ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การกำหนดเส้นทางเดินทางในช่วงเทศกาลด้วย Google map

การกำหนดเส้นทางเดินทางในช่วงเทศกาลด้วย Google map

ในช่วงเทศกาล เชื่อว่าหลายท่านจะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนา บางคนอาจจะเดินทางด้วยเครื่องบิน บางคนอาจจะเดินทางด้วยรถประจำทางก็หมดห่วงไป แต่คนจะเดินทางด้วยรถส่วนบุคคลหรือรถส่วนตัวนี่สิ ค่อนข้างต้องคิดหนักว่าจะเดินทางเส้นไหนจึงจะหลบรถติดได้ ตัวอย่างเช่น การเดินทางจากกรุงเทพไปยังจังหวัดนครราชสีมา คิดไว้ก่อนว่า "มิตรภาพ" เหนียวแน่น ในช่วงเวลาเทศกาลนี้ใครลาพักได้ก่อน ก็ได้เปรียบก่อน ยังไงๆ ทางด่วนพิเศษระหว่างเมืองจะเปิดให้บริการในปี 2565 แต่ปีนี้ 2563 ก็เหลืออีกหลายเทศกาลให้เดินทางกันประจำอยู่ บทความนี้อาจจะมีประโยชน์สำหรับหลายท่านที่เข้ามาค้นหาข้อมูลนะครับ 

ทำการบ้านก่อนเดินทาง

เป็นประจำก่อนที่ผมจะเดินทางข้ามจังหวัดผมมักจะทำการบ้านก่อนเดินทางเสมอ เพื่อให้การเดินทางนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะบางทีเราเห็นเส้นทางจาก Google map แล้วเป็นสีแดงเป็นแถบๆ ก็ค่อนข้างที่จะเหนื่อยล่ะ ขนาดยังไม่ได้เดินทาง

ดังนั้นเราต้องวางแผนการเดินทางกันครับ แต่การวางแผนเดินทางนั้นต้องวางแผนให้ดีคือ 
1. ไม่ควรใช้เส้นทางที่ลัดจนเกินไป เพราะการใช้ทางลัดมากเกินไปนั้นจะทำให้เข้าป่า หรือไปยังเส้นทางที่ไม่เปิดใช้ หรือไปยังเส้นทางที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
2. ควรเดินทางในทางหลวงที่มีหมายเลขกำกับเท่านั้น เช่น ทางหลวงหมายเลข 1 ทางหลวงหมายเลข 2 ทางหลวงหมายเลข 12 หรือทางหลวงหมายเลข 24 และ 226 ประมาณนั้น (อีสานทั้งนั้น ฮ่าฮ่าฮ่า)
3. ติดตามข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนร่วมทางไว้ด้วย

เริ่มหาเส้นทาง

 สำหรับใครที่ไม่สะดวกใช้เครื่อง PC ก็สามารถทำได้ใน Smartphone ได้เลยครับ ตามโพสนี้ การกำหนดเส้นทางใน Google Maps ใน Application บนมือถือ แต่ควรทำการบ้านก่อนนะครับ เพราะจะใช้เวลาในการศึกษาเส้นทางนานพอสมควร ไม่ควรกำหนดเส้นทางในเวลาขับรถครับ

การเข้าใช้งานในเครื่อง PC หรือ Labtop ก็ให้เข้าไปที่เว็บ Google map ได้เลย https://www.google.com/maps ทำการ Login ด้วย Username ที่ใช้งานเดียวกันกับ Smartphone ให้เรียบร้อย
Google map

ทำการศึกษาเส้นทางการเดินทาง สมมุติว่า ผมจะเดินทางจากประเวศ (กทม.) ไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ โดยไม่ใช้เส้นทางทางหมายเลข 2 หรือ มิตรภาพ แต่จะไปทางจังหวัดอ่างทองแทนดังรูปด้านล่าง ซึ่งมันก็แล้วแต่จะกำหนดเองนะครับ ว่าจะเดินทางเส้นทางไหน ผมเพียงแค่สมมุติเท่านั้นครับ

เมื่อเรากำหนดเส้นทางได้แล้วทำการเลือกเส้นทางเลยครับ โดยคลิ๊กที่เมนูด้านซ้ายมือ กดปุ่มคำว่า เส้นทาง ภาษาอังกฤษว่า Direction เพื่อเลือกเส้นทาง

เอาเมาส์คลิ๊กตรงที่จุดที่เราจะเริ่มต้นเดินทาง แล้วตำแหน่งจะไปปรากฎที่จุดเริ่มต้นเอง

จากนั้นคลิ๊กที่ปลายทางที่เราจะไป คือจังหวัดบุรีรัมย์
จากนั้น Google map จะกำหนดเส้นทางให้เราเลือก ให้เราเลือกได้เลยตามที่ต้องการ
แล้วถ้าเราไม่ต้องการละครับ มันไม่เหมือนที่เราออกแบบว่าจะเดินทางเหมือนรูปแรก ให้เราเอาเมาท์จับเส้นสีน้ำเงินลากเลยครับ ลากไปยังเส้นทางที่ต้องการ
ค่อยๆลากทีละนิดครับ เพราะ Google map จะคำนวนเส้นทางให้ทุกครั้งเมื่อเราเปลี่ยนจุดเดินทาง บางทีลากไปไกลแล้วมันมาเข้าเส้นทางที่มันกำหนดก็มี ผมทำการลากเส้นสีน้ำเงินตามที่วางแผนการเดินทางไว้เรียบร้อย จะได้เส้นทางตามที่กำหนดไว้เหมือนรูปแรกเลยครับ
ถ้าจะยก Labtop หรือ PC ใส่รถไปเพื่อดู Google map ก็กระไรอยู่นะครับ ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปก็ส่งเข้ามือถือเลยครับ ด้วยการแชร์ตำแหน่ง ในกรอบสีแดงด้านซ้ายเลยครับ Sent direction your phone


แล้วก็เลือกวิธีการส่ง จะส่งเข้าที่มือถือเครื่องไหน Google ก็จะส่งข้อความไปเข้าที่มือถือเลย


เมื่อได้รับข้อความแล้วก็เปิดเลยครับ App Google map ก็จะเปิดและกำหนดเส้นทางที่สร้างไว้ให้เราเองโดยอัตโนมัติ

จบแล้วครับ หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช