องยนต์ เปิดเครื่องเสียงแล้วเลือก input HDMI รอให้ Chomecast boot เสร็จจะขึ้นหน้าจอให้ตั้งค่า (กรณีตั้งค่ามาแล้วให้ทำการรีเซ็ท Chrome cast ใหม่เพราะต้องเชื่อมกับ Wi-Fi ตัวใหม่)
6. ให้โหลด Google Home จาก Play store (android) หรือ app store (apple)
7. เมื่อโหลดเสร็จแล้วให้เปิด App Home ขึ้นมาแล้วทำตามคำแนะนำใน App จะพาคุณตั้งค่า Chomecast ให้เอง

เท่านี้ก็เสร็จสิ้นการตั้งค่าแล้วครับ จากนั้นเราจะทำการ Cast Youtube ขึ้นจอรถยนต์ โดยใช้สมาร์ทโฟนเข้าเชื่อมต่อ Wi-Fi ตัวเดียวกับ Chromecast แล้วเปิด App Youtube ในการเล่นเพลงหรือคลิปที่ต้องการ จะปรากฏไอคอน Cast หน้าจอให้เห็นด้านบนของ App Youtube

เพียงเท่านี้ ก็เล่น Youtube บนจอรถยนต์ได้แล้วครับ

สำหรับการดูทีวีออนไลน์ ก็จะมีบางแอฟที่รองรับการ Cast หน้าจอจาก Chromecast คือ ais play และ Look TV สองแอฟนี้นะครับ เท่าที่ลองใช้มา เพียงแต่ตอนที่ผมเขียนบล็อกนี้ เน็ตยังไม่ค่อยแรงเท่าไหร่ ขับรถสัญญาณค่อนข้างจะหลุดบ่อยครับ

สุดท้าย อุปกรณ์ที่เป็นแบตเตอรี่ เช่น พาวเวอร์แบงค์ และ Pocket Wi-Fi ให้นำออกจากรถทุกครั้งเวลาไม่อยู่ในรถ เพราะหากนำรถไปจอดตากแดดไว้โดยที่ไม่นำอุปกรณ์พวกนี้ออก แบตเตอรี่อาจจะระเบิดก็ได้ครับ

ท้ายนี้บทความนี้หากขาดตกบกพร่องอะไรไป ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช