ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การติดตั้งอัพเกรด SSD ใน iMac ปี 2011


การติดตั้งอัพเกรด SSD ใน iMac ปี 2011 


11 มกราคม 2020 ผมได้ทำการติดตั้ง SSD เพิ่มในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ Apple iMac mid 2011 21.5” ซึ่งจากเดิมใช้ฮาร์ดดิสก์ที่ติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์มาตลอด ได้เพียงแค่เพิ่มแรมเป็น 8GB เท่านั้น และเครื่องคอมพิวเตอร์ของ Apple นั้นเท่าที่สังเกต ส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาในแต่ละปีนั้น อุปกรณ์นั้นไม่ได้สามารถใช้ด้วยกันยืนยาวได้ การซื้ออุปกรณ์เพื่อมาเพิ่มเติมใส่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ต้องดูให้ละเอียดจริงๆ



สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ iMac mid 2011 ขนาดจอ 21.5 นิ้ว



CPU : Intel core i5

Memory : 1333 MHz DDR3 จากเดิม 4GB เพิ่มเป็น 8GB

Harddisk : 500GB

Graphics : AMD Redeon HD 6750M 512MB



OS ล่าสุดคือ macOS High Sierra



อุปกรณ์ที่ทำการอัพเกรดคือ : Samsung Evo 860 500GB

การติดตั้ง SSD แบบอัพเกรดนั้น จะมี 3 วิธี คือ

1.  การติดตั้งทดแทน คือการติดตั้ง SSD เข้าไปแทน Harddisk ที่ใช้งานอยู่แล้ว การติดตั้งแบบนี้ค่อนข้างที่จะง่าย เพราะทำการติดตั้งทดแทน ไม่ต้องทำอะไรมาก เนื่องจากไม่มีการรื้อสายพาวเวอร์กับสายข้อมูล (Sata) ของ Harddisk อยู่แล้ว เพียงแค่ทำการถอด Harddisk ออกมาแล้วใส่ SSD เข้าไปแทนได้เลย แต่จะมีข้อเสียคือ เนื่องจาก Harddisk จะมีการติดตั้ง Sensor วัดความร้อนที่ตัวเครื่อง หากทำการเปลี่ยน Harddisk เป็น Harddisk จะไม่มีปัญหาเนื่องจากขนาดของ Harddisk เท่าเดิม แต่ SSD มีการลดขนาดลงไปมาก ไม่สามารถจับความร้อนโดย Sensor ได้ การติดตั้งจึงต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มคือ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนใน SSD คือสาย OWC In-line Digital Thermal Sensor ซึ่งหาซื้อได้ที่ Ebay หรือ Amazon ราคาก็เรียกว่าแพงพอสมควร (ประมาณ 1800 บาท ยังไม่รวมค่าส่ง) หากไม่ติดตั้งอุปกรณ์ชิ้นนี้จะทำให้พัดลมทำงานมีเสียงดังตลอด หรืออีกทางแก้ไขคือ ติดตั้ง SSD เข้าไปแล้ว ให้ Download Software เพื่อควบคุมความเร็วของพัดลมเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ได้
2. การติดตั้งแทน DVD - RW เป็นการติดตั้งเข้าไปแทนที่ DVD - RW ที่มีอยู่ภายในเครื่อง การติดตั้งแบบนี้ เป็นการแทนที่ DVD - RW แต่ไม่ได้เอาออก เนื่องจากมี Sensor ความร้อนคอยตรวจเช็คเช่นกัน การติดตั้งแบบนี้จะใช้งาน DVD - RW ในเครื่องไม่ได้ เนื่องจากต้องถอดสายพาวเวอร์และสายข้อมูล (Sata) ออกไปใส่ SSD แทน ดังนั้น หากมีแผ่น CD หรือ DVD มาเพื่อเปิดใช้งาน ต้องใช้ DVD External แทน การติดตั้งในข้อนี้ ถือเป็นทางเลือกอีกอย่างนึง เนื่องจากปัจจุบันได้ลดการใช้งานแผ่น CD และ DVD ลงไปมากแล้ว แต่ถ้าจะ Write แผ่น CD หรือ DVD เพลงไปฟังในรถแล้วก็ต้องเสียใจด้วยครับ ใช้ USB แทนเอาครับ
3. การติดตั้งเพิ่ม เป็นการติดตั้ง SSD เพิ่มเติมเข้าไป โดยที่ไม่ต้องเสีย DVD-RW หรือ ถอด Haddisk ตัวเดิมออกแต่อย่างใด เมื่อติดตั้งเสร็จ ก็สามารถใช้ Harddisk ไว้เก็บข้อมูลแทนและใช้งาน DVD-RW ได้อีกด้วย 

โดยบทความนี้จะพาทำในข้อที่ 3 ครับ เนื่องจากผมไม่ต้องการถอด DVD-RW ออก แม้จะไม่ได้ใช้งานก็ตาม ยังอยากคงความเป็นดั้งเดิมเอาไว้ครับ


เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้

  1. ไขควง หัวดอกจัน หรือไขควง 6แฉก ขนาด T10 และ T5
  2. คีมแหนบ หรือ แหนบ เอาไว้คีบหัวสกรู
  3. สาย Sata III (มันก็ไม่ต่างอะไรกับสาย Sata II หรือสาย Sata ธรรมดา ก็ใช้งานได้ครับ)
  4. สายพาวเวอร์สำหรับ SSD ถ้าหากจะเลือกใช้เกรดดีๆ ก็ราคา 700 - 800 บาท จาก Amazon หรือ Ebay ซ้ำยังต้องเสียค่าส่งอีก ผมค้นหาสายพาวเวอร์นี้ได้จาก Aliexpress ซึ่งส่งมาจากประเทศจีน ใช้เวลาสั่งซื้อประมาณ 1 สัปดาห์ ถือว่าใช้ได้ครับ โดยสั่งจาก ที่นี่
  5. ที่ดูดกระจก หรือจะใช้ที่ดูดกระจกสำหรับยึดโทรศัพท์ก็ได้ จำนวน 2 อัน
  6. เทปกาวสองหน้าแบบโฟม
  7. ไขควงแฉกเล็ก
    ที่ดูดกระจก

    สาย Sata III
    เทปกาวสองหน้าแบบโฟม

    สาย Power สำหรับ SSD ของ iMac

    แหนบคีบ

    ไขควงหัวดอกจันหรือไขควงหกแฉก


เริ่มลงมือ

อย่างแรกคือ ต้องขออภัยเนื่องจากไม่ได้ถ่ายภาพตอนถอดและเปลี่ยนไว้ เพราะทำอย่างใช้สมาธิตาม youtube เพราะหากพลาดคือ พัง กับ พัง ครับ เพราะอะไหล่หายาก

ให้ใช้ที่ดูดกระจกสองอัน ติดมุมด้านบนทั้งสองข้างแล้วดึงกระจกออก จัดเก็บหน้าจอกระจกให้เรียบร้อย ระวังตก หรือเด็กซนวิ่งแล้วตกแตกด้วยครับ ในขั้นตอนการดึงไม่ได้ใช้แรงมากนะครับ เนื่องจากเป็นแม่เหล็กแรงดูดสูงดูดยึดไว้


ใช้ที่ดูดกระจก ดึงกระจกหน้าออก

จากนั้นใช้ไขควงหกแฉกเบอร์ T10 ไขสกรูออกทั้งหมด 8 ตัว ตามจุดแดงในรูป และในระหว่างไขออกให้ใช้แหนบจับไว้แล้วค่อยดึงออกมาพร้อมไขควง เนื่องจากเป็นแม่เหล็ก เวลาใช้ไขควงจะลำบากสักนิดครับ โดยทำการไขจากบนขวาลงล่าง แล้วค่อยไขด้านซ้ายบนลงล่างครับ


จากนั้นแง้มจอออกเล็กน้อย ระวังสายแพรด้วยครับ แง้มจอออกมานิดนึงให้ทำการถอดสายแพรที่เชื่อมต่อกับจอจะมีสายแพรที่เชื่อมต่อกับจอ 4 จุด



บนซ้าย


กลางซ้าย


กลางจอ


สายแพรใหญ่

หลังจากที่ถอดสายออกหมดแล้วให้ทำการยกจอออกไปเก็บไว้ในที่ห่างเด็ก ห่างสัตว์เลี้ยงครับ ระวังหลุดมือด้วยครับ

ขั้นตอนต่อไปทำการถอด DVD-RW ออกมา ไขน็อต 4 จุด จะมีน็อตตัวนึงที่มีหัวใหญ่กว่าตัวอื่นใน DVD-RW แล้วให้ถอดสายตรวจเช็คความร้อนออกจากเมนบอร์ดด้วย ยก DVD-RW ขึ้นมาแล้วถอดสายพาวเวอร์ออก แล้วค่อยๆ ดึง DVD-RW ออกมา





น็อตหรือสกรูภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถอดออกมาในดังที่กล่าวมานี้ มีขนาดความยาวเท่ากันหมด ยกเว้น น็อตที่ยึดกับ DVD-RW ตัวเดียว

หลังจากที่จะเริ่มทำการถอดน็อตหรือสกรูที่ยึดเมนบอร์ด 4 ตัวจะมีความยาวไม่เท่ากัน ให้แยกน็อตหรือสกรูออกจากกันด้วย


ทำการถอดพัดลมด้านล่างขวามือออก หมุนน็อตออก 1 ตัวและถอดสายแพร ทำการยกพัดลมขึ้น


จะมีเซ็นเซอร์ตัวนึงอยู่ใต้โลโก้รูปแอปเปิ้ล ซึ่งผมไม่ทราบว่าเป็นเซ็นเซอร์อะไร ให้ทำการถอดออกมาจากในเครื่องครับ ไม่ต้องถอดสายแพรก็ได้


จากนั้นให้ถอดแรมออก โดยแรมจะอยู่ด้านล่างของเครื่อง ใช้ไขควงแฉกไขออก จากนั้นดึงแถบดำออกมาจากเครื่อง กระตุกเล็กน้อย แรมจะหลุดออกมา




ใช้ไขควงหกแฉกเบอร์ T5 ไขน็อตยึดการ์ดไวเลสออก แล้วยกการ์ดออกปล่อยลอยไว้ ไม่ต้องถอดสายเสาอากาศออก ปล่อยลอยไว้เลย


จากนั้นให้ถอดน็อตยึดเมนบอร์ดออก ตามจุดต่างๆที่มาร์กไว้ครับ น็อตจะมีความยาวไม่เท่ากันครับ


จุดแรก น็อตยึดแผ่นระบายความร้อน


จุดที่สอง ใกล้พัดลม 3 ตัว

จุดที่สาม น็อตยึดแผ่นระบายความร้อน 3 ตัว
เมื่อปลดน็อตออกหมดแล้ว
ขั้นตอนถัดไปให้เตรียม SSD ที่เราต้องการจะนำมาติดตั้ง โดยให้ติดกาวสองหน้าแบบโฟมลงบน SSD เพื่อนำไปติดในเครื่อง เนื่องจากในเครื่องไม่มีที่ให้ยึด SSD และมีน้ำหนักเบา จะไม่มีผลเสีย และควรติด 2 ชั้นเพื่อให้ SSD ลอย เมื่อตอนประกอบเครื่องตัว DVD-RW จะกดไว้เอง

จากรูป SSD ด้านบน ผมใช้ SSD ยี่ห้อ Samsung EVO 860 500GB ครับ
จากนั้นให้ไล่ถอดสายที่เชื่อมต่อกับเมนบอร์ดออกครับ




จากนั้นให้ยกเมนบอร์ดขึ้นแล้วให้แง้มออกมาเท่าที่เราจะมองเห็นแล้วเอามือสอดเข้าไปได้ ในด้านหลังเมนบอร์ดนั้นจะมีช่องเสียบสายพาวเวอร์กับสายเชื่อมต่อข้อมูล(SATA) ว่างอยู่ ให้เรานำสายพาวเวอร์ที่เราสั่งซื้อมาจาก Aliexpress นั้นเสียบเข้าไป และสายเชื่อมต่อข้อมูล(SATA) เสียบเข้าไป


การเสียบสายเชื่อมข้อมูล (SATA) ให้ทำการเก็บสายโดยออมลงมาด้านล่างฝั่งพัดลม แล้วค่อยโยงขึ้นตามแผ่นระบายความร้อน ไปออกที่วาง DVD-RW ด้านบนครับ อาจจะงงสักนิด ให้ดูคลิปประกอบช่วงเวลานาทีที่ 8 - 8.30 น.
ลักษณะการเก็บสาย SATA และสายพาวเวอร์
ทำการประกอบโดยวางเมนบอร์ดไว้ตำแหน่งเดิม ให้เริ่มขันน็อตตรงพัดลมด้านล่างก่อนและอย่าเพิ่งขันแน่น
ให้หา USB มาเสียบด้านหลังหลายๆตัวหลายช่อง แล้วทำการขยับเมนบอร์ดให้ตรงจะเสียบ USB ได้ หากเสียบ USB ด้านหลังขยับเมนบอร์ดช่องสกรูตรงทุกตัวแล้วให้ทำการขันสกรูให้แน่น
ควรเก็บสายเชื่อมข้อมูล(SATA) ขึ้นไปด้านบนก่อนขันแน่น
และทำการเสียบสายไฟจุดต่างๆที่ถอดออกให้ครบครับ ไล่ดูรูปด้านบนว่าถอดจุดไหนออกบ้าง ผมเหงื่อแตกหน้าตาเหมือนดวงตกหลังประกอบเสร็จ เปิดเครื่องแล้วไม่ขึ้นจอ เพราะเสียบสายไฟไม่ครบนี่แหล่ะครับ
ประกอบไวเลสการ์ด ประกอบเซ็นเซอร์หน้าเครื่อง และพัดลมให้เรียบร้อย แต่อย่าเพิ่งประกอบ DVD-RW ครับ ให้ทำการติดตั้ง SSD ก่อน


ติดตั้ง SSD 

แกะกาวสองหน้าออกแล้วทำการติดตั้ง SSD ลงในเครื่อง เสียบสายเชื่อมข้อมูล(SATA)และสายพาวเวอร์ให้เรียบร้อย ติดไว้ตรงด้านล่างของ DVD-RW 

แล้วให้ทำการประกอบ DVD-RW เสียบสายเซ็นเซอร์ DVD-RW ให้แล้วเสร็จ
เชื่อมต่อจอขันน็อตยึดจอและติดกระจกกลับคืนเป็นอันแล้วเสร็จ ในขั้นตอนการติดตั้ง SSD เพิ่ม

หากดูแล้วไม่เข้าใจให้ดูคลิปประกอบได้เลยครับ 
ขอขอบคุณคลิปทาง Youtube ครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...