ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้คำสั่งตรวจเช็ค IP Address อย่างง่าย

การใช้คำสั่งตรวจเช็ค IP Address อย่างง่าย

การใช้งานระบบเครือข่ายภายในบ้านหรือภายในองค์กร จะมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระหว่าง Router เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นระบบ Lan ที่ใช้สาย UTP-Cat5 หรือ UTP-Cat6 และระบบเครือข่ายไร้สาย ( Wireless Lan) โดยในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายนี้ Router จะทำการแจก IP Address มาให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกัน (ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบเครือข่าย หรือการตั้งค่า Router ให้แจก IP Address ระหว่างคลาสใดบ้าง A, B,C) หากเป็นระบบเครือข่ายภายในบ้านหรือออฟฟิศเล็กๆ มักจะใช้  IP Address Class C  เช่น 192.168.0.1 - 192.168.0.255 หรือ 192.168.1.1 - 192.168.1.255 ซึ่งแล้วแต่หน่วยงานหรือองค์กรอาจจะใช้ IP Address Class อื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่อุปกรณ์ประจำบ้านหรือค่าเริ่มต้นของอุปกรณ์ Router จะแจก IP Address Class C มาให้ซึ่งก็คือ  192.168.0.1 - 192.168.0.255 หรือ 192.168.1.1 - 192.168.1.255 ประมาณนี้
หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้รับ IP Address จะไม่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ดังนั้นเราควรจะตรวจสอบ IP Address ว่าได้รับมาถูกต้องหรือไม่
การใช้คำสั่งตรวจเช็ค IP Address อย่างแรกคือ เปิดโปรแกรม Command promt ขึ้นมา โดยกดปุ่ม Start (ปุ่มรูป Windows บนคีย์บอร์ด) แล้วพิมพ์คำว่า cmd แล้วกด Enter

จากนั้นพิมพ์คำว่า ipconfig แล้วกด Enter
จะปรากฏข้อมูลในกรอบสีแดง คือ
Link-Local IPv6 Address คือหมายเลข IP Address version 6 ถ้าเป็นในบ้านหรือองค์กรจะยังไม่ได้ใช้ส่วนนี้ครับ 
IPv4 Address คือ IP Address ที่เครื่องได้รับ 192.168.43.59 หากได้รับ IP Address ถูกต้องจะต้องดูที่บรรทัด Default Gateway ด้วย
Sunet Mask คือ 255.255.255.0 การแบ่ง IP Address ออกเป็นช่วงใช้งาน ในการตรวจเช็ค IP Address จะไม่จำเป็นต้องทราบรายละเอียดก็ได้ เพราะตัวกำหนดช่วงใช้งานคือ Router
Default Gateway คือ 192.168.43.195 เส้นทาง หรือ ประตูการออกไปสู่ระบบเครือข่ายภายนอกหรืออินเตอร์เน็ต
การที่เราจะทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้รับ IP Address ที่ถูกต้องจาก Router หรือไม่ ให้ดูที่ตัวเลขที่ Router แจกมา คือ 192.168.x.x หรือตัวเลขชุดอื่น (ยกเว้น 169 ขึ้นต้น) แล้วต้องตรวจเช็คว่า IP Address ตรงกับ Default Gateway หรือไม่ โดยตัวเลข IP Address กับ Default Gateway จะต่างกันที่ตัวสุดท้าย จากในรูปด้านบน IP Address = 192.168.43.59 และ Default Gateway = 192.168.73.195 ซึ่งตัวสุดท้ายคือ 59 และ 195 นั้นหมายถึงว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้รับ IP Address ที่ถูกต้องครับ
(หากได้รับตัวเลขไม่ตรงกัน จะไม่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายภายในได้ ให้ทำการตรวจสอบการตั้งค่าในการ์ด LAN หรือไม่ก็ Router ครับ)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...