ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

03 การนำคลิปวีดีโอเข้ามาเพื่อการใช้งาน

การนำคลิปวีดีโอเข้ามาเพื่อการใช้งาน
โปรแกรม Adobe Premiere สามารถรองรับการใช้งานของฟอร์แมตวีดีโอดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ประเภทของคลิป ประกอบไปด้วย
    1. คลิปวีดีโอ เป็นคลิปที่มีการเคลื่อนไหวและเสียงรวมกัน 2. คลิปเสียง เป็นคลิปที่มีแต่เสียงอย่างเดียว 3. คลิปภาพ หรือเป็นรูปภาพนิ่งที่เราต้องการนำมาใช้ในการตัดต่อเพื่อเพิ่มสีสรรค์ให้ชิ้นงานของเรา
การนำคลิปวีดีโอเข้ามาใช้ในโปรแกรม Adobe Premiere Pro 2.0 เราสามารถทำได้โดยการ Import File เข้ามา โดยที่เราสามารถนำคลิปวีดีโอ , คลิปเสียง , คลิปรูปภาพก็ได้ ดังรูป


หมายเหตุ ถ้าไฟล์ที่ไม่สามารถนำเข้าไปในโปรแกรม Adobe Premiere Pro 2.0 ได้ โปรแกรมจะฟ้อง Error ดังเช่นในรูป

ถ้าไฟล์ที่สามารถ Import ได้ จะเป็นดังรูป

การนำคลิปเสียงเข้ามาใช้งาน
ในการนำคลิปเสียงและคลิปภาพถ่าย เราสามารถใช้วิธีการเดียวกันกับการ Import VDO File

ในการทำงานกับชิ้นงานเราควรต้องมีการจัดการกับคลิปวีดีโอที่เรา Import เข้าไป โดยต้องทำให้เป็นระเบียบเพื่อไม่ให้เราสงสัยว่าคลิปใดเป็นคลิปใด เราควรต้องมีการแบ่งแยกคลิปไว้เป็นโฟลเดอร์อย่างเช่น การจัดเก็บคลิปวีดีโอ ให้เราสร้างโฟลเดอร์ขึ้นในหน้าต่างโปรเจ็ค แล้วตั้งชื่อที่เราคิดว่าจำ ในที่นี้ผมจะตั้งชื่อโฟลเดอร์ดังนี้
1. โฟลเดอร์ Clip VDO จะใช้ในการเก็บคลิปจำพวก คลิปวีดีโอ
2. โฟลเดอร์ Music จะใช้ในการเก็บคลิปเสียง (บางคนอาจตั้งชื่อว่า Sound ก็ได้)
3. โฟลเดอร์ Picture จะใช้ในการเก็บภาพนิ่ง

ตัวอย่างการสร้างโฟลเดอร์




ในการ Import File ต่างๆ เราควรดับเบิ้ลคลิ๊กในโฟลเดอร์นั้นๆก่อนเพื่อให้เข้าไปใน Folder แล้วเราจึงทำการ Import File เข้าไป จากนั้นเราสามารถกด Back เพื่อกลับมาที่หน้าโฟลเดอร์ได้

เราสามารถลบคลิปที่ไม่ได้ต้องการได้ โดยที่เราต้องคลิ๊กเลือกคลิปที่ไม่ต้องการแล้วกดปุ่ม Delete


การ Capture VDO
การ Capture VDO คือการ บันทึกภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวีดีโอเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ในการตัดต่อ ซึ่งการ Capture VDO นี้ จะสามารถทำได้โดยกล้องวีดีโอที่มี Port Firewire ผ่านสาย Firewire เข้าไปยังการ์ด Capture ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

วิธีการ Capture VDO ในโปรแกรม Adobe Premiere สามารถทำได้ดังนี้
เลือกที่ File --> Capture (เราสามารถกดปุ่ม F5 แทนก็ได้)



เมื่อกดปุ่มบันทึกอีกครั้งเพื่อทำการบันทึกแล้วจะมีหน้าจอขึ้นมาให้เรา เพื่อทำการเซฟงาน เราต้องทำการตั้งชื่อไฟล์ที่เราทำการ Capture แล้วจึงทำการ Save จากนั้นไฟล์ที่เรา Save จะเข้าไปอยู่ใน Panel Project ในโปรแกรมของเรา จากนั้นเราจึงนำมาตัดต่อในบทถัดไป
(หมายเหตุ: การ Capture ต้องมีการต่อกล้องวีดีโอไว้ด้วย โปรแกรมจึงจะมองเห็นปุ่ม Record ถ้าไม่มีการเชื่อมต่อวีดีโอ โปรแกรมก็จะไม่สามารถมองเห็นปุ่มนี้ได้)

หน้าจอหลังจากที่เราทำการ Capture เสร็จแล้ว



การแทรกคลิปต่างๆ ลงบน Time line
เมื่อเราได้ทำการ Capture VDO เสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือว่า เราได้เตรียมคลิปวีดีโอไว้เรียบร้อยแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการนำคลิปเหล่านั้นมาทำการตัดต่อเรียบเรียงให้ได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ การนำคลิปมาใช้ตัดต่อนั้นเราจำเป็นต้องทำการตัดต่อบน Time Line

การนำคลิปวีดีโอเข้ามาใช้งานเราสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ที่พาเนล Project ให้คลิ๊กเมาท์ที่คลิปค้างไว้ แล้วลากคลิปไปปล่อยยังพาเนล Time Line ดังรูป

วิธีที่ 2 ที่พาเนล Monitor ให้คลิ๊กเมาท์เลือกที่คลิปค้างไว้ แล้วลากคลิปมาปล่อยยังพาเนลดังรูป

การนำคลิปต้นฉบับมาตัดต่อเพียงบางส่วน
การนำคลิปวีดีโอจากต้นฉบับมาตัดต่อเพียงบางส่วนคือ การที่เราเลือกช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของคลิปวีดีโอนั้นๆ มาทำการตัดต่อ โดยที่เราต้องทำการเลือกจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในช่วงเวลาที่เราต้องการนำมาตัดต่อ ตัวอย่างเช่น เรามีคลิปวีดีโอที่มีความยาวอยู่ 2 นาที แต่เราต้องการคลิปเพียงแค่ 20 วินาที โดยที่เราต้องการในช่วงเวลาที่ 00.01.00.00 ถึง 00.01.20.00

เราต้องทำการเลือกที่จุดช่วงเวลาที่ 00.01.00.00 โดยที่เราต้องทำการกดปุ่ม Set In Point ดังรูป
ให้เรานำเมาท์ไปคลิ๊กที่ช่วงเวลาหนึ่งครั้ง สังเกตว่าช่วงเวลาจะกลายเป็นสีน้ำเงิน

ให้กดปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ดโดยกดปุ่มใดก็ได้ สังเกตการเปลี่ยนแปลงว่า ตัวเลขค่าเวลาจากสีน้ำเงินจะเปลี่ยนเป็นเคอร์เซอร์ที่กระพริบอยู่ จะนั้นเราจึงเลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนค่า แล้วทำการเปลี่ยนค่า เมื่อเปลี่ยนเสร็จแล้วกดปุ่ม Enter
ในกรณีที่เราคลิ๊กค่าเวลาให้เป็นสีน้ำเงินแล้ว เราสามารถทำการกดปุ่ม Backspace หรือ Delete เพื่อทำการใส่ค่าเวลาเองก็ทำได้โดยที่เราต้องใส่ค่าดังนี้ ค่าที่เราต้องการคือ นาทีที่ 1 ให้เราใส่ค่าดังนี้ “ 00:01:00:00 “ แล้วกด ปุ่ม Enter ก็จะได้ช่วงเวลาเริ่มต้นที่เราต้องการ ดังรูป

เมื่อเลือกช่วงเวลาที่ 00:01:00:00 แล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่เราต้องการนับเป็นจุดเริ่มต้นของคลิปที่เราต้องการ ให้เราทำการกดปุ่ม Set In Point แล้วค่าเวลาก็จะไปล็อคในนาทีที่ 1 ดังรูป

จากนั้นเราจะทำการเลือกจุดสิ้นสุดของคลิปที่เราต้องการ ซึ่งจะทำคล้ายกันกับแบบแรกที่เราทำ เราต้องทำการเลือกที่จุดช่วงเวลาที่ 00.01.20.00 โดยที่เราต้องทำการกดปุ่ม Set out Point ดังรูป
ให้เรานำเมาท์ไปคลิ๊กที่ช่วงเวลาหนึ่งครั้ง สังเกตว่าช่วงเวลาจะกลายเป็นสีน้ำเงิน

ให้กดปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ดโดยกดปุ่มใดก็ได้ สังเกตการเปลี่ยนแปลงว่า ตัวเลขค่าเวลาจากสีน้ำเงินจะเปลี่ยนเป็นเคอร์เซอร์ที่กระพริบอยู่ จะนั้นเราจึงเลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนค่า แล้วทำการเปลี่ยนค่า เมื่อเปลี่ยนเสร็จแล้วกดปุ่ม Enter
ในกรณีที่เราคลิ๊กค่าเวลาให้เป็นสีน้ำเงินแล้ว เราสามารถทำการกดปุ่ม Backspace หรือ Delete เพื่อทำการใส่ค่าเวลาเองก็ทำได้โดยที่เราต้องใส่ค่าดังนี้ ค่าที่เราต้องการคือ นาทีที่ 1 ให้เราใส่ค่าดังนี้ “ 00:01:20:00 “ แล้วกด ปุ่ม Enter ก็จะได้ช่วงเวลาเริ่มต้นที่เราต้องการ
เมื่อเลือกช่วงเวลาที่ 00:01:20:00 แล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่เราต้องการนับเป็นจุดสิ้นสุดของคลิปที่เราต้องการ ให้เราทำการกดปุ่ม Set out Point แล้วค่าเวลาก็จะไปล็อคในนาทีที่ 1.20


การแทรกคลิปเพื่อใช้งาน
เราสามารถแทรกคลิปที่เราได้ทำการเลือกช่วงเวลาไว้ ได้ 3 วิธี คือ
1. การแทรกคลิปโดยวิธีการ Insert เป็นการแทรกคลิปโดยการแทรกลงไปที่หลังตัวเลื่อนเฟรมใน Time Line เสมอ หรือเป็นการแทรกคลิปให้ต่อคลิปสุดท้ายเสมอ โดยคลิปที่ทำการแทรกนั้นจะไปต่อคลิปสุดท้าย และสามารถแทรกต่อๆ กันโดยไม่มีที่สิ้นสุด
2. การแทรกคลิปโดยวิธีการ Overlay เป็นการแทรกคลิปลงไปในจุดที่เราต้องการ ซึ่งจะสามารถแทรกคลิปคั่นคลิปเดิมที่เรามี โดยที่เราเลื่อนตัวเลื่อนเฟรมไปยังจุดที่ต้องการแล้วเราสามารถแทรกคลิปลงไปได้
3. การแทรกคลิปด้วยวิธีการ Drag&Drop คือการคลิกลากคลิปจาก Monitor ลงไปใน Time Line ไปยังจุดที่ต้องการ

การแทรกคลิปด้วยวิธีการ Insert
ก่อนการ Insert

หลังการ Insert ครั้งที่ 1

หลังการ Insert ครั้งที่ 2

หลังการ Insert ครั้งที่ 3

การแทรกคลิปด้วยวิธีการ Overlay
กรณีที่เรามีคลิปที่มีความยาวอยู่ 2 นาที โดยที่เราจะทำการแทรกคลิปที่เราเลือกไว้ลงไปในคลิปที่อยู่ใน Time Line วินาที ที่ 20 (00:00:20:00)
ก่อนทำการแทรก แบบ Overlay

หลังทำการแทรกแบบ Overlay

การแทรกคลิปด้วยวิธีการ Drag & Drop หรือการลาก เราสามารถลากไปไว้ในจุดที่ต้องการได้
ก่อนทำการแทรก

หลังทำการแทรก

แทรกไปยังจุดที่ต้องการได้ตามใจชอบ

การลบคลิปบางส่วนหรือคลิปที่ไม่ต้องการออกจาก Time Line

ให้เราเลือกคลิ๊กเลือกคลิปที่ต้องการลบ โดยเมื่อคลิ๊กแล้วคลิปจะเป็นสีสว่างดังรูป แล้วกดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด



จบในเรื่องของการนำคลิปวีดีโอเข้ามาใช้งานแล้วครับ

หน้าถัดไป : 04 การใช้งานเ Select Tool ในโปรแกรม Adobe Premiere Pro

ก่อนหน้า : 02 รู้จักส่วนต่างๆของโปรแกรมตัดต่อภาพยนต์ Adobe Premiere Pro 2.0

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...