ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีการแก้ไข เมื่อต้องการไฟล์จากเครื่อง Mac ลงในแฟลซไดร์ที่เป็น NTFS ของ Windows

วิธีการแก้ไข เมื่อต้องการไฟล์จากเครื่อง Mac ลงในแฟลซไดร์ที่เป็น NTFS ของ Windows

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผมต้องการไฟล์ในเครื่อง Mac ที่เป็น OS X ลงใน Flash drive และบังเอิญว่า Flash drive เป็น NTFS ซึ่งมีข้อมูลเก็บไว้ในนั้นอยู่ ไม่สามารถฟอแมตได้ ผมได้แต่ครุ่นคิดหาวิธีการแก้ไข และมันไปได้ยากที่จะเขียนข้อมูลลงใน Flash drive ที่เป็น NTFS โดยไม่ใช้โปรแกรมช่วยอย่าง Paragon Software หรือ Tuxera ได้เลย ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ต้องจ่ายเงินทั้งสอง หากไม่มีโปรแกรมพวกนี้ในเครื่อง Mac ของเราจะทำอย่างไรดี


1. ทำการ Copy ข้อมูลใน Flash drive ออกมาไว้ในเครื่อง Mac ที่กำลังใช้งานอยู่ จากนั้นทำการฟอแมต Flash Drive ให้เป็น exFAT แล้วทำการ Copy ข้อมูลเข้าไปเหมือนเดิม บทความที่ผ่านมาตามนี้เลยครับ การฟอแมตแฟลชไดร์วให้เครื่องแมคและวินโดว์ใช้งานได้ร่วมกัน แล้วก็เพิ่มข้อมูลที่เราต้องการใช้งานได้เลย แต่บางทีอาจจะต้องเผื่อใจสักเล็กน้อย พี่วินบางเครื่องไม่อยากจจะอ่าน exFAT สักเท่าไหร่

2. ทำการ Share File ในเครื่อง Mac ให้ทำการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาในเครื่อง ก็อปปี้ข้อมูลที่ต้องการ แล้วทำการแชร์โฟลเดอร์นั้น แต่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่เป็น Windows เชื่อมต่อเครือข่ายอยู่ด้วย

 โดยที่ เปิด System Preferences ขึ้นมา แล้วเลือก
1) Sharing
2) หากกุญแจล็อกไว้ให้ทำการปลดล็อก
3) เลือกที่ File Sharing
4) กดปุ่ม +
5) เลือกตำแหน่งโฟลเดอร์ที่สร้างไว้
6) กด +
7) กำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานได้ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง Read & Write (อ่านและเขียน) , Read Only (อ่านอย่างเดียว), No Aceess (ไม่มีสิทธิอะไรทั้งสิ้น)
8) พาธที่แชร์
จากนั้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windows หรืออาจจะเปิดไว้รอแล้วก็ตามแต่ เชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้ามา ให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi หรือ LAN ก็ได้
( ปุ่ม start หรือปุ่ม windows ที่อยู่บนคีย์บอร์ด อยู่ระหว่าง Ctrl กับ Alt )
ให้กดปุ่ม Start และปุ่ม R พร้อมกันจะขึ้นหน้าจอ Run แล้วให้พิมพ์ พาธที่แชร์ ตามข้อ 8) ด้านบน
smb://192.168.1.3 แล้วกด Enter จากนั้น Login เข้าตามสิทธิที่ตั้งไว้ในข้อที่ 7) ครับ จะเข้าถึงโฟลเดอร์ที่เราแชร์ไว้แล้วสามารถก็อปปี้ข้อมูลที่เราต้องการลงในแฟลซไดร์วได้เลย แต่ข้อเสีย หากไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windows ก็ไม่สามารถก็อปปี้ข้อมูลได้เช่นกัน

3.ตรวจสอบ Router ว่ามีพอร์ต USB หรือไม่ หากมีและเราท์เตอร์รองรับ USB Flash Drive ก็ให้ทำการเสียบ Flash Drive เข้า Router แล้วทำการ Map Drive เข้าไป ก็ส่งไฟล์ผ่าน Router ไปเลยครับ หาก Router ไม่รองรับการ Map Drive ก็ให้ติดตั้ง File zilla แล้วอัพโหลดผ่านพอร์ต 21 ไปเข้า Router
#ข้อนี้ไม่ขอเขียนอธิบาย ถ้าไม่มีความรู้พื้นฐานจะทำได้ยากครับ ข้ามไปได้เลย

4. ลืมเรื่อง Flash Drive แล้ว Upload ขึ้น Google drive ตามหัวข้อเลยครับ เมื่อไม่มีทางแล้วก็ใช้วิธีผ่าน Cloud เอาดีกว่าไม่ว่าจะเป็น Google drive, Dropbox, One Drive, 3BB Cloud Drive ก็ตามแต่

5. ซื้อ Paragon Software หรือ Tuxera เลยครับ จบนิดๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช