ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Windows 7 หยุดให้บริการ อัพเกรดเป็น Windows 10 อย่างไร

Windows 7 หยุดให้บริการ อัพเกรดเป็น Windows 10 อย่างไร


บริษัทไมโครซอฟต์ได้ออกมายืนยันว่า ได้หยุดสนับสนุนและพัฒนา รวมทั้งอัพเดตแพทซ์ความปลอดภัยของ Windows 7 ทุกรุ่น เป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ถ้านับในวันเปิดตัวของ Windows 7 ก็ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 เป็นเวลาเกือบ 11 ปี ที่ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 7 ได้ใช้งานต่อเนื่องยาวต่อจาก Windows XP (ซึ่งก่อนจะถึง Windows 7 ก็ผ่านมาหลายรุ่นเช่นกัน เช่น Windows Longhorn ,Windows vista) ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าใจหายเช่นกัน เพราะต้องเปลี่ยนระบบปฏิบัติการกันทั้งระบบ แต่ก็ใช่ว่าจะใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่ได้ ตอนนี้ก็ยังคงใช้งานได้เรื่อยๆครับ จนกว่าโปรแกรมใหม่ที่ออกมาจะไม่รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 7 ในอนาคต

ข้อเสียของการหยุดพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows 7

1. การจากไปของ Windows 7 สิ่งแรกเลยจะทำให้ระบบ 32 bit หายไปจากโลก เพราะระบบปฏิบัติการ Windows 10 ในปัจจุบัน จะมีเพียงแค่ 64 bit ไม่สามารถใช้งาน 32 bit ได้
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ 32 bit จะไม่สามารถติดตั้ง Windows 10 64 bit ได้ ทำให้ต้องลงทุนจัดซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่
3. อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Windows 7 32 bit เช่น เครื่องพิมพ์รุ่นเก่าบางรุ่น จะไม่สามารถนำมาใช้กับ Windows 10 64 bit ได้
4. โปรแกรมที่ใช้งานกับ Windows 7 โดยเฉพาะ บางโปรแกรมจะไม่สามารถนำมาใช้กับ Windows 10 ได้
5. ต้องเสียเงินซื้อระบบปฏิบัติการ Windows 10

เท่าที่คิดออกก็มีเท่านี้ล่ะครับ

มาถึงการอัพเกรดจาก Windows 7 เป็น Windows 10 กันบ้างครับ


1.ใครที่ใช้ Window 7 32 bit ให้ทำการตรวจสอบสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือตรวจสอบ CPU ในเครื่องว่าเป็นแบบ 64 bit หรือไม่ หากไม่ใช่ 64 bit ไม่ต้องอัพเกรดครับ  เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณรับได้แค่นั้น
2. ใครที่ใช้ Windows 7 64 bit แท้ แล้วต้องการอัพเกรดเป็น Windows 10 สามารถซื้อเองได้เลยจาก Microsoft Store แต่ราคาก็เอาเรื่องเช่นกัน เพราะหมดเวลาอัพเกรดฟรีไปแล้วเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2016 ก็ต้องทำใจครับ ใช้ Windows 7 ต่อไป
3. ให้ทำการ Back up ข้อมูลออกจากเครื่องไปไว้ที่ Drive อื่น ก่อนทำการอัพเกรด ทั้งนี้ให้ติดตั้งแบบ Clean install drive C จะดีที่สุด
4. หากไม่สามารถทำด้วยตนเองได้ ควรให้ช่างคอมพิวเตอร์ตรวจสอบและจัดการครับ

สรุป การอัพเกรดระบบปฏิบัติการจาก Windows 7 ไปยัง Windows 10 แบบฟรีๆ ไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องซื้อระบบปฏิบัติการใหม่สถานเดียว หากยังไม่ต้องการซื้อระบบปฏิบัติการใหม่ ให้ใช้ ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ต่อไปได้ เนื่องจากโปรแกรมหลายโปรแกรมยังรองรับการทำงานอยู่ และเนื่องจากระบบปฏิบัติการ Windows 7 ได้หยุดพัฒนาแพทซ์ความปลอดภัยในเครื่องจะทำให้เกิดช่องโหว่ ให้จัดการซื้อแอนตี้ไวรัสมาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้แทนครับ

ขอบคุณที่เสียสละเวลาอ่านซะยาวครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช