ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การ Map Drive บนระบบเครือข่าย

สำหรับบทความนี้ก็เป็นบทความง่ายๆ ในการนำไดร์วบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ทำการแชร์ไว้ มาใช้งาน ซึ่งเป็นการสร้างไดร์วเสมือน (Virtual Drive)ในเครื่องของเราได้ โดยที่เราไม่ต้องไปคลิ๊กเข้าที่ My Network Places แล้วไปคลิ๊กไอคอนนั้น ไอคอนนี้ ให้ซ้ำซ้อนครับ ในขณะที่เรารู้ ชื่อเครื่อง (host name) หรือ IP Address ของเครื่อง server อยู่แล้วก็สามารถทำตามได้เลยครับ (หากท่านไม่รู้สามารถถามผู้ดูแลระบบได้ครับ คนทำเขารู้อยู่แล้วว่าเครื่องชื่ออะไร ไอพีอะไร)

ครับ เมื่อเราไปถามผู้ดูแลระบบแล้วเราทราบแล้วก็มาที่เครื่องของเราเลยครับ (เครื่องของเราต้องเข้าระบบเน็ตเวิร์กได้นะครับ มิฉะนั้นจะไม่สามารถ map drive ได้)


ในขั้นตอนแรก ให้เราทำการคลิ๊ก Start Program แล้วเลือกเมนู run เลยครับ

เมื่อคลิ๊กเข้ามาแล้วให้เราทำการพิมพ์ชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีแอดเดรส ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์เลยครับ โดยมี \\ นำหน้าครับ

เช่น \\หมายเลขไอพีหรือชื่อเครื่อง

ตัวอย่าง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ชื่อ ServerShare มีไอพีแอดเดรสคือ 192.168.1.1

ให้พิมพ์ไปเลยครับ \\ServerShare หรือ \\192.168.1.1 ในกรณีใดกรณีหนึ่งไม่ได้ครับ


จากนั้น เมื่อเข้ามาได้แล้วก็จะพบกับหน้าจอล็อกอินครับ ให้เราใส่ชื่อ username และ password ที่ได้มาจากผู้ดูแลระบบครับ ในหน้านี้หากเรากรอก username และ password เรียบร้อยแล้ว ในช่องเล็กๆ ด้านล่างครับ หากติ๊กใส่เครื่องหมายถูกจะเป็นการ memory โดยถาวร หากไม่ใส่เครื่องหมายถูก เวลาที่เราเข้าใช้งานไดร์วทุกครั้งจะทำการถาม username และ password ตลอดครับ ก็แล้วแต่ว่าใครจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ (ในการใส่พาสเวิร์ดควรถามผู้ดูแลระบบด้วยว่า จำกัดจำนวนครั้งที่ใส่ผิดได้กี่ครั้งครับ)



เมื่อเราใส่ username และ password ได้อย่างถูกต้องแล้ว หน้าจอถัดมาก็จะเป็นการเข้ามาที่ไดร์วที่ทำการแชร์ได้แล้วครับ

ขั้นตอนต่อไปเป็นการแมพไดร์วมาไว้ที่เครื่องเลยครับ ทำตามได้เลย
1. ก็อบปี้ Address ของ server เลยครับ


2. เลือกที่ Tool แล้วเลือกที่ Map Network Drive

3. จะมีหน้าจอมาให้เราทำการเลือกไดร์ว เลือกไดร์วที่ต้องการเลยครับ

4. จากนั้น นำข้อความ Address ของ server ที่เราทำการ copy มาเมื่อกี้ วางลงไปในช่อง โฟลเดอร์เลยครับ (ช่องที่ขีดสีดำ) โดยการกดปุ่ม Ctrl+v หรือไม่ก็คลิ๊กขวา แล้วก็ past เลยครับ

แล้วก็กดปุ่ม Finish ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการ Map Network Drive แล้วครับ

จบแล้วครับ ง่ายจริงๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช