Protocal tcp/ip เป็น Protocal ที่ใช้เพื่อการสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ถูกสร้างขึ้นในปี 1970 โดย Defense Reswarch Projects Agency (DARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหรัฐอเมริกา ที่สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้กองทัพของอเมริกาใช้ จนกระทั่งปี 1990 ได้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในวงการธุรกิจ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลทีซีพีไอพี สามารถแบ่งออกเป็น 4 เลเยอร์ หรือ 5 เลเยอร์ เพื่อความเข้าใจในการแยกอุปกรณ์เครือข่ายตามเลเยอร์ จะแบ่งออกเป็น 5 เลเยอร์ดังตารางที่ 1
โปรโตคอลทีซีพีไอพี(TCP/IP)
Application |
Transport |
Network |
Data Link |
Physical |
Application Layer เป็นชั้นประยุกต์การใช้งาน อย่างเช่น Telnet, HTTP
Transport Layer เป็นชั้นขนส่ง ได้แก่ TCP, UDP
Network Layer เป็นชั้นไอพีแอดเดรส อย่างเช่น อุปกรณ์ Router
Data Link Layer เป็นขั้นฮาร์ดแวร์แอดเดรส อย่างเช่น อุปกรณ์ Ethernet Switch
Physical Layer เป็นชั้นสายเชื่อมต่อ อย่างเช่น อุปกรณ์ LAN Cable, HUB
2. TCP/IP Network
2.1 นิยามของระบบเครือข่าย
Local Area Network (LAN)
local area network (LAN) แปลว่า "ระบบเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่" เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งมีขนาดเล็ก นิยมใช้ภายในห้องหรือสถานที่เดียวกัน สำหรับระบบเครือข่ายแบบ LAN ในแลนหนึ่งวงจะต้องมีหนึ่งไอพีซับเน็ต ดังนั้น อุปกรณ์เครือข่ายที่อยู่แลนวงเดียวกัน จะต้องมีไอพีแอดเดรสอยู่ในซับเน็ตเดียวกัน ซึ่งนั่นหมายความว่า อุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้จะต้องมีหมายเลขเน็ตแอดเดรส และบรอดคาสต์แอดเดรสเป็นหมายเลขเดียวกัน
Wide Area Network (WAN)
Wide Area Network (WAN) แปลว่า "ระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง" เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อของแลน ตั้งแต่สองวงขึ้นไป และต้องอยู่ห่างไกลกันในคนละสถานที่ อย่างเช่น การเชื่อมต่อระหว่างมหาวิทยาลัยคนละวิทยาเขตซึ่งอยู่กันคนละเมือง นอกจากนี้ระบบเครือข่ายแวนจะเกียวข้องกับไอพีแอดเดรสหลายๆ ซับเน็ต ดังนั้น อุปกรณ์เราท์เตอร์(ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งข้อมูลแพ็กเก็ตข้ามระหว่างซับเน็ต) จะถูกใช้ในกรณีนี้
Intranet (อินทราเน็ต)
Intranet (อินทราเน็ต) หมายถึง "ระบบเครือข่ายเชื่อมต่อกันภายใน" เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันเองภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยแลน หลายๆวงต่อเชื่อมกันภายในสถานที่เดียวกัน หรือแลนหลายๆวงที่อยู่ห่างไกลกันคนละเมืองต่อเชื่อมกันผ่านแวน
Extranet (เอ็กทราเน็ต)
Extranet (เอ็กทราเน็ต) หมายถึง "ระบบเครือข่ายเชื่อต่อกันภายนอก" เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินทราเน็ตที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งมันจะเป็นอินเตอร์เน็ต (Internet) หรืออาจจะเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินทราเน็ตที่เชื่อมต่อกันโดยผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet) อย่างเช่น Private Public Network(VPN)
Internet (อินเตอร์เน็ต)
Internet (อินเตอร์เน็ต) หมายถึง "ระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก" เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลก ดังนั้น ภายในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะประกอบไปด้วยแวนต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก นั่นหมายความว่าอินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีเพียงเครือข่ายเดียวเท่านั้นในโลกใบนี้ จึงกล่าวได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะ (Public Network)
2.2 การแบ่งอุปกรณ์เครือข่ายในรูปแบบของเลเยอร์
อุปกรณ์เครือข่ายเลเยอร์ที่หนึ่ง
- Repeater เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการขยายสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น อุปกรณ์ประเภทนี้จะมีสองพอร์ต
- Hub (ฮับ) เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ในอุปกรณ์ฮับแบบแอ็คทีฟ ยังทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณเพื่ให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น อุปกรณ์ประเภทนี้จะมีหลายพอร์ต
- Wireless Access Point (AP) เป็นอุปกรณ์ศูนกลางของการเชื่อมต่อสัญญาณไร้สายเข้าด้วยกัน
สรุป อาจะกล่าวอย่างง่ายๆได้ว่า อุปกรณ์ HUB คือ Repeater ที่มีมากกว่าสองพอร์ต และอุปกรณ์ AP คือ HUB สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายนั่นเอง
อุปกรณ์เครือข่ายเลเยอร์ที่สอง
- Bridge (บริดจ์) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์ที่สอง ซึ่งทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน อุปกรณ์ประเภทนี้จะมีเพียงสองพอร์ต จะต่างจากอุปกรณ์ฮับ (Hub) ที่สามารถสร้าง Bridge Table เพื่อทำการเก็บค่าพอร์ต (Port) และค่า MAC Address ได้
- Ethernet Switch (อีเธอร์เน็ตสวิทซ์) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในเลเยอร์ที่สอง ซึ่งทำหน้าที่เป็นจุดเขื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน อย่างเช่น ใช้ต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกันเช่นเดียวกับอุปกรณ์ฮับ แต่ว่ามันจะแตกค่างจาอุปกรณ์ฮับ ที่สามารถสร้าง Bridge Table เพื่อทำการเก็ฐค่าพอร์ต และค่า MAC Address ได้ และต่างจากอุปกรณ์บริดจ์ตรงที่มีมากว่าสองพอร์ต
สรุป อาจจะกล่าวอย่างง่ายๆ ได้ว่า อุปกรณ์อีเธอร์เน็ตสวิทซ์ คือ อุปกรณ์บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง
อุปกรณ์เครือข่ายในเลเยอร์ที่สาม
- router (เราท์เตอร์) เมื่ออุปกรณ์ในระบบเครือข่ายต้นทาง และปลายทางอยู่กันคนละซับเน็ต (ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองตัวอาจจะต่ออยู่กับอุปกรณ์สวิทซ์ตัวเดียวกันก็ได้) ต้องการส่งข้อมูลหากันในกรณีนี้ อุปกรณ์เราท์เตอร์จะเป็นตัวทำหน้าที่ในการค้นหาเส้นทางที่เหมาะสม และทำการส่งแพ็กเก็ต (Packet) นี้ข้ามระบบเครือข่าย(LAN) ผ่าน แวน(WAN) ออกไปยังระบบเครือข่าย (LAN)ปลายทาง หรือถ้าอุปกร์ต้นทาง และปลายทางอยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน อุปกรณ์เร้าท์เตอร์ก็จะทำการส่งแพ็กเก็ตนี้อ่านอินเตอร์เฟส(Interface) ที่เหมาะสมไปยังปลายทาง
- L3 Ethernet Switch (อีเธอร์เน็ตสวิทซ์เลเยอร์สาม) เป็นอุปรณณ์ที่รวมข้อดีของอีเธอร์เน็ตสวิตซ์ และเราท์เตอร์เข้วไว้ด้วยกันในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน นอกจากนี้การทำงานในส่วนของการเราท์ติงในเลเยอร์สามเป็นวงจรฮาร์ดแวร์ซึ่งคือ Application - Specic Integrated Circuit (ASIC) ทำให้มีความเร็วในการทำงานสูงกว่าการใช้เราท์เตอร์ทั่วๆไปที่มักจะใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน
3. ไอพีแอดเดรสเวอร์ชัน 4 (IP Address v.4)
โปรโตคอลทีซีพีไอพีมีการกำหนดหมายเลขเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ที่สื่อสารระหว่างกันในเครือข่าย ซึ่งหมายเลขเหล่านี้คือ หมายเลขไอพีแอดเตรส (IP Address) และซับเน็ตมาสค์ (Subnet Mask) โดยหมายเลขไอพี หรือไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address) จะเป็นตัวเลขฐานสอง จำนวน 32 บิต เวลาใช้งานจะเขียนตัวเลขแบ่งเป็น 4 ชุด ชุดละ 8 บิท การใช้งานไอพีแอดเดรสเพื่อให้เกิดความสะดวกและเข้าใจง่าย จึงนิยมแสดงผลไอพีแอดเดรสแต่ละชุด เป็นเลขฐานสิบ แทนที่จะเป็นฐานสองจำนวน 8 บิต เช่น แสดงผลไอพีแอดเดรสเป็นเลขฐานสิบ 10.10.0.1 แทนไอพีแอดเดรส 00000101.00000101.00000000.00000001 (เลขฐานสองจำนวน 4 ชุด ชุดละ 8 บิต)
3.1 คลาส(Class)
ไอพีเวอร์ชัน 4 ได้ถูกแบ่งออกเป็น 5 คลาส (Class) ดังแสดงได้ในตาราง
คลาส (Class) | หมายเลขไอพี (IP Address) | Default Subnet Mask |
class A | 1.0.0.1 จนถึง 126.255.255.254 | 255.0.0.0 |
Class B | 128.0.0.1 จนถึง 191.255.255.254 | 255.255.0.0 |
Class C | 192.0.1.1 จนถึง 223.255.255.254 | 255.255.255.0 |
Class D | 224.0.0.0 จนถึง 239.255.255.254 | ใช้สำหรับงาน Multicast |
Class E | 240.0.0.0 จนถึง 254.255.255.254 | ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน |
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ซึ่งไม่อยู่ในคลาสใดๆ เลย จะใช้สำหรับการทดสอบระบบ ซึ่งไอพีช่วงนี้เรียกว่า ไอพีลูปแบ็ค (IP Loop Back)
เน็ตเวิร์ก (Network) และ โฮสต์ (Host)
ไอพีแอดเตรสที่ใช้งานกันโดยทั่วไปจอยู่ในคลาส A, B และ C โดยในหนึ่งไอพีแอดเดรสจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ หมายเลขเน็คเวิร์ก (Network ID) และหมายเลขโฮสต์ (Host ID) ซึ่งหมายเลขทั้งสองส่วนนี้จะใช้สำหรับแบ่งกลุ่มไอพีแอดเดรสออกเป็นกลุ่มเน็ตเวิร์กย่อย โดยมีรูปแบบการแบ่ง ดังแสดงได้ในตาราง
Class | 8 bit | 8 bit | 8 bit | 8 bit |
Class A | Network ID | Host ID | ||
Class B | Network ID | Host ID | >||
Class C | Network ID | Host ID | >
จะพบว่าคลาส A จะมีหมายเลขเน็ตเวิร์ก (Network ID) หรือเน็ตเวิร์กบิท (Network Bit) เพียงแค่ 8 บิท (bit)และมีหมายเลขโอสต์ (Host ID) หรือโฮสต์บิท (Host ID) มากถึง 24 บิท (bit) ซึ่งหมายความว่า ไอพีแอดเดรสในคลาส A มีการแบ่งกลุ่มไอพีแอดเดรสเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ดังจะเห็นได้จากมีจำนวนเน็ตเวิร์ก (Network) เพียง 128 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนหมายเลขไอพีแอดเดรส (Host)มากถึง 16,777,214 หมายเลข
ในทางกลับกัน คลาส C จะมีเน็ตเวิร์กบิท(Network bit) มากถึง 24 บิท แต่มีโฮสต์เพียงแค่ 8 บิต ซึ่งหมายความว่า ไอพีแอดเดรสในคลาส C จะมีการแบ่งกลุ่มไอพีแอดเดรสเป็นกลุ่มขนาดย่อย ทำให้มีจำนวนเน็ตเวิร์กมากถึง 2,087,152 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจำนวนหมายเลขไอพีแอดเดรสเพียงแค่ 254 หมายเลข ดังที่ได้แสดงในตาราง
คลาส (Class) | จำนวนเน็ตเวิร์กแอดเดรส Network Address) | จำนวนหมายเลขแอดเดรส (Host Address) |
class A | 128 | 16,777,214 |
Class B | 16,384 | 65,534 |
Class C | 2,087,152 | 254 |
3.2 ไอพีส่วนตัว (Private IP Address)
ในไอพีเวอร์ชัน 4 มีไอพีแอดเดรสส่วนตัว(Private IP Address) ไว้สำหรับใช้เป็นการภายในองค์กร ซึ่งไอพีแอดเดรสส่วนตัวจะสามารถสื่อสารกันภายในกลุ่มไอพีแอดเดรสส่วนตัวด้วยกันได้เท่านั้น ไม่สามารถสือสารข้ามไปยังไอพีแอดเดรสอื่นๆ ได้โดยตรง หรือเรียกง่ายๆ คือไอพีแอดเดรสส่วนตัวไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายสาธารณะได้โดยตรง เพราะอุปกรณ์เราท์เตอร์จะไม่ทำการส่งแพ็คเกจที่มีไอพีเหล่านี้ออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หมายเลขไอพีแอดเดรสส่วนตัวถูกแสดงไว้ในตาราง
คลาส (Class) | หมายเลขไอพีส่วนตัว | Subnet Mask |
class A | 10.0.0.1 จนถึง 10.255.255.255 | เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป |
Class B | 172.16.0.1 จนถึง 172.31.255.255 | เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป |
Class C | 192.168.0.0 จนถึง 192.168.255.255 | เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป |
3.3 ตารางการแบ่งซับเน็ต (Subnet Table)
นอกจากการแบ่งไอพีแอดเดรสออกเป็นคลาสแล้ว ไอพีแอดเดรสในแต่ละคลาสยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกด้วย โดยการแบ่งแบบนี้เราเรียกว่า "การทำซับเน็ต(Subnetting)" คือ การนำไอพีหนึ่งคลาสมาแบ่งเป็นหลายๆคลาสย่อยนั่นเอง ดังในตารางด้านล่างนี้ เป็นการทำซับเน็ตของไอพีแอดเดรสคลาส C ซึ่งสามารถทำได้ทั้งหมด 6 แบบด้วยกัน
จำนวนบิทที่ยืมมา(Borrow Bits) | Subnet Mask | (CIDR) Notation | จำนวนซับเน็ต | จำนวนโฮสต์ต่อหนึ่งซับเน็ต |
1 | 255.255.255.128 | /25 | 2 | 126 |
2 | 255.255.255.192 | /26 | 4 | 62 |
3 | 255.255.255.224 | /27 | 8 | 30 |
4 | 255.255.255.240 | /28 | 16 | 14 |
5 | 255.255.255.248 | /29 | 32 | 6 |
6 | 255.255.255.252 | /30 | 64 | 2 |
3.4 Classless Inter Domain Routing (CIDR)
เนื่องจากการแบ่งไอพีแอดเดรสเป็นคลาส A, B, C ทำให้มีหมายเลขไอพีแอดเดรสบางหมายเลขเหลือใช้ โดยเฉพาะในคลาส A และ B เนื่องจากการนำไปใช้งานจริง ในแต่ล่ะเน็ตเวิร์กมักจะใช้งานไอพีแอดเดรสจำนวนไม่มาก ทำให้มีไอพีแอดเดรสเหลือใช้จำนวนมาก เพื่อแก้ไขปัญหานี้จึงได้มีการคิดค้น CIDR ขึ้น เพื่อใช้แบ่งไอพีแอดเดรสใหม่ โดยการใช้ซับเน็ตมาสต์เข้าช่วย
การแบ่งไอพีแอดเดรสแบบ CIDR จะเป็นการแบ่งที่ละเอียดขึ้น โดยสามารถเลือกแบ่งจำนวนบิตที่จะนำมาใช้เป็นหมายเลขเน็ตเวิร์ก และหมายเลขโฮสต์ได้ 32 แบบ ตามตารางด้านล่าง และจะสังเกตได้ว่า การแบ่งไอพีแอดเดรสแบบ CIDR ที่ใช้หมายเลขเน็ตเวิร์กเป็น 8 บิต จะเท่ากับการแบ่งตามมาตรฐานในคลาส A ใช้หมายเลขเน็ตเวิร์กเป็น 16 บิต จะเท่ากับการแบ่งตามมาตรฐานในคลาส B และใช้หมายเลขเน็ตเวิร์กเป็น 24 บิท จะเท่ากับการแบ่งตามมาตรฐานในคลาส C
ไอพีแอดเดรสที่แบ่งแบบ CIDR จะไม่เป็นไปตามมาตรฐานของคลาส A, B, C ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสน ไอพีแอดเดรสที่แบ่งแบบ CIDR จะต้องเขียนไอพีแอดเดรสพร้อมกับเน็ตมาสค์ในรูปแบบ A, B, C, D /n โดยที่ "/n" คือสัญลักษณ์ถูกเรียกว่า IP prex หรือ network prex ซึ่งจะทำหน้าที่ระบุจะนวนบิทที่ใข้เป็นเน็ตเวิร์กบิท (Network bit)
สัญลักษณ์ CIDR (Notation) | Subnet Mask |
/1 | 128.0.0.0 |
/2 | 192.0.0.0 |
/3 | 224.0.0.0 |
/4 | 240.0.0.0 |
/5 | 248.0.0.0 |
/6 | 252.0.0.0 |
/7 | 254.0.0.0 |
/8 | 255.0.0.0 |
/9 | 255.128.0.0 |
/10 | 255.192.0.0 |
/11 | 255.224.0.0 |
/12 | 255.240.0.0 |
/13 | 255.248.0.0 |
/14 | 255.252.0.0 |
/15 | 255.254.0.0 |
/16 | 255.255.0.0 |
/17 | 255.255.128.0 |
/18 | 255.255.192.0 |
/19 | 255.255.224.0 |
/20 | 255.255.240.0 |
/21 | 255.255.248.0 |
/22 | 255.255.252.0 |
/23 | 255.255.254.0 |
/24/td> | 255.255.255.0 |
/25 | 255.255.255.128 |
/26 | 255.255.255.192 |
/27 | 255.255.255.224 |
/28 | 255.255.255.240 |
/29 | 255.255.255.248 |
/30 | 255.255.255.252 |
/31 | 255.255.255.254 |
/32 | 255.255.255.255 |
ตามตารางานด้านบน ได้แสดงสรุปการใช้สัญลักษณ์ CIDR ตัวอย่างเช่น 192.168.14.22/18 หมายความว่า 18 บิทแรก ถูกใช้เป็นเน็ตเวิร์กบิท(network bit) และที่เหลืออีก 14 บิท ถูกใช้เป็นโฮสต์บิท (Host bit)
ในไอพีแอดเดรสหนึ่งซับเน็ต(คลาสย่อย) จะประกอบไปด้วย
- เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ ไอพีแอดเดรสหมายเลขแรกของซับเน็ต ซึ่งห้ามใช้เป็นไอพีแอดเดรสของโฮสต์
- โฮสต์แอดเดรส (Host Address) คือ ช่วงหรือหมายเลขแอดเดรสจำนวนหนึ่ง ที่สามารถกำหนดให้กับโฮสต์ได้
- บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ ไอพีแอดเดรสหมายเลขชุดสุดท้ายของซับเน็ต ซึ่งห้ามใช้เป็นไอพีแอดเดรสของโฮสต์
ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรสซับเน็ต 192.18.1.0/25
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 192.18.1.1 โฮสต์แอดเดรส (Host Address) คือ 192.18.1.1 ถึง 192.18.1.127 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 192.18.1.128 |
ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรสซับเน็ต 192.18.1.128/25
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 192.18.1.128 โฮสต์แอดเดรส (Host Address) คือ 192.18.1.129 ถึง 192.18.1.254 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 192.18.1.255 |
ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรสซับเน็ต 203.18.2.0/30
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 203.18.2.1 โฮสต์แอดเดรส (Host Address) คือ 203.18.2.1 ถึง 203.18.2.2 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 203.18.2.3 |
ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรสซับเน็ต 203.18.2.4/30
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 203.18.2.4 โฮสต์แอดเดรส (Host Address) คือ 203.18.2.5 ถึง 203.18.2.6 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 203.18.2.7 |
ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรสซับเน็ต 203.18.2.8/30
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 203.18.2.8 โฮสต์แอดเดรส (Host Address) คือ 203.18.2.9 ถึง 203.18.2.10 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 203.18.2.11 |
ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรสซับเน็ต 203.18.2.12/30
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 203.18.2.12 โฮสต์แอดเดรส (Host Address) คือ 203.18.2.13 ถึง 203.18.2.14 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 203.18.2.15 |
3.5 การกำหนดไอพีแอดเดรสเวอร์ชัน 4 (IP Address V.4)
3.5.1 การกำหนดค่าไอพีแอดเดรสในวงแลนเดียวกัน
ในวงแลนเดียวกัน อุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมดจะอยู่ในซับเน็ตเดียวกัน ดังนั้น อุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมดจะมีค่าเน็ตเวิร์กแอดเดรสและบรอดคาสต์แอดเดรสเป็นหมายเลขเดียวกัน ในรูปด้านล่าง มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สองตัวต้องการสือสารถึงกัน ซึ่งจัดว่าเป็นระบบเครือข่ายแลนขนาดเล็ก
ตัวอย่างที่ 1 สมมุติกำหนดไอพีแอดเดรสมาให้หนึ่งคลาส C ซึ่งคือ 192.168.1.0/24 สำหรับกำหนดไอพีแอดเดรสให้กับอุปกรณ์เครือข่ายดังรูปด้านบน
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 192.168.1.0 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คือ (Host Address) คือ 192.168.1.1 ถึง 192.168.1.254 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 192.168.1.255 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.255.0 |
ตัวอย่างที่ 2 สมมุติกำหนดไอพีแอดเดรสมาให้หนึ่งซับเน็ต ซึ่งคือ 192.168.1.0/25 สำหรับกำหนดไอพีแอดเดรสให้กับอุปกรณ์เครือข่ายดังรูปด้านบน
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 192.168.1.0 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คือ (Host Address) คือ 192.168.1.1 ถึง 192.168.1.126 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 192.168.1.127 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.255.128 |
ตัวอย่างที่ 3 สมมุติกำหนดไอพีแอดเดรสมาให้หนึ่งซับเน็ต ซึ่งคือ 192.168.1.128/25 สำหรับกำหนดไอพีแอดเดรสให้กับอุปกรณ์เครือข่ายดังรูปด้านบน
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 192.168.1.128 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คือ (Host Address) คือ 192.168.1.129 ถึง 192.168.1.254 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 192.168.1.255 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.255.128 |
ตัวอย่างที่ 4 สมมุติกำหนดไอพีแอดเดรสมาให้หนึ่งซับเน็ต ซึ่งคือ 192.168.1.0/30 สำหรับกำหนดไอพีแอดเดรสให้กับอุปกรณ์เครือข่ายดังรูปด้านบน
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 192.168.1.1 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คือ (Host Address) คือ 192.168.1.1 ถึง 192.168.1.2 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 192.168.1.3 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.255.252 |
ตัวอย่างที่ 5 สมมุติกำหนดไอพีแอดเดรสมาให้หนึ่งซับเน็ต ซึ่งคือ 192.168.1.4/30 สำหรับกำหนดไอพีแอดเดรสให้กับอุปกรณ์เครือข่ายดังรูปด้านบน
เน็ตเวิร์กแอดเดรส (Network Address) คือ 192.168.1.4 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คือ (Host Address) คือ 192.168.1.5 ถึง 192.168.1.6 บรอดคาสต์แอดเดรส (Broadcast Address) คือ 192.168.1.7 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.255.252 |
3.5.2 การกำหนดค่าไอพีแอดเดรสสำหรับอินทราเน็ต
ในรูปด้านล่าง แสดงระบบเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) ซึ่งมีแลน (LAN) สองวงเชื่อมต่อกันผ่านเราท์เตอร์ ในกรณีนี้ วงแลนทั้งสองมักจะอยู่ภายในสถานที่เดียวกัน อย่างเข่นอยู่ภายในตึกเดียวกันแต่คนละชั้น ในระบบอินทราเน็ตนี้ต้องการไอพีแอดเดรส 2 ซับเน็ต หรือ 2 คลาส สำหรับแลนคนละวง แต่ในเครือข่ายนี้มีการแบ่งไอพีแอดเดรสคลาส A (10.0.0.0/8) ออกเป็นหลายๆซับเน็ต สำหรับเราท์เตอร์ซึ่งต่อเชื่อมทั้งสองแลนเข้าด้วยกัน จะต้องมีอย่างน้องสองอินเตอร์เฟส(Interface) และในแต่ละอินเตอร์เฟสจะต้องมีไอพีแอดเดรสเป็นซับเน็ตเดียวกับวงแลนที่เชื่อมต่ออยู่ อย่างเช่น อินเตอร์เฟส F1 ซึ่งต่อยู่กับ LAN 1 จะต้องมีไอพีแอดเดรสอยู่ภายในซับเน็ต 10.9.0.0/16
ใน LAN1 มีไอพีซับเน็ตเป็น 10.8.0.0/16
เน็ตเวิร์กแอดเดรส คือ 10.8.0.0 บรอดคาสต์แอดเดรส คือ 10.8.255.255 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.0.0 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์เครือข่ายคือ คือ 10.8.0.1 ถึง 10.8.255.254 เราท์เตอร์ A อินเตอร์เฟส (Interface) F0 มีไอพีแอดเดรสเป็น 10.8.0.1 คอมพิวเตอร์ A มีไอพีแอดเดรสเป็น 10.8.0.2 |
ใน LAN2 มีไอพีซับเน็ตเป็น 10.9.0.0/16
เน็ตเวิร์กแอดเดรส คือ 10.9.0.0 บรอดคาสต์แอดเดรส คือ 10.9.255.255 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.0.0 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์เครือข่ายคือ คือ 10.9.0.1 ถึง 10.9.255.254 เราท์เตอร์ A อินเตอร์เฟส (Interface) F1 มีไอพีแอดเดรสเป็น 10.9.1.1 คอมพิวเตอร์ A มีไอพีแอดเดรสเป็น 10.9.1.2 |
3.5.3 การกำหนดค่าไอพีแอดเดรสสำหรับอินทราเน็ตผ่านแวน
ในรูปด้านล่าง แสดงระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ซึ่งมีแลนสองสงเชื่อมต่อกันผ่านแวน ในกรณีนี้วงแลนทั้งสองอยู่คนละสถานที่ อย่างเช่น อยู่คนละเมือง ในระบบเครือข่ายอินทราเน็ตนี้ต้องการไอพีแอดเดรส 3 ซับเน็ต หรือ 3 คลาส สำหรับแลนสองวงและแวนหนึ่งวง โดยจะมีเราท์เตอร์สองตัวเชื่อมต่อกัน
ใน WAN มีไอพีซับเน็ตเป็น 192.168.4.0/30
เน็ตเวิร์กแอดเดรส คือ 192.168.4.0 บรอดคาสต์แอดเดรส คือ 192.168.4.3 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.255.252 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์เครือข่ายคือ คือ 192.168.4.1 ถึง 192.168.4.2 เราท์เตอร์ A อินเตอร์เฟส (Interface) S1 มีไอพีแอดเดรสเป็น 192.168.4.1 เราท์เตอร์ B อินเตอร์เฟส (Interface) S1 มีไอพีแอดเดรสเป็น 192.168.4.2 |
ใน LAN1 มีไอพีซับเน็ตเป็น 10.8.0.0/16
เน็ตเวิร์กแอดเดรส คือ 10.8.0.0 บรอดคาสต์แอดเดรส คือ 10.8.255.255 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.0.0 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์เครือข่ายคือ คือ 10.8.0.1 ถึง 10.8.255.254 เราท์เตอร์ A อินเตอร์เฟส (Interface) F0 มีไอพีแอดเดรสเป็น 10.8.0.1 คอมพิวเตอร์ A มีไอพีแอดเดรสเป็น 10.8.0.2 |
ใน LAN2 มีไอพีซับเน็ตเป็น 10.9.0.0/16
เน็ตเวิร์กแอดเดรส คือ 10.9.0.0 บรอดคาสต์แอดเดรส คือ 10.9.255.255 ซับเน็ตมาสค์ คือ 255.255.0.0 ไอพีแอดเดรสที่สามารถกำหนดให้อุปกรณ์เครือข่ายคือ คือ 10.9.0.1 ถึง 10.9.255.254 เราท์เตอร์ A อินเตอร์เฟส (Interface) F1 มีไอพีแอดเดรสเป็น 10.9.1.1 คอมพิวเตอร์ A มีไอพีแอดเดรสเป็น 10.9.1.2 |
หน้าถัดไป : อุปกรณ์ในระบบ Network
ความคิดเห็น