ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การติดตั้ง OS X ให้กับ SSD เครื่อง iMac 2011 mid 21.5

การติดตั้ง OS X ให้กับ SSD เครื่อง iMac 2011 mid 21.5

จากบทความที่แล้ว ได้ทำการติดตั้งเพิ่ม SSD ให้กับเครื่อง iMac 2011 mid 21.5" ไปแล้ว อ่านบทความที่แล้วได้จากลิงค์นี้ https://itguest.blogspot.com/2020/01/ssd-imac-2011.html หากเราทำการทดสอบเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปิดติดขึ้นจอ เจอ SSD ในเครื่อง เท่านี้ก็ถือว่าผ่านแล้วครับ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการติดตั้ง OS X ใหม่ ซึ่งเป็น OS X เวอร์ชัน 10.13.6 หรือ macOS High Sierra ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์ iMac 2011 mid 21.5 รองรับได้ และการติดตั้งบางท่านอาจจะใช้วิธีการโคลนนิ่ง Harddisk ถ่ายไปยัง SSD ตัวใหม่ แต่ก็ต้องใช้โปรแกรมสำหรับโคลนนิ่งในเครื่อง Mac ซึ่งหา Download ได้ทั่วไป แต่เป็นโปรแกรมที่จำกัดการใช้งานระยะเวลา 30 วัน และหากมีโปรแกรมที่จำเป็นไม่สามารถลบได้ หรือไม่ต้องการติดตั้ง OS X ใหม่ เพราะต้องวุ่นวายมาติดตั้งโปรแกรมใหม่ทั้งหมดก็ใช้วิธีนี้เอาได้ครับ แต่ผมจะแนะนำให้ติดตั้งแบบ Clean install จะดีกว่า เพราะเป็นการล้างเครื่องใหม่ทั้งหมด ไฟล์ขยะก็น้อย เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพกว่า และเร็วกว่าแน่นอน เพราะลงโปรแกรมใหม่

ในการติดตั้งโปรแกรมใหม่นี้ ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ใดๆช่วย ขอเพียงมีอินเตอร์เน็ตแรงๆ ก็ติดตั้งได้แล้วครับ ไม่ควรใช้อินเตอร์เน็ตแบบล็อกอินหน้าเว็ปเหมือนอินเตอร์เน็ตองค์กร เพราะมันไม่สามารถ Download file OS X ได้

เริ่มแรกหลังจากที่ทำการติดตั้ง SSD เสร็จ ให้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ Boot เข้า OS X ตัวเดิมก่อน เพื่อทำการจัดการ Format SSD ที่เราติดตั้งเข้าไป ให้เราเปิด Disk Utility (อยู่ใน Launchpad --> Other--> Disk Utility) 


จากรูปด้านบนนี้ผมได้ทำการติดตั้ง OS X เรียบร้อยก่อนที่จะมีการเขียนบทความครับ
ให้ทำการเลือก SSD แล้วกดที่ปุ่ม Erase เพื่อทำการ Format SSD แล้วจะมีหน้าจอให้ตั้งค่า โดยช่องแรกให้เราตั้งชื่อ SSD (ในที่นี้ตั้งชื่อว่า Macintosh SSD) หรือจะตั้งชื่ออะไรก็ได้ตามถนัด ในช่อง Format ให้เลือก APFS แล้วให้กดปุ่ม Erase ได้เลย ทำสักพักจนเครื่องทำการ Formatt SSD เสร็จ

จากนั้นให้ทำการรีบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อรีบู๊ตเครื่องในระหว่างที่เครื่องดับหรือกำลังเริ่มต้นทำงาน (เหมือนกับเปิดเครื่องใหม่น่ะแหล่ะ) ให้เรากดปุ่ม Command และ Option และ R แช่ไว้ หากเป็นคีย์บอร์ดของ Windows ก็กดปุ่ม Windows และ Alt และ R แช่ไว้เหมือนในรูป (คีย์บอร์ดเครื่องผมอาจจะออกแนวสกปรกสักนิดครับ)

กดแช่ไว้สัก 20 วินาทีจนหน้าจอสีครีมขึ้นมาแล้วค่อยปล่อย จะเข้าสู่โหมด Recovery



ให้เราเลือกที่หัวข้อ Reinstall macOS โดยระบบจะเลือกตัว OS X ที่เครื่องเราสามารถติดตั้งได้ในเวอร์ชันล่าสุด

จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้ง OS X ทำตามรูปภาพด้านล่าง แล้วก็รอจนติดตั้งเสร็จ



เมื่อติดตั้ง OS X เสร็จ เครื่องคอมพิวเตอร์จะหา Boot Loader ตัวล่าสุดที่ทำการติดตั้งเข้าไปใหม่ นั้นก็คือ SSD จะสังเกตว่าเวลา Boot เครื่องจะเร็วขึ้น และหน้า Desktop จะเปลี่ยนไป ไม่ใช่ตัวเดิมที่เราเคยใช้ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการติดตั้ง OS X ใหม่แล้วครับ
ให้เราทำการ Copy ข้อมูล จาก Harddisk ตัวเดิม มาไว้ใน SSD แล้วให้ทำการ Format Harddisk ได้เลยครับ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปเลือก Boot จาก Harddisk ได้อย่างถาวร

จบแล้วครับ



ความคิดเห็น

squilla กล่าวว่า
ถ้ากรณีเข้าโอเอสแมคจากตัวเดิมไม่ได้(ฮาทดิสเสีย) จะต้องทำอย่างไรในการติดตั้งและฟอร์แมตฮาทดิสครับ
Kamol Khampibool กล่าวว่า
เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์หรือใช้ฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าครับ ถ้าฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าเสีย ก็ต้องเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ครับ ให้ระวังเรื่องของสายวัดความร้อนที่ติดอยู่กับฮาร์ดดิสก์ด้วยครับ ของผมติดตั้ง SSD เพิ่มเข้าไปครับ ไม่ได้เอาฮาร์ดดิสก์เก่าออกใช้เก็บข้อมูล ตามลิงค์นี้ครับ https://itguest.blogspot.com/2020/01/ssd-imac-2011.html
แต่ถ้าหากต้องการที่จะใช้งาน Disk Utility จากระบบ โดยที่ไม่เข้า OS ก่อนเปิดเครื่องให้กดปุ่ม cmd กับปุ่ม R ค้างไว้ แล้วเปิดเครื่อง (หรือจะเปิดเครือ่งแล้วรีบกดปุ่ม cmd+r ให้ทัน) รอจนโลโก้แอปเปิลปรากฏแล้วค่อยปล่อยปุ่มครับ จากนั้นจะเข้าหน้าจอในการติดตั้งโปรแกรมใหม่ครับ โดยที่ Disk Utility ก็มีอยู่ในนั้นครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช