ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2020

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 2 การเตรียมไฟล์เพื่อการสอน

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 2 การเตรียมไฟล์เพื่อการสอน การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 2 การเตรียมไฟล์เพื่อการสอนหรือนำเสนอ ในการที่จะใช้ App Microsoft Teams ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ หรือการประชุมแบบออนไลน์ ก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงการเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการสอน หรือนำเสนอในที่ประชุมได้  และการเตรียมไฟล์เพื่อการสอนหรือการนำเสนอในที่ประชุมนั้น Microsoft Teams ได้จัดเตรียมเครื่องมือไว้ให้เราหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้โปรแกรม Microsoft word, Microsoft Excel, Microsoft Power point และผลิตภัณฑ์อื่นๆของ Microsoft แบบออนไลน์ โดยการใช้งานแบบเรียลไทม์ หรือเราสามารถที่จะอัพไฟล์การสอนหรือการนำเสนอจากเครื่องของเราได้ จากตัวอย่างภาพด้านล่าง จะเป็นบทความต่อเนื่องจาก  การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 1 การสร้างทีม   โดยได้ทำการสร้างทีมไว้แล้ว 2 ทีม บทความนี้จะสร้างขึ้นมาอีก 1 ทีมที่เป็นแบบสาธารณะ สามารถเข้าชมได้(เฉพาะที่อยู่ในทีมเท่านั้น) จากรูปด้านล่าง ในกรอบสีแดงด้านซ้ายมือ จะแสดงรายชื่...

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 1 การสร้างทีม

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 1 การสร้างทีม บทความที่แล้ว ได้เขียนเรื่องการติดตั้ง Microsoft Teams ไปแล้ว บทความนี้จะเป็นการใช้งาน Microsoft Team ตอนที่ 1 ครับการสร้างทีมไว้เพื่อใช้งาน สามารถดูย้อนหลังได้ที่นี่  การติดตั้ง Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ Microsoft Teams เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งมีความสามารถของแอฟในการจัดการประชุม หรือการเรียนการสอนออนไลน์ การใช้งาน Microsft Teams จะไม่สามารถใช้งานเพียงคนเดียวได้ หากไม่มีกลุ่มหรือทีมเพื่อสื่อสาร ยกตัวอย่างในมหาวิทยาลัยแห่งหน่ึงในช่วงที่ประสบภัยโรคระบาดทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อลดความเสี่ยง ดังนั้นจากที่เคยนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียน ก็ต้องปรับเปลี่ยนแบบมาใช้แบบออนไลน์แทน ดังนั้น ในแต่ละรายวิชาที่อาจารย์สอน จะมีกลุ่มนักศึกษาแต่ละกลุ่มเข้ามาเรียน อาจารย์จะต้องจัดทีมชื่อรายวิชาขึ้นมา และทำการเพิ่มนักศึกษาเข้าไปในกลุ่มเพื่อเปิดการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์ สิ่งที่จำเป็นในการใช้งาน Microsoft Teams 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนหรือแท็บ...

การติดตั้ง Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์

การติดตั้ง Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ Microsoft Teams เป็นผลิตภัณฑ์อีกชิ้นของบริษัทไมโครซอฟต์ สามารถใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลค์ หรือใช้ในการประชุมออนไลน์ก็ดีเช่นกัน เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การเรียนที่บ้านเมื่อมีสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เช่น การเกิดโรคระบาดภายใน ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ดังนั้น Microsoft Teams ก็เป็นเครื่องมืออีกชิ้นในหลากหลายตัวเลือกของผู้ที่ต้องการจะใช้งาน ความสามารถในการเข้ากันได้ และความสะดวกในการใช้งานที่เกี่ยวกับ Microsoft ทั้งหลาย เช่น การใช้งาน MS Word, Ms Excel และ MS Power point ในการนำเสนองาน Microsoft Teams สามารถใช้งานร่วมกันผ่านบริการ One Drive ถือว่าดีเยี่ยมเลยทีเดียว ในบทความนี้จะกล่าวเริ่มต้นในการติดตั้งโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราครับ เดี๋ยวรายละเอียดการใช้งานจะค่อยๆทยอยเขียนมาครับ การเข้าใช้งาน Microsoft Teams การเข้าใช้งาน Microsoft Teams นั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีอีเมลที่เป็นของไมโครซอฟต์โดยเฉพาะ เช่น Hotmail, Live และ Outlook โดยทั้งสามอย่างที่กล่าวมานั้นเพียงมีอย่างใดอย่างนึงก็สามารถเข้าใช้งานได้แล้ว ให...

การแก้ไข Photoshop CS 2017 Could not use the brush tool because there is not enough memory (RAM)

Photoshop CS 2017 Could not use the brush tool because there is not enough memory (RAM) Adobe photoshop cs 2017-2018 ฟ้องว่า  Photoshop CS 2017 Could not use the brush tool because there is not enough memory (RAM) แก้ไขได้อย่างไร ? โปรแกรม Adobe Photoshop หรือ PS ไม่สามารถใช้งานได้ เมื่อต้องการใช้ Brush tool หรือแม้แต่การตั้งค่า ก็ยังฟ้อง Error  Could not use the brush tool because there is not enough memory (RAM) หรือฟ้อง Error An integer between 96 and 8 is required. Closest value inserted นั่นเพราะโปรแกรม Adobe photoshop ไม่สามารถเรียกใช้งาน RAM ได้ เราต้องทำการตั้งค่าให้ PS เรียกใช้งาน RAM ครับ การแก้ไขสามารถทำได้ดังนี้ 1. กดปุ่ม Win+R เพื่อเรียกเมนู Run แล้วพิมพ์คำว่า regedit.exe เมื่อมีหน้าจอโชว์ขึนให้เลือก Yes. 2. กดที่ปุ่ม > ตรงลูกศรในหัวข้อ  HKEY_CURRENT_USER 3.  กดที่ปุ่ม > ตรงลูกศรในหัวข้อ   Software 4. กดที่ปุ่ม > ตรงลูกศรในหัวข้อ  Adobe --> Photoshop แล้วกดที่โฟลเดอร์ 11.0 บางเวอร์ช...

การอ่านสเปคบนแผงและการเลือกใช้งาน RAM

การอ่านสเปคบนแผงและการเลือกใช้งาน RAM      หากต้องการเลือกซื้อแรมสักแผงมาใช้งาน ผู้ใช้ต้องเข้าใจและสามารถอ่านสเปคที่ติดอยู่บนแผงแรมได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถเลือกซื้อแรมมาใช้งานตามความค้องการโดยเฉพาะการเลือกซื้อแรมมาใช้งานร่วมกับแรมแผงเก่า การเลือกสเปคแรมอย่างุูกต้องจะช่วยลดปัญหาการทำงานร่วมกันของแรมแผงเก่าและแผงใหม่ได้      การระบุสเปคของแผงแรมจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ ระบุชื่อเรียกตามมาตรฐานแรมเช่น PC2-6400 หรือระบุความเร็วของแรมโดยตรง เช่น DDR3-1600 เป็นต้น การระบุชื่อเรียกตามมาตรฐานแรมนั้น คำว่า PC = แรม DDR,  PC2  = DDR3 และ PC3 = DDR3 นอกจากนั้นผู้ใช้ต้องนำค่าตัวเลขมาหารด้วย 8 จึงออกมาเป็นความเร็วที่แท้จริง      สำหรับแรมยี่ห้อ Kingston จะมีรูปแบบบอกความเร็วแตกต่างออกไปเล็กน้อย โดยใช้รหัสของ Kingston เอง แต่ผู้ใช้สามารถสังเกตได้จากตัวเลขบอกความเร็วของชิปแรม เช่น 1333, 1600 เป็นตั้น ตัวอักษรบยอกประเภทพของแรมจะใช้คำว่า D2 = DDR2 และ D3 = DDR3      ความเร็วแรม      ชื่อมาตรฐาน DDR...

L2 L3 Cache ของซีพียูคืออะไร

L2 L3 ของซีพียูคืออะไร แคช คลังข้อมูลสำรองของซีพียู      L2 และ L3 คือหน่วยความจำแคช ( Cache ) ของซีพียู เป็นหน่วยความจำแรมแบบ Static ( SRAM ) ซึ่งอ่านและเขียนข้อมูลได้รวดเร็วกว่าแรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Dynamic RAM ( DRAM ) หน้าที่ของแคช คือ เก็บคำสั่งและข้อมูลที่ใช้งานบ่อยๆ เพื่อส่งให้ซีพียูประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว       วงจรการจัดการแคชในซีพียูรุ่นใหม่ยังเพิ่มวงจร Pre-Fetch คือ ทำหน้าที่คอยอ่านข้อมูลจากแรมของเครื่องมาเก็บยังแคชตลอดเวลา เพื่อที่ซีพียูจะได้ดึงข้อมูลที่ต้องการจากแคชได้รวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลา หน่วยความจำแคชแบ่งออกเป็น 3 ระดับ      แคชระดับที่ 1 ( L1 Cache ) เป็นแคชขนาดเล็ก 32-64 KB อยู่ใกล้กับซีพียูที่สุด เพราะ แคชระดับ 2 ( L2 Cache ) จะมีขนาดใหญ่ 512 KB - 4 MB เน้นเก็บข้อมูลที่ดึงมาจากแรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ แคช L2 จะแบ่งรูปแบบเป็น 2 แบบคือ Inclusive คือ จะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งของแคช L2 เสียไปเพื่อเก็บแคช L1 ส่วนอีกแบบจะเรียกว่า Exclusive คือ L2 จะไม่ถูกกักกันพื้นที่ให้ L1 จึงใช้งาน L2 ได้เต็มพื้นท...

ทำอย่างไรเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะใช้งานได้ยาวนาน

ทำอย่างไรเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะใช้งานได้ยาวนาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร หรือประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มาไว้เพื่อใช้งาน ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมานั้นไม่มีความทนทานหรืออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ชำรุด เท่าที่ผมได้สัมผัสมา อุปกรณ์และชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละส่วนนั้นมักจะชำรุดหลังหมดอายุการรับประกันเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ หรือ SSD พาวเวอร์ซัพหลาย หน่วยความจำแรม เป็นต้น สาเหตุของการชำรุดเสียหายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1. แรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แรงดันไฟบ้าน 220โวลต์นั้น บางครั้งก็วิ่งไม่เต็มเฟส อาจจะได้ 200 โวลต์ หรือ 225 โวลต์ ซึ่งแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่บ้านจะมีค่า 220 บวกและลบ ไม่เกิน 10 โวลต์ คืออาจจะได้ 210 - 230 โวลต์ ถ้าน้อยหรือมากกว่านั้นก็มีผลต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2. ไฟตกไฟกระชาก นอกจากแรงดันไฟฟ้าน้อยไป ไม่เพียงพอแล้ว ไฟกระชากยิ่งเป็นตัวการทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชำรุดเสียหายได้อย่างรวดเร็ว หากวันนึงไปกระชากหรือไฟตกหลายครั้ง อุปกรณ์ที่พังก่อนคือฮาร์ดดิสก์แน่นอน ...

Facebook Dark Mode การใช้งานโหมดมืดเฟคบุ๊ค

Facebook Dark Mode การใช้งานโหมดมืดเฟคบุ๊ค Facebook Dark Mode มีให้ใช้งานแล้ว สำหรับใครที่ใช้งานเฟคบุ๊คบนสมาร์ทโฟนในที่มืด หรือเล่นเฟคบุ๊คยามเวลาก่อนนอน เมื่อปิดไฟแล้วจะมืดสนิท การใช้เฟคบุ๊คในหน้าจอสีขาวที่อยู่ในที่มืดจะเป็นปัญหาต่อสายตาผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ถ้าหากเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่อย่างเช่น Android 10 จะมีโหมดมืดให้ใช้งานเลยทันที แต่หากเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่า ตั้งแต่ Android 9 ลงไป จะไม่สามารถใช้งานโหมดมืดได้ในสมาร์ทโฟนบางยี่ห้อ การใช้งานโหมดมืดตามบทความนี้จะยังไม่รองรับใน iOS ซึ่งอาจจะต้องรออีกสักระยะ การใช้งานโหมดมืดในเฟคบุ๊ค การใช้งานโหมดมืดในเฟคบุ๊ค นอกจากจะยังใช้งานใน iOS ไม่ได้แล้ว ยังจำกัดใช้งานได้เฉพาะ แอฟ Facebook Lite เท่านั้น และไม่สามารถใช้งานในแอฟ Facebook หลักได้ เราสามารถใช้งานโหมดมืดใน Facebook Lite คือ 1. ทำการติดตั้ง Facebook Lite ใน Play Store 2. Login เข้าใช้งาน Facebook Lite 3. แตะที่สามขีดด้านบนขวามือเพื่อตั้งค่า 4. เลือกเปิดที่โหมดมืด  เท่านี้ก็สามารถใช้งานโหมดมืดเฟคบุ๊คได้แล้วครับ

ลงวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้า หลายคนที่ยังไม่รู้

ลงวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้า หลายคนที่ยังไม่รู้ ความเข้าใจผิดกับการลงวินโดว์ใหม่ของหลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า การลงวินโดว์ใหม่ การฟอแมตเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่นั้น จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้น บางครั้งความเข้าใจครั้งนี้อาจจะเป็นจริง แต่ก็ไม่ทั้งหมดสักทีเดียว เพราะการลงวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้า ไม่เร็วอย่างที่คิดเอาไว้นั้นก็มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าหลังจากติดตั้งวินโดว์ใหม่เข้าไป ลงวินโดว์ใหม่แล้วเครื่องช้า เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง 1. อายุการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์จะเสื่อมสภาพการใช้งานเมื่อมีอายุการใช้งานหลายปี ทั้งนี้เกิดจากความร้อนภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เอง  2. สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์เก่า ต่อจากอายุการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์เองก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้รันวินโดว์ช้า ติดตั้งวินโดว์ใหม่ยังไงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่เร็ว เพราะสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์เก่านั้นรันวินโดว์รุ่นใหม่ๆไม่ค่อยดีเท่าไหร่  ตัวอย่าง ปีนี้ 2020 หรือปี 2563 มีลูกค้ายกเครื่องคอมพิวเตอร์มาให้ทำการติดตั้งวินโดว์ใหม่ โดยแจ้งว่...

แอนตี้ไวรัสที่นิยมใช้งานในวินโดว์ 10 มีอะไรบ้าง

แอนตี้ไวรัสที่นิยมใช้งานในวินโดว์ 10 มีอะไรบ้าง หากใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นวินโดว์ 10 เป็นประจำ แล้วอยากใช้งานแอนตี้ไวรัสสักตัว แต่ไม่รู้ว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสตัวไหนดีที่เหมาะสมในการใช้งาน บทความนี้มีแอนตี้ไวรัสมาให้เลือกใช้ครับ แล้วแต่ว่าคุณจะชื่นชอบตัวไหน 1. Windows Defender เมื่อคราวตอนใช้วินโดว์ 7 จะใช้ Windows Essential เป็นแอนตี้ไวรัสฟรีที่ดี เพราะในการใช้งานถือว่าดี (ดีกว่าไม่มีใช้) และเมื่อใช้งานวินโดว์ 8, วินโดว์ 8.1 และวินโดว์ 10 จะไม่สามารถใช้งาน Windows Essential ได้ เนื่องจากไม่รองรับ เพราะวินโดว์รุ่นใหม่ได้พัฒนา Windows Defender ขึ้นมา และ Windows Defender นี้ได้ผ่านการทดสอบล่าสุดใน AV-TEST (สำหรับเดือนมีนาคมและเมษายน 2562) ได้คะแนนอัตราการตรวจจับ 100% จากการโจมตีของมัลแวร์ zero-day และจุดขายที่สำคัญของ Windows Defender คือมาพร้อมกับระบบปฎิบัติการวินโดว์ 10 ใช้งานได้ฟรีตลอดชีพ โดยคะแนนการทดสอบของ AV-TEST จะให้คะแนนที่  การป้องกันและการใช้งาน 6/6  ประสิทธิภาพและการใช้งาน 5.5/6 2. Kaspersky Kaspersky เป็นที่รู้จักกันดีในโลกความปลอดภัยออ...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...

วินโดว์ 10 บันทึกหน้าจอ ได้ทั้งวีดีโอและภาพนิ่งได้รู้ยัง

วินโดว์ 10 บันทึกหน้าจอ ได้ทั้งวีดีโอและภาพนิ่งได้รู้ยัง วินโดว์ 10 สามารถบันทึกหน้าจอได้ทั้งวีดีโอและภาพนิ่ง โดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม โดยฟีเจอร์นี้เป็นฟีเจอร์ที่มาพร้อมกับวินโดว์ 10 สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกหน้าจอที่เป็นภาพนิ่ง หรือการบันทึกวีดีโอที่เป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเราสามารถนำมา แคสเกมส์ ได้อย่างง่าย  ในส่วนของการ แคสเกมส์ หรือการบันทึกวีดีโอหน้าจอขณะเล่นเกมส์ เราสามารถเพิ่มเสียงพูดเข้าไปในระหว่างที่กำลังเล่นเกมส์อยู่ได้ สามารถอธิบายเรื่องของการเล่นเกมส์เสร็จภายในทีเดียวโดยไม่ต้องใช้เทคนิคในการตัดต่อวีดีโออะไรมากมาย แต่การบันทึกเสียงนั้นต้องมีไมโครโฟนเพื่อใช้ในการบันทึกเสียงด้วย การบันทึกหน้าจอที่เป็นภาพนิ่ง บนแป้นพิมพ์ให้กดปุ่ม Window และ ปุ่ม G  (Win+G) จะมีเมนูขึ้นมาให้เลือกแล้วกดถ่ายภาพ การแคสเกมส์  ให้กดุปุ่มบันทึก เพื่อทำการ แคสเกมส์   และจะเห็นรูปไมโครโฟนเป็นเครื่องหมายขีด นั้นคือ ไม่สามารถบันทึกเสียงได้เนื่องจากไม่มีไมโครโฟน ในส่วนของด้านล่างจะเป็นการควบคุมเสียง Audio ซึ่งจะมี Mix และ ...

การเปลี่ยนพาสเวิร์ดเข้าเครื่อง วินโดว์ 10

การเปลี่ยนรหัสผ่านเข้าเครื่อง วินโดว์ 10 การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น การใช้รหัสผ่านเข้าเครื่องใส่ไว้ในเครื่องเป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคล เพื่อป้องกันคนอื่นหรือบุคคลอื่นมาแอบใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งอาจจะขโมยข้อมูลในเครื่องเรา เช่น รูปภาพ หรือข้อมูลอื่นๆไปทำอย่างอื่นให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเราได้ การใช้รหัสผ่านในการเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในวินโดว์ 10 นั้น นอกจากจะป้องกันบุคคลภายนอกแล้วยังสามารถป้องกันไวรัสเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อีกระดับหนึ่งด้วย และหากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แต่มีคนมาขอรหัสผ่านเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หากเราอนุญาตและบอกรหัสเขาก็จะทราบรหัสผ่านนั้นทันทีและสามารถมาใช้งานทีหลังโดยที่เราไม่ได้อนุญาตก็เป็นได้ ดังนั้นบางทีควรมีการเปลี่ยนรหัสผ่านในการเข้าใช้งานวินโดว์ 10 บ้างก็ดีครับ การเปลี่ยนรหัสผ่านเข้าเครื่อง วินโดว์ 10 ทำได้ดังนี้ 1. กดปุ่ม Start windows บนคีย์บอร์ด แล้วพิมพ์ Control panel 2. เลือกที่ user accounts 3. เลือกที่ user accounts อีกครั้ง 4. กดที่ Manage another account 5. เลือก user ที่ต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน 6. เลือกที่ Cha...

ชิปเซต (Chipset)

ชิปเซต (Chipset) ชิปเซตมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนเมนบอร์ด และชิปเซตนี่เองที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเมนบอร์ดตัวนั้นใช้กับซีพียูตัวไหน เพราะชิปเซตแต่ละตัวจะออกแบบมาเพื่อให้รองรับกับซีพียู ชิปเซต ( North Bridge ) ชิปเซต ( North Bridge ) เป็นชิปเชตหลักที่มีความสำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ตลอดจนสล็อต PCI Express x 16 ที่ใช้กับการ์ดแสดงผล และ PCI Express ต่างๆบนเมนบอร์ดที่มีการติดตั้งการ์ดต่างๆเพิ่มเข้าไป ปัจจุบันชิปเซต North Bridge จะถูกรวมเข้ากับซีพียู ดังนั้นในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ทั่วไปจะเห็นชิปเซตเพียงตัวเดียวที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด นั่นก็คือ ชิปเซต South Bridge ชิปเซต ( South Bridge ) ชิปเซต ( South Bridge ) ทำหน้าควบคุมและตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม เน็ตเวิร์กการ์ด รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เมาท์ คีย์บอร์ด และเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เชื่อมต่อด้วย USB โดยการทำหน้าที่ของชิปเซต South Bridge จะตรวจสอบอุปกรณ์ตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบการทำงานของแรม การตรวจสอบการทำงานของฮาร์ดดิสก์...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...