ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเปิด Network Adapter อย่างรวดเร็ว และการสร้าง Shortcut Network Adater

การเปิด Network Adapter อย่างรวดเร็ว และการสร้าง Shortcut Network Adater ใน Windows 10

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Windows 10 หากใช้งาน 2 เครือข่าย โดยวิธีการสลับไปสลับมาบ่อยๆ คงจะน่าเบื่อหน่าย ยกตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ผมทำงานในองค์กร การใช้งานต้อง Login username : password ในหน้าเว็บ Login เสมอ เมื่อวันใดวันนึง Internet ขององค์กรล่ม และใช้งานไม่ได้ ไฟร์วอลขององค์กรจะยังทำหน้าที่แจก IP Address ต่อไป หากมีการนำอินเตอร์เน็ตจากแหล่งอื่นมาใช้งานเพิ่ม เช่นการแชร์ hotspot จากมือถือ และโดยปกติแล้วระบบ Windows จะใช้งาน network adapter ที่เป็นสายแลนเป็นหลัก หากมีการเชื่อมต่อสายแลนและตัวเร้าท์เตอร์ทำการแจก IP Address มา Windows ก็จะสั่งให้ส่งผ่านข้อมูลเครือข่ายออกไปที่ระบบแลนก่อนเสมอ หากระบบแลนใช้การไม่ได้ หรือไม่มีสัญญาณมา Windows ก็จะสั่งให้ออกทางสำรองโดยอัตโนมัติ นั่นคือ Wi-Fi network หรือไม่ก็ USB ดังนั้น การที่เราจะมานั่งถอดสายแลนเพื่อให้ windows ส่งข้อมูลออกไปทาง Wi-Fi network หรือไม่ก็ USB ที่เชื่อมต่อกับเครื่องที่ปล่อย Hotspot ไว้ คงไม่ดีเท่าไหร่นัก เพราะบางทีเครื่องคอมพิวเตอร์ก็วางอยู่ด้านล่าง วางอยู่ในจุดที่เอื่อมมือเข้าไปไม่ถึง มันก็จะมีอีกวิธีนึงคือ ปิดการทำงานของการ์ดแลนในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้คำสั่ง
จากรูปตัวอย่างด้านบนจะเป็นการคลิ๊กเข้าไปเพื่อปิดการทำงานของ Network card หรือการ์ดแลนที่ใช้สายแลน จะเห็นว่า เราต้องคลิ๊กถึง 3 หน้าจอเพื่อที่จะเข้าไปในหน้าจอของ Network Connection ซึ่งบางคนก็อาจจะลืมว่าเข้าที่เมนูไหน

ดังนั้น การที่จะเข้าสู่หน้าจอ Network Connection ได้อย่างรวดเร็วนี้ สามารถทำได้โดย กดปุ่ม

Windows (ที่คีย์บอร์ด อยู่ระหว่างปุ่ม Ctrl กับ Alt)   กับปุ่ม R

Win+R
เพื่อเรียกหน้าจอ Run ขึ้นมา จากนั้นพิมพ์คำว่า

ncpa.cpl

แล้วกด Enter  

หรือพิมพ์คำว่า (copy ไปวางเลยก็ได้ครับ)

explorer.exe shell:::{992CFFA0-F557-101A-88EC-00DD010CCC48}

หรือพิมพ์คำว่า (copy ไปวางเลยก็ได้ครับ)

explorer.exe ms-settings:network

แล้วกด Enter

เพียงเท่านี้ก็ไปที่หน้าจอ Network Connection  ได้อย่างรวดเร็วโดยที่เราไม่ต้องมาคลิ๊กหลายครั้งแล้วครับ แต่มันก็จะเป็นปัญหาในเรื่องของการจำคำสั่งอีก ให้เราสร้าง Shortcut ไว้ที่หน้า Dekstop แล้วคลิ๊กเอาเลยดีกว่า

เริ่มแรก คลิ๊กพื้นที่ว่างๆ ที่หน้า Desktop แล้วเลือก new --> shortcut

จากนั้นใส่คำสั่ง ncpa.cpl หรือ explorer.exe shell:::{992CFFA0-F557-101A-88EC-00DD010CCC48} หรือ explorer.exe ms-settings:network ให้เลือกเอาคำสั่งใดคำสั่งนึงครับ 

ทำการตั้งชื่อให้เรียบร้อย แล้วแต่สะดวกเราเลยครับ เสร็จแล้วคลิ๊ก Finish

ทำการเปลี่ยน icon ที่หน้า Desktop ให้มันคือๆสักนิด ใครไม่อยากเปลี่ยนก็ไม่เป็นไรครับ ถือว่าจบบทความ แต่ถ้าอยากเปลี่ยนคลิ๊กต่ออีกนิด ตามรูปได้เลยครับ


เลือก OK แล้วกด Apply หน้าจอด้านล่างแล้วก็ OK เป็นอันเสร็จสิ้นครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช