ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Folder สีน้ำเงิน

มาถึงเรื่องชื่อ File เป็นสีน้ำเงินกันครับ สำหรับข้อนี้ก็เคยเห็นหลายๆคนถามกันไว้ว่าไฟล์หรือ Folder บางอันทำไมตรงชื่อถึงเป็นสีน้ำเงินไม่เป็นสีดำเหมือนชาวบ้านเค้า ใช่อาการของไวรัสหรือไม่? ขอตอบเลยครับว่าไม่ใช่ไวรัสหรอกครับ จริงๆแล้วมันเป็นไฟล์ที่มีการบีบอัด ถ้าเป็นทางการตามฝรั่งหน่อยก็ต้องเรียกว่า Compressed File ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเราจะเห็นเจ้าพวกไฟล์หรือ Folder สีน้ำเงินที่ว่านี้ใน Folder Windows ซะเป็นส่วนใหญ่ และเป็น Folder ซึ่งไฟล์ข้างในนั้นก็จะเป็นสีน้ำเงินเหมือนกัน

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่ามันคืออะไร ส่วนการจะแก้ให้มันเป็นสีดำเหมือนชาวบ้านทั่วไปจะต้องทำยังไงผมจะกล่าวถึงใน ตอนท้ายๆนะครับ สำหรับคุณสมบัติในการบีบอัดไฟล์นี้เป็นคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมซึ่งมีอยู่ เฉพาะ Partition ที่เป็นแบบ NTFS เท่านั้นนะครับ FAT32 ไม่มีครับ เพราะหน้าที่ของมันโดยหลักๆก็คือใช้บีบอัดไฟล์เพื่อจัดเก็บลงใน HD ที่มี Partition แบบ NTFS นั่นล่ะครับ คือทำให้การจัดเก็บไฟล์ลงใน HD นั้นใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บน้อยลงนั่นเอง แต่จะน้อยลงแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของไฟล์ล่ะครับ อาจจะฟังดูแล้วคล้ายๆกับการ Zip ไฟล์นะครับ แต่ความแตกต่างระหว่างการบีบอัดไฟล์แบบนี้กับการ Zip ที่เห็นชัดก็คือไฟล์ที่บีบอัดโดยใช้การ Zip เมื่อจะเปิดไฟล์นั้นๆจะต้องมีการ Unzip ออกมาก่อนไม่ว่าจะด้วยคุณสมบัติของ Windows XP เองซึ่งสามารถจัดการกับไฟล์ Zip ได้หรือแม้แต่การใช้โปรแกรม WinZip โดยสรุปก็คือถ้าเป็นการ Zip ไฟล์ เมื่อต้องการใช้หรือแก้ไขไฟล์ที่ Zip นั้นก็จะต้องมีการแตกไฟล์ออกมาก่อน เมื่อจัดการแก้ไขเรียบร้อยถ้าต้องการบีบอัดอีกครั้งก็จะต้องทำการ Zip ใหม่ แต่สำหรับการบีบบอัดไฟล์ด้วยคุณสมบัติของ NTFS ที่เรากำลังพูดถึงนั้นไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นครับ คือไฟล์หรือ Folder ที่บีบอัดแบบนี้ไม่จำเป็นต้องทำการ Unzip ก่อนใช้งานหรือแก้ไขใดๆครับ ดังจะเห็นได้ว่าไฟล์หรือ Folder ที่บีบอัดด้วยวิธีนี้จะยังแสดง Icon เป็นปกติและนามสกุลทุกอย่างก็ยังปกติไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป นอกจากชื่อไฟล์ซึ่งแสดงเป็นสีน้ำเงินเท่านั้นเองครับ นั่นเป็นเพราะว่าในการบีบอัดไฟล์ด้วยวิธีนี้ไม่ได้ทำการบีบอัดตัวไฟล์ลง จริงๆเหมือน Winzip แต่เป็นการบีบข้อมูลในการจัดเก็บลง HD ซึ่งถ้าเรา Click ชวาที่ไฟล์แล้วเลือก Properties จะเห็นว่ามีขนาดของไฟล์ 2 แบบคือ Size และ Size on disk ขออธิบายแบบคร่าวๆนะครับว่า Size ก็คือขนาดที่แท้จริงของไฟล์นั้นๆ ส่วน Size on disk นั้นเป็นขนาดของเนื้อที่ใน HD ที่ใช้เก็บไฟล์นั้นๆ สำหรับใครที่สนใจรายละเอียดลึกๆลองหาอ่านเรื่อง Sector และ Cluster ของ Harddisk ดูนะครับ เมื่อการบีบอัดวิธีนี้ไม่ได้เป็นการบีบอัดที่ตัวไฟล์โดยตรง ในการใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องแตกไฟล์แบบซับซ้อนอะไรมากมายจึงทำได้รวดเร็ว กว่าโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่ามีการบีบอัดหรือแตกไฟล์ขณะทำงานร่วมกับมัน เพราะเป็นหน้าที่ของ Windows ซึ่งทำงานอยุ่เบื้องหลังครับแต่แน่นอนครับว่าขนาดในการบีบนั้นน้อยกว่าการ บีบแบบ Zip พอสมควรครับเพราะการ Zip นั้นเป็นการบีบที่ตัวไฟล์ตรงๆทำให้ขนาดของไฟล์ลดลงไปจริงๆไม่ใช่แค่เนื้อที่ ในการจัดเก็บ แต่คงไม่ใช่ประเด็นใหญ่เพราะจุดมุ่งหมายมันต่างกัน สำหรับการบีบแบบ NTFS นั้นจุดประสงค์หลักก็คือบีบไฟล์ที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน คือนานๆใช้ทีเพื่อประหยัดเนื้อที่การเก็บใน HD ไม่ได้มุ่งหวังไปที่การบีบไฟล์ให้มีขนาดเล็กสุดเหมือน Winzip ครับ สำหรับความแตกต่างของขนาดในการบีบนั้นลองดูรูปประกอบนะครับ ย้ำว่าเราดูที่ Size on disk นะครับเพราะเรากำลังพูดถึงขนาดของเนื้อที่ใน HD ที่ใช้ในการจัดเก็บ ไม่ได้ดูขนาดของไฟล์ครับ

วิธีการเรียกใช้บริการก็ง่ายๆเลยครับ ไปที่ไฟล์หรือ Folder ที่ต้องการบีบอัด Click ขวาเลือก Properties เลือก Advanced แล้วติ๊กถูกตรงช่อง Compress contents to save disk space แล้ว OK 2 ครั้งก็เรียบร้อยครับ จะเห็นว่าไฟล์เป็นสีน้ำเงินแล้ว และถ้า Properties ดู Size on disk จะลดลงไปครับ หมายเหตุนิดนึงว่า ถ้าจะทำการบีบอัดแบบนี้ควรทำกับไฟล์หรือ Folder ที่ไม่ค่อยได้ใช้งานนะครับ เพราะถ้าเป็น Folder หรือไฟล์ที่ใช้บ่อยๆ ถึงแม้ว่าการบีบอัดและขยายจะไม่ส่งผลจนรู้สึกได้ แต่ถ้าหลายๆไฟล์และเป็นไฟล์ที่ใช้บ่อยๆก็อาจจะส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของ ระบบลดลงได้ครับ

ในการทำให้เจ้าไฟล์สีน้ำเงินกลับมาเป็นสีดำ มีอยู่ 2 วิธี แบบแรกเลยคือในเมื่อเรารู้ว่ามันเป็นสีน้ำเงินเพราะเป็น ไฟล์ที่มีการบีบอัด เราก็ไปยกเลิกการบีบอัดมันออกซะก็แค่นั้นเองมันก็กลายเป็นสีดำแล้ว แต่วิธีนี้จะต้องเสียเนื้อที่ใน HD มากขึ้น ทิ้งมันไว้แบบนั้นล่ะครับดีแล้ว แต่ถ้าเราเห็นแล้วรู้สึกไม่สบายตาหรือไม่สบายใจที่สีมันไม่เหมือนชาวบ้าน เค้า เราก็ไปปิดการแสดงสีของมันซะครับ โดยไปที่ Tool --->Folder Options ตรง Tab View ในส่วนของ Advanced settings เลื่อนลงมาข้างล่างๆจะเห็น Show encrypted or compressed NTFS file in color เอาเครื่องหมายถูกออกซะแล้ว OK แค่นี้มันก็จะเป็นสีดำเหมือนชาวบ้านเค้าแล้วล่ะครับ


ขอขอบคุณ : คุณ Wachit จาก http://www.com-th.net/webboard/index.php?topic=69587.0

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช