ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Canon imageRunner3300 (ir3300) การแชร์เครื่องพิมพ์ในระบบเครือข่ายในสำนักงาน

Canon imageRunner3300 (ir3300) การแชร์เครื่องพิมพ์ในระบบเครือข่ายในสำนักงาน

Canon ir3300 เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ติดตั้งการ์ดแลนมาในเครื่อง ทำให้สามารถทำเป็นเครื่องปริ๊นเตอร์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงานได้

1. เชื่อมต่อสายแลนเข้ากับการ์ดแลนของเครื่องพิมพ์
2. ตั้งค่า IP address บนเครื่องถ่ายเอกสาร โดยการ Fix IP Address ในเครื่องพิมพ์ ให้ตรวจสอบ IP Address จากระบบเครือข่าย จากนั้นให้กดปุ่ม Addtional Function บนเครื่องพิมพ์ แล้วพิมพ์ที่จอสัมผัสเลือก Network setting --> IP Address --> IP V4 (เท่าที่จำได้นะครับ เนื่องจากตอนไปทำไม่ได้ถ่ายรูปไว้) ให้ทำการปิด DHCP แล้วตั้งค่า IP Address  จากนั้นกดปุ่ม Done จนจบ
3. ให้ทำการตรวจสอบการเชื่อมต่อของเครื่องถ่ายเอกสาร โดยการใช้คำสั่งใน Command dos ด้วยคำสั่ง ping แล้วตามด้วย ip address หาก ping ได้ ก็สามารถติดตั้งเครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่ายได้แล้ว
4. ทำการ Download Driver printer ของเครื่อง Canon IR3300 ได้จากที่นี่ Canon IR33000 ทำการแตกไฟล์ให้เรียบร้อย จะอยู่ในโฟลเดอร์เริ่มต้นของ Browser หากใช้ Google chrome ในการ Download ก็จะอยู่ในโฟลเดอร์ Downloads
5. ทำการติดตั้งเครื่องพิมพ์ โดยการกดปุ่ม Start บนคีย์บอร์ด แล้วพิมพ์ Printer & Scanner จะเข้าสู่หน้าจอเครื่องพิมพ์
6. กดปุ่ม Add Printer จากนั้น Windows จะทำการค้นหาเครื่องพิมพ์ที่อยู่ใกล้ ให้กดที่คำว่า The printer that I want isn't listed แล้วจะมีหน้าจอ Add Print ปรากฏขึ้น ให้กดที่ปุ่ม Next และ Windows จะค้นหาเครื่องพิมพ์อีกครั้ง จะปรากฏเครื่องพิมพ์ Canon ir3300 ขึ้นมา ให้เลือกและคลิ๊ก Next
7. เมื่อถึงหน้าจอให้เลือกไดรเวอร์ ให้ทำการเลือกไดรเวอร์ที่แตกไฟล์ที่ Download มา ด้วยการคลิ๊กที่ปุ่ม Have disk แล้วเลือกไปที่ PCL_Driver_CanonIR2200_3300 --> Driver --> pcl5e_5c จะมีไฟล์ P564UKAL.INF แล้วกด Next
8. ทำการเลือกรุ่นของเครื่องพิมพ์ โดยให้ค้นหาเองที่ Canon ir2200 - 3300 ทำการเลือกแล้วกดปุ่ม Next ไปเรื่อยๆจนเสร็จสิ้น

ขออภัยบทความนี้ไม่มีรูปภาพประกอบ เนื่องจากตอนที่ทำการติดตั้งเครื่องพิมพ์ไม่ได้ถ่ายรูปไว้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

การสร้าง URL สั้นๆ เพื่อส่งไฟล์ให้เพื่อน

การสร้าง URL สั้นๆ เพื่อส่งไฟล์ให้เพื่อน การที่จะส่งไฟล์ให้เพื่อน เช่น ไฟล์รูป ไฟล์วีดีโอ หรือโปรแกรมอื่นๆ เวลาที่เราก็อปปี้ลิงค์จาก Google Drive นั้น มักจะเป็นลิงค์ที่ยาว หากเราทำการส่งลิงค์ใน Line เพื่อเปิดใน PC แล้วเพื่อนของคุณไม่ได้ติดตั้ง Line ใน PC ไว้ ต้องมานั่งพิมพ์ URL ยาวๆเอา ซึ่งไม่สะดวกสักเท่าไหร่นัก ดังนั้น เราควรทำลิงค์ให้สั้นๆ เพื่อให้เพื่อนของเราเปิดไฟล์ที่เราแชร์อย่างง่ายดาย ตัวอย่าง เช่น เราต้องการส่ง Link ของ ไฟล์ที่เราแชร์ใน Google drive 1. ให้เราวางข้อมูลที่เราต้องการแชร์  ใน Google ก่อน จากนั้นทำการแชร์ไฟล์ และเปลี่ยนสิทธิ์ในการแชร์ให้เรียบร้อย ดังภาพ 2. ให้เข้าเว็บ  https://www.shorturl.at/  แล้วทำการวางลิงค์ที่เราก็อปปี้มา แล้วกดปุ่ม Shorten URL ครับ จากนั้นก็ส่งลิงค์ให้เพื่อนได้เลยครับ

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...