ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเปลี่ยน MS Office 2016 จากภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทย

การเปลี่ยน MS Office 2016 จากภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทย

บทความนี้สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการติดตั้งโปรแกรม MS Office 2016 ใหม่จริงๆ เพราะการใช้เวลาค่อนข้างนานมาก (3 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ)ในการอัพเดต แนะนำหากติดตั้งโปรแกรมใหม่ได้ให้ทำการ Uninstall ออกและทำการติดตั้ง MS Office 2016 ที่เป็นเวอร์ชันภาษาไทยดีกว่าครับ หากไม่มีทางเลือกต้องการอัพเดต บทความนี้ก็อาจจะพอช่วยได้ครับ


โปรแกรม MS Office 2016 เป็นโปรแกรมจัดการเอกสารของ Microsoft ซึ่งประกอบไปด้วย MS Word, MS Excel, MS Power point เป็นต้น สำหรับโปรแกรม Microsoft Office จะมีหลายภาษาให้เลือกใช้งาน หากตัวโปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ถนัดใช้ ต้องการเปลี่ยนเป็นภาษาไทยก็สามารถทำได้ง่ายๆ แต่ใช้เวลานาน ผมจึงแนะนำให้ uninstall MS Office และติดตั้งใหม่จะทำได้เร็วกว่า แต่เมื่อติดตั้งใหม่ดันมีแต่โปรแกรม MS Office ที่มีแต่ภาษาอังกฤษ ก็ผ่านบทความนี้ไม่ได้เช่นกัน
ชุดเมนูเป็นภาษาอังกฤษ
ดังนั้นต้องทำการตรวจเช็ค MS Office ดูก่อนครับ ว่าจะสามารถติดตั้งภาษาไทยได้หรือไม่ ให้กดปุ่ม Start แล้วเลือก Microsoft office 2016 Tools เลือก Microsoft Officei 2016 Language Preferences

ดูที่ช่อง  Thai มีสถานะเป็น Install หรือ Not installed

หากเป็น Not installed แล้วมีขีดเส้นใต้หรือไม่ หากไม่มีขีดเส้นใต้จะเป็นดังภาพด้านบน คือไม่สามารถติดตั้ง Ms Office 2016 ที่เป็นภาษาไทยได้ ก็ต้องติดตั้งโปรแกรม MS Office 2016 ใหม่ครับ ถ้าไม่มีโปรแกรมที่เป็นภาษาไทยก็เสียใจด้วยครับ คงต้องพึ่งร้านแล้วล่ะ แต่หากมีเส้นใต้ขีดไว้ที่ Not installed ดังภาพด้านล่างนั้นหมายถึง ได้ไปต่อครับ ให้กดที่คำว่า Not installed ที่ขีดเส้นใต้ได้เลยครับ


ตัวลิงค์จะเปิดเว็บให้เราดาวน์โหลด (ต้องเชื่อมต่ออินเตอรฺ์เน็ตความเร็วสูงด้วยนะครับ) ให้เราเลื่อนลงไปด้านล่างที่หัวข้า Step 1 : Install the language accessory pack เพื่อดาวน์โหลดส่วนที่เป็นภาษาไทยครับ


จากนั้นให้ทำการเลือกดาวน์โหลดว่าเราจะเลือกดาวน์โหลดแบบ 32 บิท หรือ 64 บิทครับ
หากไม่มั่นใจว่า MS Office ในเครื่องของเราเป็นเวอร์ชันไหน ให้เปิดโปรแกรม MS Word ขึ้นมาให้ทำการสร้างเอกสารใหม่ แล้วกดที่ File เลือก Options แล้วเลือก Account จะเห็นปุ่ม about word อยู่ด้านขวามือ กะจะแสดงข้อมูลและเวอร์ชันของ MS Office ในเครื่องของเราครับ



 

จากภาพด้านบนภาพสุดท้ายนี้ ในวงกลมที่วงไว้คือ Office 365 เวอร์ชัน 64 บิท ครับ โดยในภาพด้านล่างนี้ ตรงเมนูจะมีเวอร์ชันให้เลือกคือ Never versions และ Office 2013 และ Office 2010 แต่ในเครื่องของเรานั้นเป็นเวอร์ชั่น Office 365 ให้เลือก Never versions และเลือก Download ที่ 64 bit เพื่อทำการ Download เลยครับ 

จากนั้น ดับเบิ้ลคลิ๊กไฟล์ที่เรา Download มาแล้วก็รอครับ


วินโดว์จะทำการ Download MS Office เวอร์ชันภาษาไทยและจัดการให้เราจนเสร็จครับ ขั้นตอนนี้ รอนานถึงนานมากๆ อาจจะใช้เวลา 2 - 3 ชั่วโมงเลยทีเดียว หากเกิดข้อผิดพลาดโปรแกรมจะทำการแจ้งว่าไม่สามารถทำการติดตั้งได้ ให้เราทำการ Update Windows แล้วทำการติดตั้งอีกครั้งครับ
หากติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เข้าไปที่  Start แล้วเลือก Microsoft office 2016 Tools เลือก Microsoft Officei 2016 Language Preferences อีกครั้ง เพื่อทำการตั้งค่าให้เป็นภาษาไทย เลือกภาษาไทยแล้วเลือก Set Defaut ทั้งสองช่องด้านล่างเลยครับ จากนั้นก็กด OK

ทำการปิดและเปิด MS Word ใหม่(กรณีที่เปิด Word อยู่)  หรือไม่ก็เปิด Word ขึ้นมาครับ เท่านี้ก็เป็นภาษาไทยแล้วครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...