ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รู้จักกับ Layer 4 Switching

ระดับ Layer-4 Switching ของ OSI Model จัดเป็นระดับชั้น Transport ซึ่งเป็นระดับชั้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลแบบ End-to-End หรือระหว่างเครื่องผู้รับและผู้ส่ง ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างต้นทางและปลายทางบนเครือข่าย เป็นระดับชั้นที่ใช้โปรโตคอล TCP และ UDP
Layer 4 Switching จะให้เครื่องมือที่สามารถจัด Configuration แก่เครือข่ายในรูปแบบของ Application โดยมีการนิยามวิธีการกลั่นกรอง Security รวมทั้งระดับชั้นของการให้บริการ (Class of Service ) ทำให้สามารถควบคุมระบบเครือข่ายได้ดีขึ้น
Layer 4 Switching ก็ยังมี Hardware เพิ่มเติมที่ทำหน้าที่รวบรวมสถิติของ Traffic ของแต่ละ Port ซึ่งคุณลักษณะพิเศษเหล่านี้ จะทำงานในรูปแบบ Application การรวบรวม Traffic นี้ทำบนพื้นฐานของ ข่าวสารของ Layer 4 Application Information (นอกเหนือจากการใช้ Layer 3 IP Header) ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารเครือข่ายสามารถควบคุม และตรวจสอบ ปัญหาของเครือข่ายได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น 3COM CoreBuilder จะให้การสนับสนุน RMON ที่แสดงการทำงานของแต่ละ Port บน Switching Hub
Layer 4 Switching Hub จะต้องมีตารางการเก็บข้อมูลที่ใช้เพื่อการ Forward ที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการเก็บ ตารางข้อมูลนี้ไว้ในแกนหลักของ Enterprise Hub ขณะที่ Layer 2 และ Layer 3 Switch มีแนวโน้มที่จะมีขนาดของตาราง Forwarding ที่มีขนาดเป็นสัดส่วนกับจำนวนของอุปกรณ์บนเครือข่าย ขณะที่ Layer 4 Switching จะต้องมีมากกว่านั้นเป็นทวีคูณ เนื่องจากบนเครือข่ายมีการใช้ โปรโตคอลในระดับ Application ที่มีความหลากหลาย ดังนั้นขนาดของ Forwarding Table จะมีขนาดที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามจำนวนของอุปกรณ์เครือข่าย รวมทั้งชนิดของ Application ที่เพิ่มขึ้น เช่นกัน

สรุป จุดประสงค์ของการมี Layer 4 Switching
* เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารในระดับ Layer-4
* ให้การสนับสนุน โปรโตคอลการจัดหาเส้นทาง อีกทั้งมีระบบกลั่นกรองรักษาความปลอดภัย และสนับสนุน Multicast (การส่งข้อมูลข่าวสารเฉพาะกลุ่ม)
* มี Class of Service สำหรับ Application ต่างๆ
* มี Routing Table ขนาดใหญ่ที่ให้การสนับสนุน Forwarding Traffic ภายใต้ข้อมูลข่าวสารบน Layer 4 รวมทั้งมีการปรับปรุงระบบการจัดการบริหารเครือข่ายในตัว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...