ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

02 รู้จักส่วนต่างๆของโปรแกรมตัดต่อภาพยนต์ Adobe Premiere Pro 2.0

ในบทนี้เราจะรู้จักการเข้าใช้โปรแกรม และส่วนต่างๆ ของโปรแกรม Adobe Premiere Pro 2.0 (หรือท่านที่มีเวอร์ชันสูงกว่าก็ใช้ได้ครับ เพราะใช้หลักการเดียวกัน ส่วนผมจะใช้ adobe premiere pro 2.0 เป็นหลักครับ)

เข้าสู่โปรแกรม Premiere Pro
1. คลิ๊กที่ Start Program เลือกที่ All Program Adobe Premiere Pro 2.0 ดังรูป

จากนั้นเราจะพบกับหน้าต่าง Welcome to Adobe Premiere Pro 2.0 ดังรูป

ตั้งชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการ



New Project เป็นการเริ่มสร้างชิ้นงานใหม่ โดยเมื่อเราเริ่มทำงานเริ่มแรก เรายังไม่มีชิ้นงานที่เคยทำ ให้เราเลือกข้อนี้

Open Project คือการเปิดชิ้นงานที่เราเคยเซฟไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถเลือกข้อนี้ได้

Recent Project คือ ชิ้นงานที่เราเคยเปิดมาแล้ว เคยทำผ่านมาแล้ว รายชื่อชิ้นงานเราจะปรากฏที่นี่ เราสามารถคลิ๊กเพื่อเข้าอย่างรวดเร็วได้

กรณีนี้ยังไม่มีชิ้นงานให้เราเลือกที่ New Project เพื่อทำการสร้างโปรเจ็คใหม่ แล้วจะเข้ามาสู้หน้าจอถัดไป ดังรูป

คลิ๊กที่ Browse เพื่อทำการเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการสร้างชิ้นงาน ดังรูป

จากนั้นจะปรากฏหน้าจอขึ้นมาเพื่อให้เราเลือกโฟลเดอร์ที่เราเตรียมไว้สร้างชิ้นงาน ให้เราเลือกหาที่โฟลเดอร์นั้นๆ ดังรูป

กรณีที่เรายังไม่ได้ทำการสร้างโฟลเดอร์ไว้ ให้เราเลือกที่ Make New Folder ดังรูป

เมื่อสร้างโฟลเดอร์ที่ต้องการแล้ว ให้เราตั้งชื่อชิ้นงานที่เราต้องการสร้าง

หลังจากที่ได้ทำการตั้งชื่อไฟล์เรียบร้อยแล้วก็จะเข้าสู่หน้าจอการทำงานของเราต่อไป โดยที่หน้าจอของเราจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

ส่วนแรก คือ ส่วนทีใช้ในการแสดงไฟล์วีดีโอต่างๆ ที่เราทำการ Import เข้ามา เพื่อใช้ในการตัดต่อ

ส่วนที่สองคือ หน้าจอ Monitor


ส่วนที่สามคือ หน้าจอ แสดงสถานะของคลิปวีดีโอ

ส่วนที่สี่ คือ Time Line ใช้สำหรับการตัดต่อ แก้ไข ดัดแปลงวีดีโอของเรา โดยเราต้องนำคลิปลงไปใส่ใน Time Line เพื่อทำการแก้ไข

ส่วนที่ห้า คือ หน้าจอแสดงระดับเสียงและเครื่องมือที่ใช้ในการตัดต่อวีดีโอ



ครับก็แนะนำในส่วนโปรแกรมที่ต้องใช้งาน โดยรวมครับ ส่วนการใช้งานนั้น จะกล่าวในการใช้งานในบทต่อไปครับ

หน้าถัดไป : 03. การนำคลิปวีดีโอเข้ามาเพื่อการใช้งาน
ก่อนหน้า : 01 การตัดต่อภาพยนต์และทฤษฏีวีดีโอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช